การใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative Learning) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนวัดทัพหลวง (หลวงพ่อเกิดอุปถัมภ์) โดยในครั้งแรกผู้วิจัยได้ให้ผู้เรียนทำการทดสอบก่อนเรียน (Pre Test) ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่าผลการทดสอบอยู่ในเกณฑ์ขั้นต่ำ ผู้วิจัยจึงคิดให้ผู้เรียนได้ใช้ทักษะการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อให้ผู้เรียนสามารถร่วมมือ ช่วยเหลือกันในการเรียนรู้ โดยให้ผู้เรียนได้แบ่งกลุ่มโดยการคละนักเรียนที่มีความสามารถแตกต่าง ๆ กัน นักเรียนมีการแบ่งหน้าที่ภายในกลุ่มอย่างชัดเจน มีการปรึกษาหารือ ร่วมกันทำงาน แลกเปลี่ยนความคิดเห็น มีความรับผิดชอบช่วยเหลือกันในการทำงาน ตลอดจนพากันทำงานจนสำเร็จตามเป้าหมาย โดยผู้วิจัยได้สังเกตจากพฤติกรรมการร่วมกันทำงานของผู้เรียนในแต่ละครั้ง และสุดท้ายมีการวิเคราะห์ข้อมูลจากการทดสอบหลังเรียน ( Post Test) ของผู้เรียนหลังการใช้เทคนิคที่กล่าวไว้ข้างต้น ซึ่งผู้วิจัยได้รวบรวมข้อมูลของนักเรียนกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 22 คน
อภิปรายผลและสะท้อนผล
ผลจากการวิเคราะห์ข้อมูลการทดสอบก่อนเรียน (Pre Test) และการทดสอบหลังเรียน (Post Test) สะท้อนให้เห็นว่าการใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative Learning) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนวัดทัพหลวง (หลวงพ่อเกิดอุปถัมภ์) มีค่าเฉลี่ยในระดับดีมากสูงขึ้น ทั้งนี้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่ผู้วิจัยได้วางไว้ว่า เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ร่วมมือและช่วยเหลือกันในการเรียนรู้ ในรายวิชาสุขศึกษาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 และ เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในรายวิชาสุขศึกษาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 อนึ่ง ยังมีข้อสังเกตว่ามีนักเรียนจำนวน 2 คนที่ หลังจากได้ใช้กระบวนการเรียนรู้แบบร่วมมือ และ ทำการทดสอบหลังเรียน (Post Test) แล้วยังอยู่ในเกณฑ์ที่ต่ำ ทั้งนี้ เนื่องจากผู้เรียนกลุ่มนี้ยังไม่รับผิดชอบเท่าที่ควร ขาดความเอาใจใส่ในการเรียนการสอน ไม่ตั้งใจทำแบบทดสอบ ซึ่งทำให้ระดับคะแนนเฉลี่ยของผู้เรียนกลุ่มนี้อยู่ในระดับที่ต่ำกว่าค่าที่ควรจะเป็น
ดังนั้น สามารถสรุปได้ว่า การจัดการเรียนการสอนโดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative Learning ) ด้วยการให้ผู้เรียนแบ่งกลุ่มโดยการคละนักเรียนที่มีความสามารถแตกต่าง ๆ กันในการทำงาน เป็นการช่วยให้ผู้เรียนได้เกิดการเรียนรู้ที่ดีกว่าการเรียนการสอนที่ครูเป็นผู้ให้ความรู้โดยตรงกับผู้เรียน สังเกตได้จากผู้เรียนที่มีผลการทดสอบหลังเรียน (Post Test) ในระดับดีมากและระดับดีมีจำนวนที่มากขึ้น
ข้อเสนอแนะ
ในการจัดการเรียนการสอนโดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative Learning) ผู้วิจัยพบปัญหาและข้อเสนอแนะดังนี้
1. การใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative Learning) นอกจากเป็นการฝึกฝนให้ผู้เรียนมีความรับผิดชอบในการทำงานในทีมแล้ว ยังสามารถสร้างทักษะการตัดสินใจ ภาวะของการเป็นผู้นำผู้ตาม การยอมรับฟังความคิดเห็นซึ่งกันและกัน เพื่อการทำงานให้สำเร็จตามเป้าหมาย
2.ผู้สอนควรมีการชี้แนะหรือการสอนเพิ่มเติมให้นักเรียนบางคนที่ยังไม่สามารถทำงานได้สำเร็จ และมีผลการทดสอบที่ต่ำกว่าเกณฑ์ ให้อยู่ในระดับที่ดีขึ้น โดยอาจมีการปรับกิจกรรมการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับนักเรียนกลุ่มนี้
3. มีการนำผลจากการพัฒนาผู้เรียนโดยการใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative Learning) ไปใช้หรือปรับให้เข้ากับสภาพปัญหาอื่น ๆ ของผู้เรียนในการเรียนการสอนคราวถัดไป
4. เทคนิคดังกล่าวไม่ควรใช้กับเนื้อหาที่มีมากเกินไป หากเนื้อหาที่ใช้สอนมีมากอาจต้องแบ่งเป็นการทำกิจกรรมเป็นครั้ง ๆ ไป