การประเมินโครงการนิเทศภายในแบบร่วมมือเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูโรงเรียนวัดศรีวิสุทธาราม (วิไลราษฎร์อุปถัมภ์) ปีการศึกษา 2564 ในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินบริบท (Context Evaluation) 2) ประเมินปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) 3) ประเมินกระบวนการ (Process Evaluation) 4) ประเมินผลผลิต (Product Evaluation) ประชากรในการประเมินครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ครูและบุคลากร โรงเรียนวัดศรีวิสุทธาราม (วิไลราษฎร์อุปถัมภ์) ปีการศึกษา 2564 จำนวน 38 คน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูและบุคลากรที่ปฏิบัติงานการสอน โรงเรียนวัดศรีวิสุทธาราม (วิไลราษฎร์อุปถัมภ์) ปีการศึกษา 2564 จำนวน 35 คน ซึ่งได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบนิเทศการจัดการเรียนรู้เชิงรุก แบบสอบถาม และแบบบันทึกข้อมูล รวมจำนวน 7 ฉบับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ความถี่ ค่าร้อยละ และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการประเมินโครงการ มีรายละเอียด ดังนี้
1. ด้านบริบท ประเด็นสภาพปัจจุบัน ปัญหาและความต้องการในการดำเนินโครงการ จากการศึกษาเอกสารผลการประเมินต่าง ๆ ของโรงเรียนในเชิงประจักษ์ พบว่า โรงเรียนวัดศรีวิสุทธิ์ควรพัฒนาต่อยอดการบริหารจัดการที่มุ่งเน้นการนิเทศภายใน โดยการพัฒนาเครื่องมือการนิเทศให้ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น และนำผลการนิเทศมาแก้ปัญหาหรือพัฒนาอย่างเป็นระบบด้วยกระบวนการชุมชนการเรียนรู้ PLC เพื่อส่งเสริมให้ครูจัดการเรียนการสอนที่เป็น Active Learning และส่งเสริมการทำวิจัย ในชั้นเรียน อันจะนำไปสู่การส่งเสริมสนับสนุนผู้เรียนให้พัฒนาอย่างรอบด้าน ทั้งความรู้ควบคู่คุณธรรม มีจิตอาสาและทักษะชีวิต และนอกจากนี้จากการศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหาและความต้องการในการดำเนินโครงการจากการสอบถามครู/บุคลากร พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด ได้แก่ การนิเทศภายในทำให้ครูมีเทคนิควิธีการเรียนการสอนใหม่ ๆ รองลงมาได้แก่ การนิเทศภายในมีความสําคัญและจำเปนอยางยิ่งตอการจัดการเรียนรู้ของครู และการนิเทศภายในเป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างเป็นระบบ ซึ่งมีค่าเฉลี่ยเท่ากับการนิเทศภายในทำให้ครูเรียนรู้การใช้และการสร้างสื่อนวัตกรรมที่มีประสิทธิภาพ
2. ด้านปัจจัยนำเข้า
2.1 ประเด็นความพร้อมของโครงการ พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด ได้แก่ ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการมีความเหมาะสมสอดคล้องกับการดำเนินงานโครงการ รองลงมา ได้แก่ หลักการของโครงการเชื่อมโยงสอดคล้องกับสภาพปัจจุบัน ปัญหาและความต้องการในการดำเนินโครงการ ซึ่งมีค่าเฉลี่ยเท่ากับมีการประสานความร่วมมือจากบุคคล/หน่วยงานภายนอกเพื่อสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมโครงการ และขั้นตอนและรูปแบบการดำเนินกิจกรรมโครงการเอื้อต่อการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของครู
2.2 ประเด็นความพร้อมของทรัพยากร พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาให้การสนับสนุนและเป็นผู้นำกิจกรรม รองลงมา ได้แก่ มีบุคลากรจากหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องให้ความร่วมมือและสนับสนุนการดำเนินกิจกรรม ซึ่งมีค่าเฉลี่ยเท่ากับเทคโนโลยี สารสนเทศเหมาะสมเพียงพอต่อการดำเนินโครงการ และคณะกรรมการกิจกรรม เป็นผู้มีความพร้อมและกระตือรือร้นในการปฏิบัติกิจกรรม
