บทคัดย่อ
การพัฒนาผู้เรียนให้เป็นบุคคลที่มีคุณภาพทั้งทางร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้ความสามารถ คุณธรรม จริยธรรมและดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข โดยผ่านกระบวนการทางการศึกษานั้น นอกจากการดำเนินการส่งเสริมสนับสนุนนักเรียนแล้ว การป้องกันและการช่วยเหลือแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับนักเรียนก็เป็นสิ่งสำคัญประการหนึ่งของการพัฒนา การศึกษาค้นคว้าครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ
1) พัฒนาการประกันคุณภาพระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนสินปุนคุณวิชญ์ ปีการศึกษา 2564 โดยมีผู้บริหารสถานศึกษา คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน คณะครู นักเรียน และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอกโรงเรียน ให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการพัฒนาระบบการพัฒนาการประกันคุณภาพระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนร่วมกัน
2) เปรียบเทียบความรู้ ความเข้าใจ ความสามารถ และความคิดเห็นของ ครูที่ปรึกษาก่อนการพัฒนาและหลังการพัฒนาการประกันคุณภาพระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน และ 3) ศึกษาสัมฤทธิ์ผลของการพัฒนาการประกันคุณภาพระบ บดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนสินปุนคุณวิชญ์ ปีการศึกษา 2564
กลุ่มเป้าหมายในการศึกษาค้นคว้า จำนวน 31 คน เลือกกลุ่มเป้าหมายแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ตามบทบาทหน้าที่ในการดำเนินงานตามระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าได้แก่ 1) แบบประเมินความรู้ ความเข้าใจ ความสามารถ ความคิดเห็นของครูที่ปรึกษา ที่มีต่อระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน 2) แบบสัมภาษณ์นักเรียน ครู ผู้ปกครอง โดยวิธีการสัมภาษณ์แบบ เจาะลึก ศึกษาความคิดเห็นครูที่ปรึกษา นักเรียน และผู้ปกครอง ที่มีต่อระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน สถิติที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณและใช้การบรรยายเชิงพรรณาในการวิเคราะห์คุณภาพ
ผลการศึกษาพบว่า
1. โรงเรียนสินปุนคุณวิชญ์มีคู่มือในการดำเนินงานตามระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ซึ่งทำให้รูปแบบการพัฒนาการประกันคุณภาพระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนเป็นแนวทางเดียวกันและมีประสิทธิภาพมากขึ้น
2. ความรู้ ความเข้าใจ ความสามารถและความคิดเห็นของครูที่ปรึกษาที่มีต่อการดำเนินงาน ตามระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนสินปุนคุณวิชญ์ ปีการศึกษา 2564
2.1 ความรู้ ความเข้าใจของครูที่ปรึกษา ในการดำเนินงานตามระบบดูแลช่วยเหลือ นักเรียนก่อนการพัฒนาอยู่ในระดับปานกลาง โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.17 และหลังการพัฒนาอยู่ในระดับมากโดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.23
2.2 ด้านความสามารถ ของครูที่ปรึกษาในการดำเนินงานตามระบบดูแลช่วยเหลือ นักเรียนของครูที่ปรึกษาก่อนการพัฒนาอยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.73 และหลังการพัฒนาอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.51
2.3 ด้านความคิดเห็นของครูที่ปรึกษาที่มีต่อการดำเนินงานตามระบบดูแลช่วยเหลือ นักเรียนก่อนการพัฒนาอยู่ในระดับปานกลาง โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.14 และหลังการพัฒนาอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.94
3. สัมฤทธิ์ผลของการพัฒนาการประกันคุณภาพระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยองค์ประกอบ 5 ด้าน 1) การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล ครูที่ปรึกษาจัดทำระเบียนสะสม มีการบันทึกและรายงานผลครบทุกชั้นเรียนคิดเป็นร้อยละ 100.00 2) การคัดกรองนักเรียนโดยใช้แบบประเมิน SDQ แยกเป็นกลุ่มเสี่ยงคิดเป็นร้อยละ 11.04 กลุ่มมีปัญหาคิดเป็นร้อยละ 13.71 และกลุ่มปกติ คิดเป็นร้อยละ 75.23 3) นักเรียนได้รับการส่งเสริมพัฒนาและมีคุณภาพดีคิดเป็นร้อยละ 85.00 4) การป้องกันแก้ไขปัญหานักเรียนได้รับ
การพัฒนาช่วยเหลือตรงตามสภาพปัญหาคิดเป็นร้อยละ 80.56 ส่วนร้อยละ 19.44 ที่โรงเรียนยังไม่สามารถแก้ปัญหาได้เป็น นักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนบางสาระการเรียนรู้ต่ำ ซึ่งทางโรงเรียนกำลังดำเนินการ แก้ไขปัญหาอย่างเร่งด่วน และ 5) การส่งต่อนักเรียนที่มีพฤติกรรมยาก ต่อการช่วยเหลือในชั้นเรียน ส่งต่อไปยังงานแนะแนวของโรงเรียนตามลำดับ ทำให้นักเรียนได้รับการพัฒนาที่ดีขึ้น คิดเป็นร้อยละ 100.00 จึงไม่มีการส่งต่อนักเรียนไปยังผู้เชี่ยวชาญภายนอก