วัตถุประสงค์ของโครงการ
1 เพื่อให้โรงเรียนดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างเป็นระบบ โดยมีกระบวนการ วิธีการและเครื่องมือ ที่มีคุณภาพ บุคลากรในโรงเรียน ผู้ปกครอง ชุมชนและหน่วยงานภายนอกมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน
2 เพื่อให้นักเรียนได้รับการดูแลช่วยเหลือและส่งเสริมพัฒนาเต็มตามศักยภาพ มีความสมบูรณ์ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ สังคมและสติปัญญา
วิธีการดำเนินงาน
ดำเนินการโดยใช้วงจรคุณภาพ PDCA ดังนี้
1. การวางแผน (P : Plan)
1) ผู้รับผิดชอบโครงการประชุมวางแผนร่วมกับผู้เกี่ยวข้อง
2) เสนอโครงการต่อผู้บริหาร เพื่อขออนุมัติ
3) ผู้บริหารแต่งตั้งคณะทำงาน
4) ผู้รับผิดชอบโครงการประชุมชี้แจงต่อครูประจำชั้น/ครูพิเศษ ถึงแนวปฏิบัติ /และร่วมกันวางแผนดำเนินการ
2. การปฏิบัติตามแผน (D : DO)
โดยครูประจำชั้น/ครูพิเศษประจำสายชั้นและผู้ที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามแผนการจัดกิจกรรม ดังนี้
1) เยี่ยมบ้านนักเรียน
2) ประชุมผู้ปกครองนักเรียน (Class room meeting)
3) การคัดกรองนักเรียน
- แบบประเมิน SDQ
- แบบประเมิน EQ
- แบบคัดกรองนักเรียนรายบุคคล
4) ส่งเสริมพัฒนานักเรียนตามโครงการต่างๆ ที่โรงเรียนจัดขึ้น
5) ส่งต่อเพื่อแก้ปัญหานักเรียนกลุ่มเสี่ยง/กลุ่มมีปัญหา
3. การตรวจสอบ (C : Check)
1) ผู้บริหาร กำกับ ติดตาม นิเทศ
2) ผู้รับผิดชอบ ประเมินผล
4. การพัฒนา/ปรับปรุง (A : Action)
1) ผู้รับผิดชอบแต่ละกิจกรรมตรวจสอบการดำเนินงานแต่ละขั้นตอน และแก้ไขข้อบกพร่อง
2) สรุปและรายงานผลการดำเนินโครงการ
ผลการประเมินการดำเนินงานโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน
จากการประเมินการดำเนินงานโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนบรรลุตามกลยุทธ์ของโรงเรียนอนุบาลพังงาและมาตรฐานคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนอนุบาลพังงา ดังนี้
กลยุทธ์ที่ 1 พัฒนาคุณภาพผู้เรียน
ด้านผู้เรียนมีความรู้ ทักษะและคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามหลักสูตรสถานศึกษา มีคุณธรรม จริยธรรมและค่านิยมที่พึงประสงค์ มีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี ห่างไกลยาเสพติด
มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน
ด้านผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของผู้เรียน
โดยคุณครูประจำวิชาจะประเมินความสามารถในการอ่าน การเขียน การสื่อสารและการคิดคำนวณของนักเรียน นักเรียนที่มีความบกพร่องด้านดังกล่าวจะได้รับการช่วยเหลือและพัฒนาให้ดีขึ้น 100 %
คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน
การมีคุณลักษณะและค่านิยมที่ดีตามที่สถานศึกษากำหนด ยอมรับที่จะอยู่ร่วมกันบนความแตกต่างและหลากหลาย มีสุขภาวะทางร่างกายและจิตสังคม
1. นักเรียนร้อยละ 100 จะได้รับการประเมินจากครูประจำชั้นโดยแบบคัดกรองที่เป็นมาตรฐาน คือ แบบประเมิน SDQแบบประเมิน EQ และแบบประเมินการคัดกรองนักเรียนรายบุคคล เพื่อแบ่งนักเรียนออกเป็น 3 กลุ่ม คือกลุ่มปกติ กลุ่มเสี่ยง และกลุ่มมีปัญหา
2. นักเรียนร้อยละ 100 ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มมีปัญหาจะได้รับการช่วยเหลือแก้ไขตามปัญหาของแต่ละคน
มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ ด้านมีระบบบริหารการจัดการคุณภาพของสถานศึกษา
มีเป้าหมายวิสัยทัศน์และพันธกิจที่สถานศึกษากำหนดชัดเจน และมีระบบบริหารการจัดการคุณภาพของสถานศึกษา โดยใช้วงจรคุณภาพ PDCA เพื่อการบริหารในงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียน เป็นการกระจายอำนาจและการมีส่วนร่วมของผู้ที่เกี่ยวข้อง มามีส่วนร่วมในการวางแผน(P : Plan) การปฏิบัติตามแผน (D : DO) การตรวจสอบ (C : Check) และการพัฒนา/ปรับปรุง (A : Action) เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
กลยุทธ์ที่ 5 ส่งเสริมการมีส่วนร่วม
การมีส่วนร่วม ได้แก่ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในงานอนามัยโรงเรียน มีบุคลากรในโรงเรียนประกอบด้วย ผู้บริหารโรงเรียน คณะครู นักเรียน และบุคคลอื่น ๆ หรือหน่วยงานภายนอก ได้แก่ คณะกรรมการสถานศึกษา คณะกรรมการเครือข่ายผู้ปกครองระดับห้องเรียน ระดับสายชั้น และระดับโรงเรียน ผู้ปกครองนักเรียน โรงพยาบาลพังงา สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดพังงา บุคคลหรือหน่วยงานดังกล่าวมีส่วนร่วมช่วยคิด ช่วยวางแผน ร่วมในการปฏิบัติงาน ร่วมกันแก้ปัญหา ร่วมกันติดตามประเมินผล ตามหน้าที่หรือตามลักษณะภาระงานที่เกี่ยวข้อง เกิดความร่วมมือทำงานเป็นทีม ทำให้เกิดความรู้สึกรับผิดชอบร่วมกัน ส่งผลให้งานบรรลุสำเร็จได้อย่างมีประสิทธิภาพ
จุดเด่นของโครงการ
โครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนมีจุดเด่น คือ มีขั้นตอนการดำเนินงานที่ชัดเจน มีวิธีการและเครื่องมือที่ได้มาตรฐาน มีคุณภาพและมีหลักฐานการทำงานที่ตรวจสอบได้ นักเรียนทุกคนได้รับการส่งเสริมพัฒนา ดูแลช่วยเหลืออย่างทั่วถึงและตรงตามสภาพที่เป็นจริงอย่างมีประสิทธิภาพ
ปัญหา/อุปสรรค
1 นักเรียนบางส่วนอยู่ห่างไกล ทำให้ครูเดินทางไปเยี่ยมบ้านลำบากและใช้เวลานานพอสมควร
2 นักเรียนและผู้ปกครองบางคนยังไม่ตระหนักและเห็นความสำคัญในการให้
ความร่วมมือช่วยกันดูแลนักเรียน ทำให้ได้ข้อมูลไม่ตรงกับความเป็นจริง ส่งผลให้การแปรค่าผิดพลาด
3 ได้รับงบประมาณในการดำเนินงานน้อย
ข้อเสนอแนะ
1. สำหรับครูประจำชั้น (ทีมทำ)
1.1 ควร ศึกษาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนให้เข้าใจแล้ว นำไปทดลองและปฏิบัติ
และปรับปรุงแก้ไขให้สามารถดำเนินการได้ผลอย่างจริงจัง
1.2 ควรมีการประสานสัมพันธ์กับผู้เกี่ยวข้องเพื่อร่วมกันวางแผนพัฒนาผู้เรียนให้
สามารถพัฒนาตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ
1.3 ควรมีการติดตามดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้นักเรียน
เกิดความอบอุ่นใจ และมีจิตใจเข้มแข็งในการพยายามปรับพฤติกรรมของตนเองให้เป็นที่ยอมรับของสังคม
2. สำหรับฝ่ายทีมประสาน
2.1 ควรศึกษาระบบการดูแลช่วยเหลือให้เข้าใจ และร่วมกับผู้เกี่ยวข้องวางแผนดำเนิน
การอย่างเป็นระบบและนิเทศให้ความช่วยเหลืออย่างสม่ำเสมอ
2.2 ควรจัดกิจกรรมตามระบบการดูแลช่วยเหลือ ทั้งด้านการป้องกัน การแก้ไขปัญหา
และการส่งเสริมด้านศักยภาพของนักเรียนด้านต่าง ๆ อย่างสม่ำเสมอ
2.3 ควรมีระบบการติดตามของนักเรียนกลุ่มเสี่ยงอย่างใกล้ชิด เพื่อให้ความช่วยเหลือ
3. สำหรับผู้บริหารโรงเรียน (ทีมนำ)
3.1 ควรนิเทศติดตามการดำเนินงานของผู้เกี่ยวข้องฝ่ายต่าง ๆ อย่างสม่ำเสมอ
เพื่อกระตุ้นให้บุคลากรเกิดความตระหนักในการดูแลให้ความช่วยเหลือนักเรียน และพยายามดำเนินการ
เพื่อพัฒนาผู้เรียนตามแผนที่กำหนด
3.2 ควรยกย่องเชิดชูเกียรติ ให้ขวัญและกำลังแก่ผู้ปฏิบัติงาน โดยสนับสนุน
ด้านปัจจัยการดำเนินงาน หรือยกย่องชมเชยในโอกาสอันควร มอบโล่/เกียรติบัตร แก่ผู้ปฏิบัติงานดีเด่นในระดับต่าง ๆ