3. ด้านกระบวนการ (Process)
3.1 กิจกรรมการวางแผนการนิเทศภายใน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด รายงานประเมินที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด ได้แก่ สื่อสารในองค์กรโดยชี้แจงบทบาทหน้าที่ของผู้นิเทศและผู้รับการนิเทศให้มีความเข้าใจที่ตรงกัน รองลงมา ได้แก่ ครู/บุคลากรทุกคนมีส่วนร่วมในการกำหนดวัตถุประสงค์การนิเทศภายในสถานศึกษา ซึ่งมีค่าเฉลี่ยเท่ากับกำหนดเกณฑ์การตัดสินผลการนิเทศภายในสถานศึกษาอย่างชัดเจนเป็นที่เข้าใจตรงกัน และครู/บุคลากรทุกคนมีส่วนร่วมในการออกแบบเครื่องมือการนิเทศภายในสถานศึกษา
3.2 กิจกรรมการดำเนินการนิเทศภายใน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก รายงานประเมินที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด ได้แก่ นิเทศภายในสถานศึกษาโดยการพิจารณาตรวจสอบแผนการจัดการเรียนรู้ เชิงรุกของครู ซึ่งมีค่าเฉลี่ยเท่ากับนิเทศภายในสถานศึกษาโดยการพิจารณาตรวจสอบการบริหารจัดการชั้นเรียนเชิงบวกของครู รองลงมา ได้แก่ นิเทศภายในสถานศึกษาโดยการพิจารณาตรวจสอบพฤติกรรมการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครู และมีการนัดหมายเพื่อติดตามผลการพัฒนาปรับปรุงการปฏิบัติงาน ซึ่งมีค่าเฉลี่ยเท่ากับใช้กระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) เพื่อร่วมเสนอปัญหาจากการนิเทศ วิธีการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น และผลสำเร็จที่เกิดจากการแก้ปัญหา
3.3 กิจกรรมประเมินผลการนิเทศภายใน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก รายงานประเมินที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด ได้แก่ มีการจัดทำรายงานผลการนิเทศภายในสถานศึกษาเพื่อเป็นสารสนเทศในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา รองลงมา ได้แก่ มีการบันทึกผลการนิเทศภายในสถานศึกษาและข้อเสนอแนะสำหรับผู้รับการนิเทศรายบุคคล ซึ่งมีค่าเฉลี่ยเท่ากับมีการนำเสนอผลการนิเทศภายในสถานศึกษาให้ผู้รับการนิเทศรับทราบทุกครั้ง และมีการวิเคราะห์ข้อมูลจากการสังเกตการสอนเพื่อประเมินผลการนิเทศภายในสถานศึกษา
4. ด้านผลผลผลิต
4.1 ผลการนิเทศการจัดการเรียนรู้เชิงรุก ปีการศึกษา 2564
4.1.1 ด้านการจัดการเรียนรู้ของครู เปรียบเทียบภาคเรียนที่ 1 และภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จำแนกตามประเด็นพิจารณา พบว่า ในภาพรวม มีคะแนนการประเมิน ภาคเรียนที่ 1 เท่ากับ 72 คะแนน คิดเป็นคะแนนเฉลี่ย 2.05 ซึ่งอยู่ในระดับดี ภาคเรียนที่ 2 มีคะแนน เท่ากับ 85 คะแนน คิดเป็นคะแนนเฉลี่ย 2.41 ซึ่งอยู่ในระดับดีมาก หากเปรียบเทียบ พบว่า ภาคเรียนที่ 2 มีคะแนนการประเมินเพิ่มสูงขึ้นจากภาคเรียนที่ 1 เท่ากับ 13 คะแนน คิดเป็นคะแนนเฉลี่ย 0.37 โดยประเด็นพิจารณาที่เพิ่มสูงขึ้นมากที่สุด คือ ครูใจกว้าง ยอมรับในความสามารถ การแสดงออก และความคิดเห็นของผู้เรียน, วางแผนเกี่ยวกับเวลาในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้อย่างชัดเจนทั้งในส่วนของเนื้อหาและกิจกรรม, มีการวัดประเมินผลในรูปแบบที่หลากหลายทั้งก่อนเรียน ระหว่างเรียนและหลังเรียน โดยมีค่าเฉลี่ยเพิ่มสูงขึ้น 0.71, 0.51, 0.40 ตามลำดับ
