ชื่อเรื่อง รายงานผลการประเมินโครงการรูปแบบกลไกการนิเทศภายในของโรงเรียนบ้านเขาหวาย
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1 ปีการศึกษา 2564
ผู้รายงาน นางสาววรรณดา พรหมดี
บทคัดย่อ
การประเมินโครงการรูปแบบกลไกการนิเทศภายในของโรงเรียนบ้านเขาหวาย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1 ปีการศึกษา 2564 เพื่อประเมินผลการดำเนินงานโครงการนิเทศภายในสถานศึกษาโรงเรียนบ้านเขาหวาย ปีการศึกษา 2564 โดยใช้รูปแบบการประเมินโครงการแบบ CIPP Model ของสตัฟเฟิลบีม (Stufflebeams Model) (Stufflebeam 1997,p 261-265, อ้างถึงใน สมหวัง พิธิยานุวัฒน์ 2540,หน้า 207217 และมาเรียม นิลพันธุ์ 2552,หน้า 1-15) โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้
1. เพื่อประเมินสภาพแวดล้อมบริบทที่เกี่ยวข้องต่อการดำเนินงานโครงการนิเทศภายในสถานศึกษาโรงเรียนบ้านเขาหวาย ปีการศึกษา 2564
2. เพื่อประเมินปัจจัยนำเข้าของการนิเทศภายในสถานศึกษา โรงเรียนบ้านเขาหวาย ปีการศึกษา 2564
3. เพื่อประเมินกระบวนการดำเนินงานนิเทศภายในสถานศึกษา โรงเรียนบ้านเขาหวาย
ปีการศึกษา 2564
4. เพื่อประเมินผลผลิตของการนิเทศภายในสถานศึกษา โรงเรียนบ้านเขาหวาย ปีการศึกษา 2564
กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการประเมินโครงการรูปแบบกลไกการนิเทศภายในของโรงเรียนบ้านเขาหวาย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1 ปีการศึกษา 2564 จำนวนทั้งสิ้น 86 คน ดังนี้ ครู จำนวน 9 คน นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 จำนวน 38 คน ผู้ปกครองนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 จำนวน 30 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 9 คน โดยวิธีการสุ่มแบบเฉพาะเจาะจง
การเผยแพร่ผลการประเมินโครงการรูปแบบกลไกการนิเทศภายในของโรงเรียนบ้านเขาหวาย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1 ปีการศึกษา 2564 ในครั้งนี้ ผู้รายงานได้ดำเนินการเผยแพร่ให้กับผู้บริหารโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1 จำนวน 10 คน ผู้บริหารโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุตรดิตถ์ เขต 2 จำนวน 1 คน และเผยแพร่บนเว็ปไซต์ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1
เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้มี 3 ประเภท ได้แก่ แบบสอบถามเพื่อการประเมินตามมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scales) 5 ระดับ และ 3 ระดับ ใช้การคำนวณค่า IOC วิเคราะห์ผลการประเมินโครงการ โดยใช้การคำนวณค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (x̄ ) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ตารางแสดงการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและแบบบันทึกการสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ (Percentage, %) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และค่าความเชื่อมั่น (Reliability)
1. สรุปผลการประเมิน
1.1 ผลการประเมินสภาพแวดล้อมบริบทที่เกี่ยวข้องต่อการดำเนินงานโครงการนิเทศภายในสถานศึกษาโรงเรียนบ้านเขาหวาย ปีการศึกษา 2564
1.1.1 ความคิดเห็นของครูที่มีต่อการประเมินโครงการรูปแบบกลไกการนิเทศภายในของโรงเรียนบ้านเขาหวาย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1 ปีการศึกษา 2564 ด้านบริบทอยู่ในระดับมาก ( x̄=4.27, SD=0.47) ถือว่ามีความพึงพอใจ กล่าวคือ ในประเด็นหลักมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด เกี่ยวกับข้อกฎหมายระเบียบที่ถือปฏิบัติ มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก เกี่ยวกับนโยบายการบริหารสถานศึกษา และสภาพพื้นฐานของโรงเรียนและของชุมชน ส่วนในประเด็นย่อย มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด 1 ข้อคำถาม ได้แก่ การนิเทศภายในโรงเรียนเป็นโครงการที่ตอบสนองพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับ 2) พ.ศ.2545 ที่เหลือ 9 ข้อคำถาม มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก 3 ลำดับแรก ได้แก่ นโยบายการนิเทศภายในโรงเรียนสามารถยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนให้สูงขึ้นได้ นโยบายการนิเทศภายในโรงเรียนมีความชัดเจนเป็นระบบและสามารถปฏิบัติได้ โรงเรียนใช้ระบบการนิเทศภายในโรงเรียนเพื่อเป็นการพัฒนาครูและคุณภาพของนักเรียน เรียงตามลำดับจากมากไปหาน้อย และผู้ปกครองให้ความสนใจและมีส่วนร่วมในการดำเนินงานโครงการนิเทศภายในโรงเรียน เป็นลำดับสุดท้าย
