ชื่อเรื่อง รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหา ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และจิตวิทยาศาสตร์ รายวิชาวิทยาศาสตร์
เรื่อง การเคลื่อนที่และแรง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
ผู้วิจัย วริษฐา สุริยวงศ์
หน่วยงาน โรงเรียนพิบูลมังสาหาร สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี
ปีที่พิมพ์ 2565
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและความต้องการที่จำเป็นของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 2) พัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 3) ศึกษาผลการใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 4) ประเมินและปรับปรุงรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยระยะที่ 1 เป็นการศึกษาข้อมูลจากการสัมภาษณ์ครูกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จำนวน 43 คน และสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/4 จำนวน 45 คน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 ระยะที่ 2 พัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และตรวจสอบคุณภาพโดยผู้เชี่ยวชาญ ระยะที่ 3 ผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/10 จำนวน 49 คน ที่กำลังศึกษาภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster Random Sampling) และระยะที่ 4 ประเมินและปรับปรุงรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้
2) แบบสัมภาษณ์ 3) แบบทดสอบความสามารถในการแก้ปัญหา 4) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 5) แบบประเมินจิตวิทยาศาสตร์ 6) แบบสอบถามความพึงพอใจ และ 7) แบบสอบถามความเหมาะสมของรูปแบบ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าสถิติ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
1. สภาพความต้องการและความจำเป็น นักเรียน ครู และผู้เกี่ยวข้องมีความคิดเห็นเกี่ยวกับรูปแบบการพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนอยู่ในระดับมากที่สุด ต้องการให้นักเรียนเรียนรู้โดยการทำกิจกรรมเดี่ยว เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้
อย่างแท้จริง สื่อการเรียนรู้เป็นใบความรู้ ใบกิจกรรม ใบงาน และแบบทดสอบ มีการวัดผลโดยการใช้ การทดสอบ
2. ผลการพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถใน
การแก้ปัญหาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และจิตวิทยาศาสตร์ รายวิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง การเคลื่อนที่และแรง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 แบ่งเป็น 2 ขั้นตอน คือ
2.1 ผลการพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถ ในการแก้ปัญหาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และจิตวิทยาศาสตร์ รายวิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง การเคลื่อนที่และแรง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ประกอบด้วย 1) หลักการและแนวคิด 2) วัตถุประสงค์ 3) ขั้นตอนการจัดกิจกรรม 4) เนื้อหา 5) การประเมินผล
2.2 ผลการพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง การเคลื่อนที่และแรง ด้วยรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหา ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และจิตวิทยาศาสตร์ ที่สร้างขึ้นมีค่าประสิทธิภาพ 81.89/80.93 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ คือ 80/80
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถ ในการแก้ปัญหาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และจิตวิทยาศาสตร์ รายวิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง การเคลื่อนที่และแรง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 แบ่งเป็น
3.1 ค่าประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ รายวิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง การเคลื่อนที่และแรง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เท่ากับ 82.15/81.97 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ คือ 80/80
3.2 เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน
3.2.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รายวิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง การเคลื่อนที่และแรง นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3.2.2 ความสามารถในการแก้ปัญหา รายวิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง การเคลื่อนที่และแรง นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3.3 จิตวิทยาศาสตร์ของนักเรียน พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมาก
4. ผลการประเมินและปรับปรุงแก้ไขแผนการจัดการเรียนรู้ มีผลการประเมินดังนี้
4.1 ผลการประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการจัดกิจกรรม
การเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหา ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และจิตวิทยาศาสตร์รายวิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง การเคลื่อนที่และแรง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมาก
4.2 ผลการประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหา ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และจิตวิทยาศาสตร์ รายวิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง การเคลื่อนที่และแรง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ตามความคิดเห็นของผู้บริหารและครู พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
4.3 การปรับปรุงแผนการจัดการเรียนรู้ หลังจากได้ทำการทดลองใช้แผนการจัด การเรียนรู้แล้ว ได้พบข้อควรปรับปรุงของแผนการจัดการเรียนรู้ให้มีความเหมาะสมในการนำไปใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนในครั้งต่อไป ในแผนการจัดการเรียนรู้ที่ 8-10 ต้องมีสื่อการเรียนรู้ที่เป็นสื่อดิจิทัล เทคโนโลยีให้เห็นเป็นสามมิติเพิ่มเข้าไป และการนำเรื่องดังกล่าวเชื่อมโยงในชีวิตประจำวัน และนำเสนอให้นักเรียนได้เกิดการเรียนรู้ มีการปรับใบกิจกรรม ใบงานและแบบทดสอบท้ายแผน แต่ละแผนให้กระชับและไม่มากจนเกินไป