4.1.2 ด้านพฤติกรรมการเรียนรู้ของผู้เรียน เปรียบเทียบภาคเรียนที่ 1 และภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จำแนกตามประเด็นพิจารณา พบว่า ในภาพรวม มีคะแนนการประเมิน ภาคเรียนที่ 1 เท่ากับ 73 คะแนน คิดเป็นคะแนนเฉลี่ย 2.10 ซึ่งอยู่ในระดับดี ภาคเรียนที่ 2 มีคะแนน เท่ากับ 85 คะแนน คิดเป็นคะแนนเฉลี่ย 2.43 ซึ่งอยู่ในระดับดีมาก หากเปรียบเทียบ พบว่า ในภาคเรียนที่ 2 มีคะแนนการประเมินเพิ่มสูงขึ้นจากภาคเรียนที่ 1 เท่ากับ 12 คะแนน คิดเป็นคะแนนเฉลี่ย 0.33 โดยประเด็นพิจารณาที่เพิ่มสูงขึ้นมากที่สุด คือผู้เรียนสร้างองค์ความรู้และจัดระบบการเรียนรู้ด้วยตนเอง, ผู้เรียนร่วมกันจัดเก็บ ทำความสะอาดอุปกรณ์ และสถานที่หลังการปฏิบัติกิจกรรม, ผู้เรียนมีความกระตือรือร้นในการเรียนรู้ ซึ่งมีค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้นเท่ากับผู้เรียนกล้านำเสนอและแสดงความคิดเห็น และโต้แย้งอย่างมีเหตุผล โดยมีค่าเฉลี่ยเพิ่มสูงขึ้น 0.60, 0.46, 0.29 ตามลำดับ
4.1.3 ด้านกระบวนการจัดการเรียนรู้ เปรียบเทียบภาคเรียนที่ 1 และภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จำแนกตามประเด็นพิจารณา พบว่า ในภาพรวม มีคะแนนการประเมินภาคเรียนที่ 1 เท่ากับ 71 คะแนน คิดเป็นคะแนนเฉลี่ย 2.02 ซึ่งอยู่ในระดับดี ภาคเรียนที่ 2 มีคะแนน เท่ากับ 86 คะแนน คิดเป็นคะแนนเฉลี่ย 2.46 ซึ่งอยู่ในระดับดีมาก หากเปรียบเทียบ พบว่า ภาคเรียนที่ 2 มีคะแนนการประเมินเพิ่มสูงขึ้นจากภาคเรียนที่ 1 เท่ากับ 15 คะแนน คิดเป็นคะแนนเฉลี่ย 0.43 โดยประเด็นพิจารณาที่เพิ่มสูงขึ้นมากที่สุด คือ เป็นกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้, เป็นกิจกรรมที่สร้างสถานการณ์ให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติจริง, เป็นกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนบูรณาการข้อมูลข่าวสารสารสนเทศและหลักการสู่การสร้างความคิดรวบยอด โดยมีค่าเฉลี่ยเพิ่มสูงขึ้น 0.60, 0.57, 0.43 ตามลำดับ
4.1.4 ผลการนิเทศการจัดการเรียนรู้เชิงรุกในภาพรวม มีคะแนนการประเมิน ภาคเรียนที่ 1 เท่ากับ 72 คะแนน คิดเป็นคะแนนเฉลี่ย 2.06 ซึ่งอยู่ในระดับดี ภาคเรียนที่ 2 มีคะแนน เท่ากับ 85 คะแนน คิดเป็นคะแนนเฉลี่ย 2.43 ซึ่งอยู่ในระดับดีมาก ซึ่งหากเปรียบเทียบ พบว่า ภาคเรียนที่ 2 มีคะแนนการประเมินเพิ่มสูงขึ้นจากภาคเรียนที่ 1 เท่ากับ 13 คะแนน คิดเป็นคะแนนเฉลี่ย 0.37 โดยประเด็นพิจารณาที่เพิ่มสูงขึ้นมากที่สุด คือ ครูใจกว้าง ยอมรับในความสามารถ การแสดงออก และความคิดเห็นของผู้เรียน, เป็นกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ ซึ่งมีคะแนนเพิ่มขึ้นเท่ากับ ผู้เรียนสร้างองค์ความรู้และจัดระบบการเรียนรู้ด้วยตนเอง, เป็นกิจกรรมที่สร้างสถานการณ์ให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติจริง โดยมีค่าเฉลี่ยเพิ่มสูงขึ้น 0.71, 0.60, 0.57 ตามลำดับ
4.1.5 จำนวนครูจำแนกตามระดับคุณภาพของผลการนิเทศภายในสถานศึกษา เปรียบเทียบภาคเรียนที่ 1 และภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 พบว่า ในภาคเรียนที่ 1 มีจำนวนครูที่มีผลการประเมิน ในระดับดีขึ้นไป จำนวน 25 คน คิดเป็นร้อยละ 71.43 ภาคเรียนที่ 2 มีจำนวนครูที่มีผลการประเมินในระดับดีขึ้นไป จำนวน 30 คน คิดเป็นร้อยละ 85.71 ซึ่งหากเปรียบเทียบ พบว่า ในภาคเรียนที่ 2 มีจำนวนครูที่มีผลการประเมินระดับดีขึ้นไป เพิ่มสูงขึ้นจากภาคเรียนที่ 1 จำนวน 5 คน คิดเป็น ร้อยละ 14.28
4.2 ผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา ปีการศึกษา 2564
4.2.1 ผลการประเมินตามมาตรฐานการศึกษา ระดับการศึกษาปฐมวัย ทั้ง 3 มาตรฐาน ได้แก่ มาตรฐานคุณภาพของเด็ก มาตรฐานกระบวนการบริหารและการจัดการ และมาตรฐานกระบวนการจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ มีผลการประเมินคุณภาพในระดับ ดีเลิศ ทุกมาตรฐาน ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ทั้ง 3 มาตรฐาน ได้แก่ มาตรฐานคุณภาพของผู้เรียน มาตรฐานกระบวนการบริหารและการจัดการ มาตรฐานกระบวนการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ มีผลการประเมินคุณภาพในระดับ ดีเลิศ ทุกมาตรฐาน
4.2.2 มาตรฐานคุณภาพของผู้เรียน ด้านผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการ พบว่า ผู้เรียนมีความสามารถในการอ่าน การเขียน การสื่อสาร ในระดับดีขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 76.49 ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเป็นไปตามเป้าหมายของสถานศึกษา คิดเป็นร้อยละ 85.94 ผู้เรียนมีความสามารถในการคิดคำนวณ คิดวิเคราะห์ ในระดับดีขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 79.80 ผู้เรียนมีความสามารถในการสร้างนวัตกรรม คิดเป็นร้อยละ 90.0 ผู้เรียนมีความสามารถในการใช้เทคโนโลยี ในระดับดีขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 85.52 ผู้เรียนมีทักษะพื้นฐาน และเจตคติที่ดีในการศึกษาต่อ การทำงานและประกอบอาชีพ ร้อยละ 86.00 ด้านคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน พบว่า ผู้เรียนมีคุณลักษณะและค่านิยมที่ดีในระดับดีขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 97.50 ผู้เรียนมีความภูมิใจในท้องถิ่น ภูมิใจในความเป็นไทย อนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณี ในระดับดีขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 98.00 ผู้เรียนอยู่ร่วมกันบนความแตกต่างและหลากหลาย ในระดับดีขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 97.50 ผู้เรียนมีสุขภาวะทางร่างกายและ จิตสังคม ในระดับดีขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 72.53
4.2.3 มาตรฐานกระบวนการบริหารและการจัดการ พบว่า โรงเรียนมีการกำหนดเป้าหมาย วิสัยทัศน์ พันธกิจของสถานศึกษาอย่างชัดเจน โดยใช้กระบวนการบริหารตามรูปแบบ Sriwisut Model มีขั้นตอนการดำเนินงานที่ได้จากการประยุกต์ทฤษฎีบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ (Result Base Management : RBM) และการบริหารแบบมีส่วนร่วม (Participative Management : PM) ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ดำเนินงานพัฒนาวิชาการที่เน้นคุณภาพผู้เรียนรอบด้านตามหลักสูตรสถานศึกษาและทุกกลุ่มเป้าหมาย โดยใช้การนิเทศภายในสถานศึกษาเป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษา มุ่งเน้นให้ครูและบุคลากรจัดการเรียนรู้เชิงรุก พัฒนาพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบ Online ที่สอดคล้องกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID 19)
4.2.4 มาตรฐานกระบวนการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ พบว่า ครูสามารถจัดการเรียนรู้ผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริง ในระดับดีขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 82.50 ครูใช้สื่อ เทคโนโลยี สารสนเทศและแหล่งเรียนรู้ ในระดับดีขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 82.50 ครูประเมินผู้เรียน อย่างเป็นระบบ ในระดับดีขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 80.00 ครูสามารถบริหารจัดการชั้นเรียนเชิงบวก ในระดับดีขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 85.00 ครูสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ คิดเป็นร้อยละ 100 และนอกจากนี้จากหลักฐานเชิงประจักษ์ พบว่า ครูจัดการเรียนการสอน ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ (Active learning) โดยเปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ ผ่านกระบวนการคิด ปฏิบัติจริง