ชื่อเรื่อง รายงานการประเมินโครงการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของ
นักเรียน โรงเรียนสมุทรสาครวิทยาลัย ปีการศึกษา 2564
ผู้ประเมิน นางสาววรรณา นิ่มนวล
ปีการศึกษา 2564
บทคัดย่อ
รายงานการประเมินโครงการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนสมุทรสาครวิทยาลัย ปีการศึกษา 2564 มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อประเมินปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation : I) โครงการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนสมุทรสาครวิทยาลัย ปีการศึกษา 2564 2) เพื่อประเมินกระบวนการ (Process Evaluation : P) โครงการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนสมุทรสาครวิทยาลัย ปีการศึกษา 2564 3) เพื่อประเมินผลผลิต (Output Evaluation : O) โครงการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนสมุทรสาครวิทยาลัย ปีการศึกษา 2564 4) เพื่อประเมินผลลัพธ์ (Outcome Evaluation : O) โครงการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนสมุทรสาครวิทยาลัย ปีการศึกษา 2564
ประชาการที่ใช้ในการศึกษา แบ่งประชากรออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ 1 คือ ผู้ให้ข้อมูลด้านปัจจัยนำเข้า (Input) ด้านกระบวนการ (Process) และด้านผลลัพธ์ (Outcome) ของโครงการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนสมุทรสาครวิทยาลัย ปีการศึกษา 2564 ได้แก่ ผู้บริหาร จำนวน 4 คน (ไม่นับรวมผู้ประเมิน) และครูโรงเรียนสมุทรสาครวิทยาลัย จำนวน 142 คน รวม 146 คน กลุ่มที่ 2 คือ ผู้ให้ข้อมูลด้านผลผลิต (Output) ของโครงการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนสมุทรสาครวิทยาลัย ปีการศึกษา 2564 ได้แก่ นักเรียนโรงเรียนสมุทรสาครวิทยาลัย ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1- 6 จำนวนทั้งสิ้น 3,033 คน
กลุ่มตัวอย่าง เนื่องจากจำนวนประชากรกลุ่มที่ 1 มีจำนวนไม่มาก ผู้ประเมินจึงใช้ประชากรทั้งหมดเป็นกลุ่มตัวอย่าง ในส่วนของประชากรกลุ่มที่ 2 เป็นการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนทุกคน จึงใช้ประชากรทั้งหมดเป็นกลุ่มตัวอย่าง
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ใช้รูปแบบการประเมิน IPOO Model (อ้างถึงใน สมหวัง พิธิยานุวัฒน์, 2558 : 200-209) ที่ครอบคลุมด้านปัจจัยนำเข้า (Input) ด้านกระบวนการ (Process) ด้านผลผลิต (Output) และด้านผลลัพธ์ (Outcome) ของโครงการ เป็นแบบสอบถามแบบมาตรส่วนประมาณค่า จำนวน 3 ฉบับ และแบบบันทึกคุณลักษณะอันพึงประสงค์ 8 ประการ ของนักเรียน ซึ่งแบบสอบถามได้ผ่านขั้นตอนการวิเคร์ความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 ท่าน ด้วยการหาค่าดัชนี IOC (Index of Item Objective Congruence) ค่าความเที่ยงตรง เชิงเนื้อหามีค่าระหว่าง 0.6 หลังจากนั้นนำไปทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่างจำนวน 30 คน กับครูและบุคลากรทางการศึกษาในโรงเรียนบ้านลาดวิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเพชรบุรี เพื่อหาค่าความเชื่อมั่น โดยหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาค ผลการวิเคราะห์ มีค่าความเชื่อมั่นแบบสอบถามฉบับที่ 13 ตามลำดับ ดังนี้ 0.95, 0.91, 0.93
เก็บรวมรวมข้อมูลได้คิดเป็นร้อยละ 100 สำหรับการจัดกระทำและวิเคราะห์ข้อมูล ผู้ประเมินใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการประเมิน พบว่า
1. การประเมินด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation : I) โครงการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนสมุทรสาครวิทยาลัย ปีการศึกษา 2564 ในภาพรวม มีความพร้อมอยู่ในระดับมาก
2. การประเมินด้านกระบวนการ(Process Evaluation : P) โครงการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนสมุทรสาครวิทยาลัย ปีการศึกษา 2564 ในภาพรวม มีการดำเนินงานอยู่ในระดับมาก
3. การประเมินด้านผลผลิต (Output Evaluation : O) โครงการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนสมุทรสาครวิทยาลัย ปีการศึกษา 2564 นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 - 6 โรงเรียนสมุทรสาครวิทยาลัย ปีการศึกษา 2564 มีผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ 8 ประการ อยู่ในระดับดีเยี่ยม คิดเป็นร้อยละ 93.44
4. การประเมินด้านผลลัพธ์ (Outcome Evaluation : O) โครงการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนสมุทรสาครวิทยาลัย ปีการศึกษา 2564 ครูและบุคลากรทางการศึกษา มีความพึงพอใจในการดำเนินโครงการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนสมุทรสาครวิทยาลัย ปีการศึกษา 2564 ในภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด