การประเมินโครงการพัฒนาทักษะอาชีพ การเลี้ยงไก่ไข่ โดยใช้คุณธรรมพรหมวิหาร 4 โรงเรียนวัดบ้านแหลมกรวด (อินทรประดิษฐ์) ใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์ (CIPP Model) มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมิน 1) ด้านสภาพแวดล้อม (Context Evaluation) 2) ด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) 3) ด้านกระบวนการ (Process Evaluation) และ 4) ด้านผลผลิต (Product Evaluation) ซึ่งมีการประเมินความพึงพอใจและประเมินทักษะอาชีพของนักเรียนตามโครงการพัฒนาทักษะอาชีพ การเลี้ยงไก่ไข่ โดยใช้คุณธรรมพรหมวิหาร 4 โรงเรียนวัดบ้านแหลมกรวด (อินทรประดิษฐ์) กลุ่มประชากรรวมทั้งหมด 253 คน ประกอบด้วย 1) ครูผู้สอน จำนวน 14 คน 2) คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 7 คน 3) ผู้ปกครองของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ถึงชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 3 จำนวน 116 คน และ 4) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 116 คน เครื่องมือที่ใช้ประเมินโครงการมีจำนวน 6 ชุด (10 ฉบับ) ได้แก่ ฉบับที่ 1 แบบประเมินด้านสภาพแวดล้อม มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .915 ฉบับที่ 2 แบบประเมินด้านปัจจัยนำเข้า มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .942 ฉบับที่ 3 แบบประเมินด้านกระบวนการ มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ .936 ฉบับที่ 4 แบบประเมินด้านผลผลิต มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .947 ฉบับที่ 5/1 แบบประเมินความพึงพอใจที่มีต่อโครงการ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .931 ฉบับที่ 5/2 แบบประเมินความพึงพอใจต่อการใช้คุณธรรมพรหมวิหาร 4 ของผู้บริหารสถานศึกษา มีค่าความเชื่อมั่นกับ .893 และ ฉบับที่ 6/1 6/4 แบบประเมินทักษะอาชีพ การเลี้ยงไก่ไข่ ของนักเรียนโรงเรียนวัดบ้านแหลมกรวด (อินทรประดิษฐ์) มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ .910, .906, .944 และ .952 ตามลำดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการประเมินพบว่า
1) ด้านสภาพแวดล้อมของโครงการ ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.76 ผ่านเกณฑ์การประเมินที่ตั้งไว้ เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า รายการโครงการมีความสอดคล้องกับนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการและสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน วัตถุประสงค์และเป้าหมายของโครงการมีความสอดคล้องและเหมาะสม มีผลการประเมินในระดับมากที่สุดเป็นลำดับแรกเท่ากัน 2 รายการ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.86 และรายการวัตถุประสงค์และกิจกรรมของโครงการนำไปสู่การปฏิบัติได้ มีผลการประเมินต่ำสุดอยู่ในระดับมากที่สุดเป็นลำดับสุดท้าย มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.67
2) ด้านปัจจัยนำเข้า ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.76 ผ่านเกณฑ์การประเมินที่ตั้งไว้เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า รายการที่มีผลการประเมินในระดับมากที่สุด 3 ลำดับแรกเท่ากัน คือ รายการโรงเรียนมีการแต่งตั้งบุคลากรที่รับผิดชอบบุคลากรที่รับผิดชอบมีความรู้ความเข้าใจในโครงการ และมีงบประมาณเพียงพอในการดำเนินโครงการ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.81 และรายการที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดอยู่ในระดับมากที่สุด คือ รายการการส่งเสริมสนับสนุนในการดำเนินงานตามโครงการจากผู้ปกครองนักเรียนและชุมชน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.67
3) ด้านกระบวนการของโครงการ ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.72 โดยรายการที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดในระดับมากที่สุด คือ บุคลากรที่เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในการวางแผนดำเนินการของโครงการมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.85 และรายการประเมินที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดในระดับมากที่สุด คือ มีการวัดและประเมินผลการดำเนินงานของกิจกรรมโครงการมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.61