นำไปสู่การเรียนรู้ที่ลึกซึ้งและคงทนตามมาตรฐานและตัวชี้วัดของหลักสูตรสถานศึกษา ซึ่งปีการศึกษา 2564 อยู่ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ทำให้ครูต้องปรับเปลี่ยนการจัดการเรียนรู้ตามสถานการณ์ โดยจัดการเรียนรู้ในรูปแบบออนไลน์เป็นส่วนมาก โดยใช้สื่อเทคโนโลยี Application ต่าง ๆ เช่น Line, Zoom,YouTube, Facebook, Google Meet, Microsoft Team ครูศึกษาวิธีการใช้สื่อรูปแบบต่าง ๆ เพื่อจัดการเรียนรู้ให้กับนักเรียนทางบ้าน จัดทำแผนการจัดการเรียนรู้เชิงรุกที่สามารถนำไปใช้จัดกิจกรรมได้จริง ใช้สื่อและแหล่งเรียนรู้ มีการบริหารจัดการชั้นเรียนเชิงบวก เพื่อให้นักเรียนรักการเรียนรู้และเรียนรู้อย่างมีความสุข ครูร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้โดยใช้กระบวนการ PLC ทางไลน์ และนำข้อมูลมาร่วมพัฒนาปรับปรุงการจัดการเรียนรู้ ครูผลิตนวัตกรรม แผนการจัดการเรียนรู้ อีกทั้งปรับโครงสร้างรายวิชา หน่วยการเรียนรู้ลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ สัดส่วนคะแนนแต่ละหน่วย กำหนดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ที่สอดคล้องกับหน่วยการเรียนรู้ สนับสนุนให้ครูจัดการเรียนการสอนที่เน้นให้นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติจริงจนสรุปความรู้ได้ด้วยตนเอง จัดการเรียนการสอนที่เน้นทักษะการคิด เช่น จัดการเรียนรู้ด้วยโครงงาน ครูมีการมอบหมายหน้าที่ให้นักเรียนจัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ สิ่งประดิษฐ์ทางวิทยาศาสตร์ กิจกรรมสะเต็มศึกษา ให้นักเรียนผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริง ให้นักเรียนได้ฝึกทักษะ ได้แสดงความคิดเห็น ได้แสดงออก เป็นผู้สามารถสรุปองค์ความรู้ นำเสนอผลงาน ให้นักเรียนนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ ครูมีการบริหารจัดการชั้นเรียนเชิงบวก ให้นักเรียนรักการเรียนรู้ และสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข ครูร่วมกันออกแบบการวัดผลประเมินผลเพื่อตรวจสอบ และประเมินผู้เรียนอย่างมีขั้นตอน ใช้เครื่องมือ วิธีการวัดและประเมินผลที่เหมาะสม พร้อมทั้งนำผลไปใช้พัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน
4.3 ผลงานที่สถานศึกษาได้รับจากการดำเนินงานนิเทศภายในสถานศึกษา ปีการศึกษา 2564 คือ รางวัลระดับคุณภาพดีเยี่ยม ในการคัดเลือกผลงานการพัฒนารูปแบบการนิเทศภายในของสถานศึกษาที่ประสบผลสำเร็จเป็นแบบอย่างได้ ปีการศึกษา 2564 จากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 1 ส่งผลให้ได้เข้าร่วมเป็นสถานศึกษาที่ประสบผลสำเร็จ เพื่อถอดบทเรียนและพัฒนานวัตกรรมความดี (Virtue Innovation Model) โครงการพัฒนายุวทูต ความดีสู่วิถีพลเมืองโลกในศตวรรษที่ 21 ร่วมกับกระทรวงการต่างประเทศประจำปี 2564 จากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งหากพิจารณารางวัลที่ครูได้รับ ซึ่งเป็นผลจากการนิเทศภายในสถานศึกษา พบว่า ครูได้รับรางวัลการคัดเลือกรูปแบบการปฏิบัติที่ดีสู่ความเป็นเลิศ (Best Practice) ระดับเหรียญทอง คลิปการสอน กิจกรรมปรับลุค ปลุกไอเดียกับแนวคิดการสร้างสรรค์ Content และคลิปให้แตกต่าง (Boost up skill & Creative idea) จากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 1 จำนวน 3 คน และได้รับการคัดเลือกเป็นผู้บังคับบัญชาลูกเสือดีเด่นประเภทผู้สอน ปี 2564 จำนวน 1 คน และนอกจากนี้ยังได้ฝึกสอนผู้เรียนให้ร่วมประกวดสวดมนต์หมู่สรรเสริญ พระรัตนตรัย ทำนองสรภัญญะ ประเภททีม 5 คน ระดับประถมศึกษา สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดพิษณุโลก