บทคัดย่อ
รายงานการประเมินโครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนอนุบาลบ้านแพ้ว (วันครู ๒๕๐๐) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร ปีการศึกษา 2564 ครั้งนี้ ผู้ประเมินใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์ (CIPP model) ของ ดีแอลสตัฟเฟิลบีม
และคณะ(D.L.Stuffebeam and Others, 1971 : 216-265) มีวัตถุประสงค์ในการประเมินโครงการ 4 ด้าน คือ การประเมินด้านบริบท (Context Evaluation) การประเมินด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) การประเมินด้านกระบวนการ (Process Evaluation) และการประเมินด้านผลผลิต (Product Evaluation) ประชากรที่ใช้ ประกอบด้วย คณะครู จำนวน 41 คน คณะกรรมการสถานศึกษาศึกษาขั้นพื้นฐาน(ยกเว้นตัวแทนครู) จำนวน 14 คน รวมประชากรทั้งหมด 35 คน
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินโครงการ คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 - 6 จำนวน 248 คน ผู้ปกครองนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 - 6 จำนวน 248 คน ซึ่งได้มาโดยการกำหนดขนาดตัวอย่างจากการเปิดตารางสำเร็จรูปของเครจซี่และมอร์แกน (Krejcie & Morgan, 1970) รวมกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 496 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินโครงการ ประกอบด้วย แบบประเมิน จำนวน 4 ฉบับ แบบเก็บข้อมูลจำนวน 1 ฉบับ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวม นำมาวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการประเมินพบว่า
1. ผลการประเมินด้านบริบท (Context evaluation) ของโครงการ พบว่า
1.1 ผลการประเมินด้านบริบท (Context Evaluation) ของโครงการ ตามความคิดเห็นของคณะครู ภาพรวม พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด (μ = 4.67, σ = 0.24) เมื่อพิจารณาในรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ความสอดคล้องกับปัญหาและความจำเป็น อยู่ในระดับมากที่สุด
(μ = 4.80, σ = 0.29) ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุดคือ ความสอดคล้องของโครงการกับความต้องการของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง อยู่ในระดับมากที่สุด (μ = 4.56, σ = 0.40)
1.2 ผลการประเมินด้านบริบท (Context Evaluation) ของโครงการ ตามความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ภาพรวม พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด (μ = 4.60, σ = 0.47) เมื่อพิจารณาในรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ความสอดคล้องกับนโยบายกระทรวงศึกษาธิการและสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน อยู่ในระดับมากที่สุด
(μ = 4.73, σ = 0.41) ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด คือ ความสอดคล้องกับปัญหาและความจำเป็น
อยู่ในระดับมากที่สุด (μ = 4.52, σ = 0.47)
2. ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้า (Input evaluation) ของโครงการ ตามความคิดเห็นของครู ในภาพรวม พบว่า มีความเหมาะสม อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.50, =0.62) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน โดยเรียงค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยตามลำดับ ได้แก่ ความพอเพียงของสื่อ วัสดุอุปกรณ์และ อาคารสถานที่ ( = 4.55,  = 0.59) รองลงมา คือ ความพร้อมและความเหมาะสมของบุคลากร ( = 4.53,  = 0.65) และรูปแบบการบริหารที่เอื้อต่อการจัดกิจกรรม มี ( = 4.52,  = 0.51) ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยสุด คือ ความพอเพียงของงบประมาณ ( = 4.38,  = 0.73)
3. ผลการประเมินด้านกระบวนการ (Process Evaluation) ตามความคิดเห็นของคณะครู ภาพรวม พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด (μ = 4.76, σ = 0.32) เมื่อพิจารณาในรายด้าน พบว่า
ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุดคือ ได้แก่ การปรับปรุงและพัฒนาการดำเนินงานและรายงานผล อยู่ในระดับมากที่สุด (μ = 4.80, σ = 0.37) และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุดคือ การกำกับนิเทศติดตามประเมินผลกิจกรรม อยู่ในระดับมากที่สุด (μ = 4.73, σ = 0.34)
4. ด้านผลผลิต (Product evaluation) พบว่า
4.1 การประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน มีความสำเร็จดังนี้ 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับสถานศึกษาของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6โรงเรียนอนุบาลบ้านแพ้ว (วันครู ๒๕๐๐) ปีการศึกษา 2564 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนปีการศึกษา 2564 เพิ่มขึ้นจากผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ในปีการศึกษา 2563 ทุกรายวิชา เฉลี่ยร้อยละ 1.62 (ซึ่งบรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการ 2) ผลการประเมินความสามารถด้านการอ่านของผู้เรียน (RT) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา 2563 เปรียบเทียบกับ ปีการศึกษา 2564 พบว่า ผลการประเมินความสามารถด้านการอ่านของผู้เรียน (RT) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 มีค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้นจากปีการศึกษา 2563 โดยแยกเป็นรายด้าน คือ ด้านการอ่านออกเสียง มีค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 14.37
ด้านการอ่านรู้เรื่อง มีค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 16.25 (ซึ่งบรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการ) 3 ) ผลการประเมินความสามารถพื้นฐานของผู้เรียนระดับชาติ (NT) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ เปรียบเทียบกับค่าเฉลี่ยระดับประเทศ พบว่า ทุกด้าน มีค่าเฉลี่ยต่ำกว่าระดับประเทศ (ไม่บรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการ) 4) ผลการทดสอบระดับชาติ (O-NET) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2563 เปรียบเทียบกับค่าเฉลี่ยระดับประเทศ พบว่ามีค่าเฉลี่ยสูงกว่าระดับประเทศทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ (ซึ่งบรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการ)
4.2 ผลการประเมิน ความพึงพอใจของ คณะครู ที่มีต่อความสำเร็จเมื่อสิ้นสุดโครงการ พบว่า ภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด (μ = 4.72, σ = 0.49) ผลการความพึงพอใจของ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีต่อความสำเร็จเมื่อสิ้นสุดโครงการ ในภาพรวม พบว่า อยู่ในระดับมาก (μ = 4.21, σ = 0.71) ผลการประเมิน ความพึงพอใจ ตามความคิดเห็นของ ผู้ปกครองนักเรียนที่มีต่อความสำเร็จเมื่อสิ้นสุดโครงการ ในภาพรวม พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด (μ = 4.55, σ = 0.51) ผลการประเมินความพึงพอใจของนักเรียน มีต่อความสำเร็จเมื่อสิ้นสุดโครงการ พบว่า ภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด (μ = 4.44, σ = 0.57)