4) ผลการประเมินผลผลิตของโครงการในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.67 ผ่านเกณฑ์การประเมินที่ตั้งไว้ เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า รายการประเมินที่มีผลการประเมินมีค่าเฉลี่ยสูงสุดในระดับมากที่สุด คือ โรงเรียนใช้แนวทางนี้ไปสู่การพัฒนาทักษะอาชีพอื่นๆได้อีกต่อไปมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.82 และกิจกรรมที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดอยู่ในระดับมากที่สุด คือ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกคนมีความภาคภูมิในกิจกรรมนี้ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.52
4.1 ผลการประเมินความพึงพอใจทีมีต่อโครงการพัฒนาทักษะอาชีพ การเลี้ยงไก่ไข่ โดยใช้คุณธรรมพรหมวิหาร 4 โรงเรียนวัดบ้านแหลมกรวด(อินทรประดิษฐ์) โดยครูผู้สอน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครองนักเรียนและนักเรียน ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.66 เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า นักเรียนเรียนรู้และมีการทำงานกลุ่มได้เป็นอย่างดี และนักเรียนปฏิบัติกิจกรรม การเลี้ยงไก่ไข่อย่างเต็มใจ มีค่าเฉลี่ยในระดับมากที่สุด 4.71 และความพึงพอใจที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดในระดับมากที่สุด คือ ส่งเสริมนักเรียนให้มีคุณธรรมและคุณลักษณะที่พึงประสงค์ และผู้ปกครองนักเรียนมีความภาคภูมิใจในทักษะอาชีพของบุตรหลานมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.53
4.2 ผลการประเมินความพึงพอใจต่อการใช้คุณธรรมพรหมวิหาร 4 ของผู้บริหารสถานศึกษา จากการดำเนินโครงการพัฒนาทักษะอาชีพ การเลี้ยงไก่ไข่ โดยใช้คุณธรรมพรหมวิหาร 4 โรงเรียนวัดบ้านแหลมกรวด(อินทรประดิษฐ์) โดยครูผู้สอน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครองนักเรียน ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุดมีค่าเฉลี่ยกับ 4.63 เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า มีการตัดสินใจ โดยพิจารณาไตร่ตรองใคร่ครวญด้วยปัญญา มีค่าเฉลี่ยในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.95 และความพึงพอใจที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดในระดับมาก 2 รายการเท่ากัน คือ มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ มีน้ำใจ และประพฤติตนอยู่ในศีลธรรมอันดี มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.25
4.3 ผลการประเมินทักษะอาชีพ การเลี้ยงไก่ไข่ ของนักเรียนตามโครงการพัฒนาทักษะอาชีพ การเลี้ยงไก่ไข่ โดยใช้คุณธรรมพรหมวิหาร 4 โรงเรียนวัดบ้านแหลมกรวด(อินทรประดิษฐ์) โดยครูผู้สอน ผู้ปกครองนักเรียนและนักเรียน เป็นผู้ประเมินนักเรียนแต่ละคน
4.3.1 ระดับชั้นอนุบาลปีที่ 2 ถึง ระดับชั้นอนุบาลปีที่ 3 นักเรียนมีระดับคุณภาพในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.95 เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า รายการประเมินที่มีผลการประเมินสูงสุดเท่ากัน 3 รายการ คือ นักเรียนเก็บไข่ไก่ได้ และนักเรียนระบุสิ่งที่ไม่ใช่อาหารของไก่ได้ คิดเป็นร้อยละ 100
4.3.2 ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึง ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 นักเรียนมีระดับคุณภาพอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.95 เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า รายการประเมินที่มีผลการประเมินสูงสุดเท่ากัน 4 รายการ คือ นักเรียนให้อาหารและน้ำแก่ไก่ได้ นักเรียนระบุสิ่งที่อาหารหลักของไก่ได้ และนักเรียนเก็บไข่ไก่ได้ นักเรียนทำอาหารจากไข่ไก่ได้ คิดเป็นร้อยละ 100
4.3.3 ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ถึง ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 นักเรียนมีระดับคุณภาพอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.91 เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า รายการประเมินที่มีผลการประเมินสูงสุด คือ นักเรียนทำอาหารจากไข่ไก่ได้มากกว่า 2 รายการ ร้อยละ 100 และรายการประเมินที่มีจำนวนนักเรียนปฏิบัติตามรายการประเมินที่มีผลการประเมินต่ำสุดในระดับคุณภาพมากที่สุด จำนวน 2 รายการ คือ นักเรียนบอกสุขภาพของไก่ไข่ได้ และนักเรียนจัดเก็บมูลไก่ได้อย่างถูกวิธี คิดเป็นร้อยละ 84.73
4.3.4 ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึง ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 นักเรียนมีระดับคุณภาพอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.87 เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่ารายการประเมินที่มีผลการประเมินสูงสุดเท่ากัน 2 รายการ คือ นักเรียนดำเนินการป้องกันสัตว์อาจที่มารบกวนไก่ได้ และนักเรียนทำอาหารจากไข่ไก่ได้มากกว่า 3 รายการ คิดเป็นร้อยละ 100 และรายการประเมินที่มีจำนวนที่มีผลการประเมินต่ำสุดในระดับคุณภาพมากที่สุด คือ นักเรียนตรวจสุขภาพของไก่ได้ คิดเป็นร้อยละ 76.63