ชื่อเรื่อง รายงานการประเมินโครงการพัฒนาบุคลากรด้านการสร้างและการใช้สื่อมัลติมีเดียด้วย Google Apps for Education โรงเรียนวัดท่าเรียบ
ผู้รายงาน นางธัญญลักษณ์ เวชกามา
ตำแหน่ง ผู้อำนวยการสถานศึกษา วิทยฐานะ ผู้อำนวยการชำนาญการ โรงเรียนวัดท่าเรียบ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต4
ปีการศึกษา 2564
บทคัดย่อ
รายงานการประเมินโครงการพัฒนาบุคลากรด้านการสร้างและการใช้สื่อมัลติมีเดียด้วย Google Apps for Education โรงเรียนวัดท่าเรียบ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินด้านบริบท ด้านปัจจัยเบื้องต้น ด้านกระบวนการ ด้านผลผลิต ในการดำเนินโครงการพัฒนาบุคลากรด้านการสร้างและการใช้สื่อมัลติมีเดียด้วย Google Apps for Education โรงเรียนวัดท่าเรียบ และเพื่อประเมินความพึงพอใจของบุคลากรโรงเรียนวัดท่าเรียบ ในการดำเนินโครงการพัฒนาบุคลากรด้านการสร้างและการใช้สื่อมัลติมีเดียด้วย Google Apps for Education ประชากร คือ บุคลากรครูโรงเรียนวัดท่าเรียบ จำนวน 13 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินโครงการ เป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต และ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
ผลการประเมินโครงการพัฒนาบุคลากรด้านการสร้างและการใช้สื่อมัลติมีเดียด้วย Google Apps for Education ตามความคิดเห็นของผู้บริหาร ครูผู้สอน เกี่ยวกับการปฏิบัติการดำเนินตามโครงการพัฒนาบุคลากรด้านการสร้างและการใช้สื่อมัลติมีเดียด้วย Google Apps for Education โรงเรียนวัดท่าเรียบ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 4 โดยภาพรวมมีความคิดเห็นอยู่ในระดับเห็นด้วยอย่างยิ่งทุกด้าน เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า
1. ด้านบริบท ได้แก่ จุดประสงค์ของโครงการ ลักษณะเด่น ลักษณะด้อย สภาพปัญหา และความต้องการพัฒนาบุคลากรด้านการสร้างและการใช้สื่อมัลติมีเดียด้วย Google Apps for Education ความเหมาะสมสอดคล้องของหลักการ วัตถุประสงค์ เป้าหมาย วิธีการ ระยะเวลา ตลอดจนถึงการจัดบรรยากาศในการดำเนินโครงการ โดยภาพรวมมีความคิดเห็นอยู่ในระดับเห็นด้วยอย่างยิ่ง
2. ด้านปัจจัยเบื้องต้น ได้แก่ การประเมินเกี่ยวกับสิ่งอำนวยความสะดวก วัสดุอุปกรณ์ เครื่องมือ งบประมาณ วิทยากร และเนื้อหาของโครงการฝึกอบรม โดยภาพรวมมีความคิดเห็น
อยู่ในระดับเห็นด้วยอย่างยิ่ง
3. ด้านกระบวนการ ได้แก่ การประเมินเกี่ยวกับการวางแผน การประชาสัมพันธ์
การเตรียมเอกสารในการฝึกอบรม การประสานงาน การฝึกอบรม โดยภาพรวมมีความคิดเห็น
อยู่ในระดับเห็นด้วยอย่างยิ่ง
4. ด้านผลผลิต ได้แก่ การประเมินผลการปฏิบัติงานตามภารกิจที่ได้รับมอบหมาย ความสามารถในการปฏิบัติงาน การให้คำปรึกษาและการแนะนำเจตคติต่อการปฏิบัติงาน โดยภาพรวมมีความคิดเห็นอยู่ในระดับเห็นด้วยอย่างยิ่ง
5. ความพึงพอใจของบุคลากรโรงเรียนวัดท่าเรียบที่มีต่อการดำเนินโครงการพัฒนาบุคลากรด้านการสร้างและการใช้สื่อมัลติมีเดียด้วย Google Apps for Education โรงเรียนวัดท่าเรียบ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 4 พบว่า ก่อนการฝึกอบรมบุคลากรมีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับน้อย ระหว่างการฝึกอบรม มีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และหลังการฝึกอบรม มีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด