ชื่อเรื่อง รายงานการใช้แบบฝึกทักษะภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารบูรณาการสู่งานศิลปะ
เพื่อพัฒนาทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ผ่านกิจกรรมชุมนุมศิลป์ภาษา
สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
ชื่อผู้พัฒนา นางรังสิยา กลึงกลางดอน
ปีที่พัฒนา พ.ศ. 2563
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของแบบฝึกกิจกรรมภาษาเพื่อการสื่อสาร วิชาภาษาอังกฤษ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80
2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
ที่ใช้แบบฝึกกิจกรรมภาษาเพื่อการสื่อสาร 3) เพื่อศึกษาความคงทนในการเรียนรู้ของผู้เรียน ที่เรียนรู้
โดยใช้แบบฝึกกิจกรรมภาษาเพื่อการสื่อสารหลังการใช้นวัตกรรมไปช่วงระยะหนึ่ง กลุ่มเป้าหมาย
เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนชุมชนบ้านโคกสวาย อำเภอโนนไทย จังหวัดนครราชาสีมา จำนวน 28 คน ซึ่งได้จากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) ใช้เวลาเรียน 18 ชั่วโมง รูปแบบของการศึกษาครั้งนี้คือ Pretest Posttest Control Group Design เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วยแผนการจัดการเรียนรู้ แบบฝึกกิจกรรมภาษาเพื่อการสื่อสาร และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่เน้นวัดความสามารถในการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร จำนวน 40 ข้อ สถิติที่ใช้ คือ สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ร้อยละ และสถิติที่ใช้ในการทดลองใช้ค่า t-test (Dependent Samples) ผลการพัฒนาปรากฏดังนี้
1. แบบฝึกกิจกรรมภาษาเพื่อการสื่อสาร วิชาภาษาอังกฤษ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
มีประสิทธิภาพ 81.07/82.69 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษของนักเรียนที่เรียนรู้โดยใช้แบบฝึกกิจกรรมภาษา
เพื่อการสื่อสาร มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังการจัดการเรียนรู้ที่สูงขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
ที่ระดับ .05
3. ความคงทนในการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้แบบฝึกกิจกรรมภาษาเพื่อการสื่อสารหลังจากเรียนไปแล้ว 14 วัน โดยนำแบบทดสอบฉบับเดิมมาใช้ในการทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนอีกครั้ง พบว่า นักเรียนมีความสูญเสียความรู้ไปคิดเป็นร้อยละ 1.92 ของคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนหรือมีความคงทนในการเรียนรู้ร้อยละ 98.08 โดยนักเรียนมีคะแนนเฉลี่ย
หลังเรียน 14 วัน ไม่แตกต่างจากคะแนนเฉลี่ยหลังเรียน แสดงว่านักเรียนที่เรียนรู้ด้วยแบบฝึกกิจกรรมภาษาเพื่อการสื่อสารมีความคงทนในการเรียนรู้