หัวข้อรายงาน รายงานผลการประเมินโครงการการพัฒนาคุณภาพการอ่านและการเขียนภาษาไทย ของนักเรียน โรงเรียนวัดเกษตราราม ปีการศึกษา 2564
ชื่อผู้รายงาน นางสาวธนวรรณ รักคง
ปีการศึกษา 2564
บทคัดย่อ
รายงานผลการประเมินโครงการการพัฒนาคุณภาพการอ่านและการเขียนภาษาไทย ของนักเรียน โรงเรียนวัดเกษตราราม ปีการศึกษา 2564 กำหนดวัตถุประสงค์ไว้ดังนี้ 1) เพื่อประเมินโครงการด้านสภาพแวดล้อม (Context Evaluation) 2) เพื่อประเมินโครงการด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) 3) เพื่อประเมินโครงการด้านกระบวนการ (Process Evaluation) 4) เพื่อประเมินโครงการด้านผลผลิต (Product Evaluation) 5) เพื่อประเมินความพึงพอใจของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับโครงการการพัฒนาคุณภาพการอ่านและการเขียนภาษาไทยของนักเรียน โรงเรียนวัดเกษตราราม ปีการศึกษา 2564 ประชากรที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้ 1) ครูโรงเรียนวัดเกษตราราม ปีการศึกษา 2564 จำนวน 4 คน 2) คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 7 คน 3) นักเรียนโรงเรียนวัดเกษตราราม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3-6 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 38 คน 4) ผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนวัดเกษตราราม ตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3-6 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 38 คน รวมประชากรทั้งสิ้น 87 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามจำนวน 5 ฉบับ เป็นแบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ดังนี้ 1) ค่าเฉลี่ย ( ) 2) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( ) 3) หาค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามโดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟา  ของครอนบาค (Cronbach) และ 4) หาค่าดัชนีความสอดคล้องของข้อคำถามโดยใช้เทคนิค IOC (Index of Item Objective Congruence)
ผลการประเมินโครงการการพัฒนาคุณภาพการอ่านและการเขียนภาษาไทย ของนักเรียน โรงเรียนวัดเกษตราราม ปีการศึกษา 2564 โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุดและเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่ามีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด 3 ด้าน ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านสภาพแวดล้อม รองลงมาคือ ด้านปัจจัยนำเข้า และด้านกระบวนการ ตามลำดับ ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุดคือ ด้านผลผลิต ปรากฏดังต่อไปนี้
1. การวิเคราะห์ข้อมูลด้านสภาพแวดล้อม (Context Evaluation) ผลการประเมินการดำเนินการในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
2. การวิเคราะห์ข้อมูลด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) ผลการประเมินการดำเนินการในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
3. การวิเคราะห์ข้อมูลด้านกระบวนการ (Process Evaluation) ผลการประเมินการดำเนินการในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
4. การวิเคราะห์ข้อมูลด้านผลผลิต (Product Evaluation) ผลการประเมินการดำเนินการในภาพรวมอยู่ในระดับมาก
ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องต่อโครงการการพัฒนาคุณภาพการอ่านและการเขียนภาษาไทย ของนักเรียน โรงเรียนวัดเกษตราราม ปีการศึกษา 2564 ในภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก นอกจากนี้ยังมีความสอดคล้องกับผลการทดสอบระดับชาติ ที่เกี่ยวข้อง กับการพัฒนาคุณภาพการอ่านและการเขียนภาษาไทย ดังนี้ 1) การประเมินความสามารถด้านการอ่านของผู้เรียน (Reading Test : RT) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 มีผลการประเมินด้านการอ่านออกเสียงและการอ่านรู้เรื่อง รวม 2 ด้าน ในปีการศึกษา 2564 สูงกว่าปีที่ผ่านมา คิดเป็นร้อยละ 10.43 2) การทดสอบความสามารถพื้นฐานของผู้เรียนระดับชาติ (National Test : NT) ชั้นประถมศึกษา ปีที่ 3 มีผลการประเมินคุณภาพด้านคณิตศาสตร์และด้านภาษาไทย รวม 2 ด้าน ในปีการศึกษา 2564 สูงกว่าปีที่ผ่านมา คิดเป็นร้อยละ 20.64 และ 3) การทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (Ordinary National Educational Test : O-NET) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีผลการทดสอบกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ในปีการศึกษา 2564 สูงกว่า ปีที่ผ่านมา คิดเป็นร้อยละ 50.09 และมีผลการทดสอบ 4 กลุ่มสาระการเรียนรู้ ในปีการศึกษา 2564 สูงกว่าปีที่ผ่านมา คิดเป็นร้อยละ 20.39