อานนท์ ทองคง: การประเมินโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนอนุบาลพิบูลเวศม์
โดยประยุกต์ใช้รูปแบบ CIPPIEST
การประเมินโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนอนุบาลพิบูลเวศม์ โดยประยุกต์ใช้รูปแบบ CIPPIEST ประเมิน 8 ด้าน ได้แก่ ด้านบริบท (C: Context Evaluation) ด้านปัจจัยนำเข้า (I: Input Evaluation) ด้านกระบวนการ (P: Process Evaluation) ด้านผลผลิต (P: Product Evaluation) ด้านผลกระทบ (I: Impact Evaluation) ด้านประสิทธิผล (E: Effectiveness Evaluation) ด้านความยั่งยืน (S: Sustainability Evaluation) และด้านการส่งต่อ (T: Transportability Evaluation) กลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วยครู 28 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 10 คน คณะกรรมการเครือข่ายผู้ปกครอง 144 คน นักเรียน 344 คน รวมทั้งสิ้น 526 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นเแบบประเมินค่า 5 ระดับ (Rating Scales) และแบบตรวจรายการ (Check List) การวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรมสำเร็จรูป วิเคราะห์ค่าสถิติ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการประเมิน พบว่า
ด้านบริบท (C: Context Evaluation) ตามความคิดเห็นของครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน คณะกรรมการเครือข่ายผู้ปกครอง ผ่านเกณฑ์การประเมิน โดยมีผลการประเมินสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้
ด้านปัจจัยนำเข้า (I: Input Evaluation) ตามความคิดเห็นของครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน คณะกรรมการเครือข่ายผู้ปกครอง ผ่านเกณฑ์การประเมิน โดยมีผลการประเมินสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้
ด้านกระบวนการ (P: Process Evaluation) ตามความคิดเห็นของครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน คณะกรรมการเครือข่ายผู้ปกครอง ผ่านเกณฑ์การประเมิน โดยมีผลการประเมินสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้
ด้านผลผลิต (P: Product Evaluation) ตามความคิดเห็นของครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน คณะกรรมการเครือข่ายผู้ปกครอง ผ่านเกณฑ์การประเมิน โดยมีผลการประเมินสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้
ด้านผลกระทบ (I: Impact Evaluation) ตามความคิดเห็นของครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน คณะกรรมการเครือข่ายผู้ปกครอง ผ่านเกณฑ์การประเมิน โดยมีผลการประเมินสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้
ด้านประสิทธิผล (E: Effectiveness Evaluation) ตามความคิดเห็นของครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน คณะกรรมการเครือข่ายผู้ปกครอง ผ่านเกณฑ์การประเมิน โดยมีผลการประเมินสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้
ด้านความยั่งยืน (S: Sustainability Evaluation) ตามความคิดเห็นของครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน คณะกรรมการเครือข่ายผู้ปกครอง ผ่านเกณฑ์การประเมิน โดยมีผลการประเมินสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้
ด้านการส่งต่อ (T: Transportability Evaluation) ตามความคิดเห็นของครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน คณะกรรมการเครือข่ายผู้ปกครอง ผ่านเกณฑ์การประเมิน โดยมีผลการประเมินสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้