1.1.2 ความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่มีต่อการประเมินโครงการรูปแบบกลไกการนิเทศภายในของโรงเรียนบ้านเขาหวาย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1 ปีการศึกษา 2564 ด้านบริบทอยู่ในระดับปานกลาง (x̄ =2.46, SD=0.46) ถือว่าไม่พึงพอใจ กล่าวคือ ในประเด็นหลักมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก 1 ประเด็น สภาพพื้นฐานของโรงเรียนและของชุมชน มีความคิดเห็นอยู่ในระดับปานกลาง 2 ประเด็น เกี่ยวกับนโยบายการบริหารสถานศึกษา และเกี่ยวกับข้อกฎหมายระเบียบที่ถือปฏิบัติ ส่วนในประเด็นย่อยมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก 3 ข้อคำถาม 3 ลำดับแรก ได้แก่ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเห็นความสำคัญ ให้การสนับสนุนโครงการนิเทศภายในโรงเรียน โรงเรียนใช้ระบบการนิเทศภายในโรงเรียนเพื่อเป็นการพัฒนาครู และคุณภาพของนักเรียน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีส่วนร่วมในการดำเนินงานโครงการนิเทศภายในโรงเรียน มีความคิดเห็นอยู่ในระดับปานกลาง 3 ข้อคำถาม ได้แก่ นโยบายการนิเทศภายในโรงเรียนมีความชัดเจนเป็นระบบ และสามารถปฏิบัติได้ นโยบายการนิเทศภายในโรงเรียนสามารถยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนให้สูงขึ้นได้ และโครงการนิเทศภายในโรงเรียนได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นลำดับสุดท้าย
2. ผลการประเมินสภาพปัจจัยนำเข้าที่เกี่ยวข้องต่อการดำเนินงานโครงการนิเทศภายในสถานศึกษาโรงเรียนบ้านเขาหวาย ปีการศึกษา 2564
2.1.1 ความคิดเห็นของครูที่มีต่อการประเมินโครงการรูปแบบกลไกการนิเทศภายในของโรงเรียนบ้านเขาหวาย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1 ปีการศึกษา 2564 ด้านปัจจัยนำเข้าอยู่ในระดับมาก ( x̄=4.25, SD=0.39) ถือว่ามีความพึงพอใจ กล่าวคือในประเด็นหลักมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก 4 ประเด็น เกี่ยวกับคุณวุฒิ เกี่ยวกับสื่อ วัสดุ อุปกรณ์ และสถานที่ พื้นฐานความรู้ของนักเรียน และงบประมาณที่ได้รับ ส่วนในประเด็นย่อยมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด 1 ข้อคำถาม ได้แก่ ครูมีพื้นฐานความรู้ไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีทางการศึกษา มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก 9 ข้อคำถาม 3 ลำดับแรก ได้แก่ สื่อ วัสดุ อุปกรณ์ และสถานที่ในการดำเนินงานโครงการนิเทศภายในโรงเรียนมีความเหมาะสม ครูเป็นผู้มีประสบการณ์ด้านการนิเทศภายในโรงเรียน ครูมีความรู้ความเข้าใจจุดมุ่งหมายของโครงการนิเทศภายใน เรียงตามลำดับจากมากไปหาน้อย และชุมชน องค์กร บุคคลภายนอกโรงเรียนให้การสนับสนุนด้านงบประมาณเพื่อการนิเทศภายในโรงเรียนเป็นลำดับสุดท้าย
2.1.2 ความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีต่อการประเมินโครงการรูปแบบกลไกการนิเทศภายในของโรงเรียนบ้านเขาหวาย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1 ปีการศึกษา 2564 ด้านปัจจัยนำเข้าอยู่ในระดับปานกลาง ( x̄=2.48, SD=0.50) ถือว่าไม่พึงพอใจ กล่าวคือ ในประเด็นหลักมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก เกี่ยวกับสื่อ วัสดุ อุปกรณ์ และสถานที่ มีความคิดเห็นอยู่ในระดับปานกลาง 1 ประเด็นเกี่ยวกับงบประมาณที่ได้รับ ส่วนในประเด็นย่อยมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากใน 1 ข้อคำถาม ได้แก่ สื่อ วัสดุ อุปกรณ์ และสถานที่ในการดำเนินงานโครงการนิเทศภายในโรงเรียนมีความคิดเห็นอยู่ในระดับปานกลาง 3 ข้อคำถาม เรียงตามลำดับจากมากไปหาน้อย ได้แก่มีงบประมาณเพียงพอสำหรับการดำเนินงานโครงการนิเทศภายในโรงเรียน ชุมชน องค์กร บุคคลภายนอกโรงเรียนให้การสนับสนุนด้านงบประมาณเพื่อการนิเทศภายในโรงเรียน และการเบิกจ่ายงบประมาณเพื่อดำเนินงานโครงการนิเทศภายในโรงเรียนมีความสะดวกเป็นลำดับสุดท้าย
3. ผลการประเมินกระบวนการดำเนินงานนิเทศภายในสถานศึกษา โรงเรียนบ้านเขาหวาย
ปีการศึกษา 2564
ความคิดเห็นครูที่มีต่อการประเมินโครงการรูปแบบกลไกการนิเทศภายในของโรงเรียนบ้านเขาหวาย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1 ปีการศึกษา 2564 ด้านกระบวนการอยู่ในระดับมาก ( x̄=4.31, SD=0.32) ถือว่ามีความพึงพอใจ กล่าวคือ ในประเด็นหลักมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด 1 ประเด็น เกี่ยวกับการประเมินผลและการรายงานผล มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก 5 ประเด็น 3 ลำดับแรก เกี่ยวกับการปฏิบัติการนิเทศ การศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา และความต้องการ และการสร้างสื่อและเครื่องมือการนิเทศ เรียงตามลำดับจากมากไปหาน้อยส่วนในประเด็นย่อยมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด 2 ข้อคำถาม ได้แก่ มีการจัดทำโครงการนิเทศภายในโรงเรียนไว้ในแผนปฏิบัติราชการของโรงเรียน และมีการประเมินผล และรายงานผลการนิเทศภายในโรงเรียน ที่เหลือมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก 8 ข้อคำถาม 3 ลำดับแรก ซึ่งมีค่าความคิดเห็นเท่ากัน ได้แก่ มีการกำหนดระยะเวลาในการนิเทศภายในโรงเรียนได้อย่างเหมาะสม มีการประชุมชี้แจงให้ครูทราบถึงความสำคัญ และรูปแบบของการนิเทศภายในโรงเรียน และมีการมอบหมายงานการนิเทศภายในโรงเรียนให้ครูมีส่วนรับผิดชอบ และมีการพัฒนาโครงการนิเทศภายในโรงเรียน และเผยแพร่ผลงานโดยการจัดนิทรรศการ เป็นลำดับสุดท้าย
4. ผลการประเมินผลผลิตที่เกี่ยวข้องต่อการดำเนินงานโครงการนิเทศภายในสถานศึกษาโรงเรียนบ้านเขาหวาย ปีการศึกษา 2564
4.1 ความคิดเห็นครูที่มีต่อการประเมินโครงการรูปแบบกลไกการนิเทศภายในของโรงเรียนบ้านเขาหวาย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1 ปีการศึกษา 2564 ด้านผลผลิตอยู่ในระดับมาก ( x̄=4.33,SD =0.28) ถือว่ามีความพึงพอใจ กล่าวคือ ในประเด็นหลักมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด 1 ประเด็น เกี่ยวกับโรงเรียนมีสภาพแวดล้อมที่ดีขึ้น มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก 3 ประเด็น เกี่ยวกับความสามารถในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพของครู ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนสูงขึ้น และความพึงพอใจของนักเรียน ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ส่วนในประเด็นย่อยมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด 1 ข้อคำถาม ได้แก่ โรงเรียนมีการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้มากขึ้น ที่เหลือมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก 9 ข้อคำถาม 3 ลำดับแรก ได้แก่ ครูได้รับการพัฒนาให้เป็นครูมืออาชีพ และได้รับการส่งเสริมให้มีวิทยฐานะสูงขึ้น ครูสามารถจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้นักเรียนทุกคนตั้งใจเรียน และเข้าใจเนื้อหาวิชา และครูสามารถจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เหมาะสมให้กับนักเรียนทุกคน เรียงตามลำดับจากมากไปหาน้อย และผู้ปกครองส่งบุตรหลานเข้าเรียนในโรงเรียนเพิ่มขึ้น และเป็นลำดับสุดท้าย
4.2 ความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่มีต่อการประเมินโครงการรูปแบบกลไกการนิเทศภายในของโรงเรียนบ้านเขาหวาย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1 ปีการศึกษา 2564 ด้านผลผลิตอยู่ในระดับมาก ( x̄=2.57, SD=0.46) ถือว่ามีความพึงพอใจ กล่าวคือในประเด็นหลักมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก 2 ประเด็น เกี่ยวกับโรงเรียนมีสภาพแวดล้อมที่ดีขึ้น และความพึงพอใจของนักเรียน ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีความคิดเห็นอยู่ในระดับปานกลาง 1 ประเด็นเกี่ยวกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนสูงขึ้น ส่วนในประเด็นย่อยมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก 6 ข้อคำถาม ได้แก่ โรงเรียนมีการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพิ่มขึ้น ผู้ปกครองส่งบุตรหลานเข้าเรียนในโรงเรียนเพิ่มขึ้น ผู้ปกครองให้การสนับสนุนในกิจกรรมของโรงเรียน ผู้ปกครองมีความศรัทธาและให้การยอมรับตัวครู นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้นและผ่านเกณฑ์ที่กำหนด โรงเรียนมีสถานที่ และสิ่งอำนวยความสะดวกที่ทันต่อเทคโนโลยีเพิ่มขึ้น และมีความคิดเห็นอยู่ในระดับปานกลาง 4 ข้อคำถาม 3 ลำดับแรก ได้แก่ นักเรียน มีความก้าวหน้าในการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียนทุกคนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาโรงเรียน นักเรียนที่มีปัญหาในการเรียนได้รับการช่วยเหลือให้มีผลการเรียนดีขึ้นเรียงตามลำดับจากมากไปหาน้อย และผู้ปกครองทุกคนได้มีโอกาสเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาโรงเรียน เป็นลำดับสุดท้าย
4.3 ความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการประเมินโครงการรูปแบบกลไกการนิเทศภายใน ของโรงเรียนบ้านเขาหวาย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1 ปีการศึกษา 2564 ด้านผลผลิตอยู่ในระดับมาก ( x̄=2.57, SD=0.49) ถือว่ามีความพึงพอใจ กล่าวคือ ในประเด็นหลักมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก 3 ประเด็น เกี่ยวกับโรงเรียนมีสภาพแวดล้อมที่ดีขึ้น ความพึงพอใจของนักเรียน ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และความสามารถในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพของครู มีความคิดเห็นอยู่ในระดับปานกลาง 1 ประเด็น เกี่ยวกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนสูงขึ้น ส่วนในประเด็นย่อยมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก 6 ข้อคำถาม 3 ลำดับแรก ได้แก่ โรงเรียนมีการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพิ่มขึ้นโรงเรียนมีการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพิ่มขึ้น ผู้ปกครองให้การสนับสนุนในกิจกรรมของโรงเรียน ผู้ปกครองส่งบุตรหลานเข้าเรียนในโรงเรียนเพิ่มขึ้น และมีความคิดเห็นอยู่ในระดับปานกลาง 4 ข้อคำถาม ได้แก่ นักเรียนมีความก้าวหน้าในการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียนทุกคนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาโรงเรียน ผู้ปกครองทุกคนได้มีโอกาส เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาโรงเรียน นักเรียนที่มีปัญหาในการเรียนได้รับการช่วยเหลือให้มีผลการเรียนดีขึ้น เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย
4.4 ความคิดเห็นของผู้ปกครองที่มีต่อการประเมินโครงการรูปแบบกลไกการนิเทศภายในของโรงเรียนบ้านเขาหวาย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1 ปีการศึกษา 2554 ด้านผลผลิต อยู่ในระดับมาก ( x̄=2.57, SD=0.46) ถือว่ามีความพึงพอใจ กล่าวคือ ในประเด็นหลักอยู่ในระดับมาก ทั้ง 4 ประเด็น เกี่ยวกับโรงเรียนมีสภาพแวดล้อมที่ดีขึ้น ความสามารถในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ได้อย่าง มีประสิทธิภาพของครู ความพึงพอใจของนักเรียน ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนสูงขึ้น ส่วนในประเด็นย่อยมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก 10 ข้อคำถาม 3 ลำดับแรก ได้แก่ โรงเรียนมีสถานที่ และสิ่งอำนวยความสะดวกที่ทันต่อเทคโนโลยีเพิ่มขึ้น ครูสามารถจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เหมาะสมให้กับนักเรียนทุกคน นักเรียนมีความศรัทธาและให้การยอมรับตัวครู เรียงตามลำดับจากมากไปหาน้อย และมีความคิดเห็นในระดับปานกลางใน 2 ข้อคำถาม ได้แก่ ครูจัดบรรยากาศการเรียนรู้แบบเป็นกันเอง อบอุ่น และให้การดูแลเอาใจใส่นักเรียนอย่างทั่วถึง และนักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้นและผ่านเกณฑ์ที่กำหนด