รูปแบบ HCH: WANWIMON MODEL ใจรวมใจสู่การบริหารแบบมีส่วนร่วม
ต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา
Model HCH: WANWIMON MODEL united heart towards management Participative
นางวรรณวิมล ทองงาม
Mrs. Wanwimon Thongngam
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาการบริหารด้วยรูปแบบ HCH: WANWIMON MODEL ใจรวมใจสู่การบริหารแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารสถานศึกษา 2) ศึกษาประสิทธิผลของสถานศึกษา จาก การบริหารแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารสถานศึกษา 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารแบบมีส่วนร่วมกับประสิทธิผลของสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหาร ครู และกรรมการสถานศึกษา ของกลุ่มโรงเรียนพัฒนานิคม จำนวน 9 โรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลพบุรี เขต 2 จำนวน 121 คน โดยใช้วิธีการสุ่มอย่างง่ายจากตารางเทียบหากลุ่มตัวอย่างของเครจซี่และ มอร์แกน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และค่าสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson product-moment correlation)
ผลการวิจัย พบว่า
1. การบริหารด้วยรูปแบบ HCH: WANWIMON MODEL ใจรวมใจสู่การบริหารแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารสถานศึกษา โดยรวม อยู่ในระดับมากที่สุด
2. ประสิทธิผลของสถานศึกษา โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากที่สุด
3. การบริหารด้วยรูปแบบ HCH: WANWIMON MODEL ใจรวมใจสู่การบริหารแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารสถานศึกษา ตามความคิดเห็นของของผู้บริหาร ครู และกรรมการสถานศึกษา ของกลุ่มโรงเรียนพัฒนานิคม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ลพบุรี เขต 2 มีความสัมพันธ์ทางบวกสูงกับประสิทธิผลของสถานศึกษาในระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
Title: Model HCH: WANWIMON MODEL united heart towards management
Participative
Researcher: Mrs. Wanwimon Thongngam
Count Unit: Chumchonbankaengsuaten, School Office of Lopburi Primary
Educational Service Area 2, Office of the Basic Education Commission
Issue Date: 2020 - 2022
ABSTRACT
The objectives of this research were 1) to study the management with the HCH model: WANWIMON MODEL, united heart towards participative management of educational institution administrators; 2) to study the effectiveness of educational institutions; 3) to study the relationship between self-management Contribute to the effectiveness of the school. The sample groups used in this study were administrators, teachers and school committees of the Pattana Nikhom School Group of 9 schools under the Office of Lopburi Primary Educational Service Area 2, 121 students were drawn using a simple random sampling method from the Krejcie and Morgan sample comparison tables. Research tools was a 5-level estimation scale questionnaire. The statistics used for data analysis were mean ( ), standard deviation (S.D.), and Pearson product-moment correlation.
The results of the research found that
1. Management with HCH model: WANWIMON MODEL united mind towards participatory management of educational institution administrators overall at the highest level.
2. The effectiveness of educational institutions overall and each aspect is at the highest level.
3. Management with the HCH model: WANWIMON MODEL unites the mind towards participatory management of educational institution administrators. According to the opinions of the administrators, teachers and the board of educational institutions of the Phatthana Nikhom School Group Under the Office of Lopburi Primary Educational Service Area 2. There was a positive relationship with the effectiveness of higher education institutions statistically significant at the .01 level.
Keywords: participatory management, effectiveness of educational institutions
บทนำ
สภาพปัจจุบันของสังคมโลกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทั้งเรื่องสภาพแวดล้อม สังคม เศรษฐกิจ การเมือง ศาสนา และครอบครัว วิถีชีวิตมีแนวโน้มไปในทางที่วิกฤติ เราจะพบปัญหาต่างๆ มากมายและมีแนวโน้มที่จะเกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่เลวร้ายลง หรือมีวิกฤตการณ์ที่รุนแรงมากขึ้นไม่ว่าจะเป็นปัญหาภาวะโลกร้อน ภัยคุกคามจากสภาวะอากาศ ความเปลี่ยนแปลงของบรรยากาศในโลก การแพร่กระจายของโรคระบาด ทั้งที่เคยเกิดมาแล้วและโรคระบาดอุบัติใหม่ ปัญหาสงคราม ภัยจากการก่อการร้ายและความขัดแย้ง สภาพเศรษฐกิจตกต่ำ ศีลธรรมเสื่อม จนเกิดปัญหาที่ตามมาจากกระแสโลกาภิวัตน์ กระแสวัตถุนิยมและบริโภคนิยม จากสภาพปัญหาการเปลี่ยนแปลง แนวโน้ม ความท้าทายที่กล่าวมา ทำให้องค์การต่างๆ ทั้งภาคราชการ รัฐวิสาหกิจ และธุรกิจต้องปรับตัว ต้องแสวงหาวิธีการบริหารจัดการ เพื่อสามารถเผชิญหน้าฝ่าฟันวิกฤตในปัจจุบัน และพร้อมรับกับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอนาคต (รัตติกรณ์ จงวิศาล, 2556: 65)
นอกจากนี้ การปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่21 (พ.ศ.2552-2561) รัฐบาลได้มุ่งเน้นให้คนไทยได้เรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพ โดยมีเป้าหมายหลัก 3 ประการ คือ พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา และเรียนรู้ของคนไทย เพิ่มโอกาสทางการศึกษาและเรียนรู้อย่างทั่วถึงมีคุณภาพและส่งเสริมการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนของสังคมในการบริหารและจัดการศึกษา รวมทั้งมีกรอบแนวทางปฏิรูปการศึกษา 4 ประการ คือ 1) พัฒนาคุณภาพคนไทยยุคใหม่ 2) พัฒนาคุณภาพครูยุคใหม่ 3) พัฒนาคุณภาพสถานศึกษาและแหล่งเรียนรู้ยุคใหม่ และ 4) พัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการใหม่ (สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา, 2552: 4) นอกจากนี้ นโยบายและเจตนารมณ์การปฏิรูปการศึกษาของรัฐให้ความสำคัญกับความร่วมมือของทุกภาคส่วนในการจัดการศึกษา พร้อมทั้งวางยุทธศาสตร์ระยะยาวและระบบการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง หรือปฏิรูปการศึกษาให้ดีขึ้นภายใต้แนวคิดรวมพลังความร่วมมือของทุกภาคส่วนเพื่อการศึกษา ร่วมคิดร่วมทำร่วมรับผิดชอบร่วมสร้างการเปลี่ยนแปลงให้ดีขึ้นและเกิดขึ้นจริงบนพื้นที่ (สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา, 2558: ก)
ต่อมา ปี 2563 ได้เกิดสถานการณ์การระบาดเชื้อไวรัสโควิด -19 เกิดขึ้นในช่วงที่สถานศึกษาปิดภาคเรียน โดยในช่วงต้นเดือนเมษายน 2563 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้เลื่อนวันเปิดเทอมภาคเรียนที่ 1 ไปเป็นวันที่ 1 เดือน กรกฎาคม พ.ศ. 2563 ประเทศไทยจึงมีการทบทวนบทเรียนจากต่างประเทศ เพื่อเตรียมตัวให้พร้อมในการจัดการเรียนการสอนรูปแบบใหม่ที่สอดรับกับมาตรการป้องกันการระบาด ทำให้การจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนในสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประถมศึกษาลพบุรี เขต 2 ต้องงดเว้นการจัดการเรียนแบบ face to face ในห้องเรียน ปรับเปลี่ยนมาเป็นการเรียนการสอนแบบออนไลน์ ตามนโยบายของรัฐบาลและนโยบายของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ซึ่งการปรับเปลี่ยนดังกล่าวเป็นการปรับเปลี่ยนกะทันหัน ไม่มีการเตรียมการก่อนล่วงหน้า วิกฤติ COVID-19 จึงเป็นสัญญาณเตือนภัยที่ชี้ให้เห็นว่า ภาคการศึกษาต้องปรับตัวอยู่ตลอดเวลา ต้องเตรียมการเพื่อรับมือกับสถานการณ์ที่ผลกระทบรุนแรงในระยะสั้น ซึ่งทุกภาคส่วนจำเป็นต้องเตรียมตัวเพื่อรับมือกับความท้าทายในระยะยาวที่กำลังเกิดขึ้นที่จะเกิดขึ้นกับเยาวชนของชาติเหล่านี้ ไม่เช่นนั้นแล้วประเทศไทยอาจได้รับผลกระทบเชิงลบอย่างมหาศาลในอนาคต (มูลนิธิคีนันแห่งเอเชีย, 2563) ผู้กำหนดนโยบายด้านการศึกษาจึงต้องพิจารณาช่องทางการเรียนรู้อื่นๆทดแทน ครูอาจารย์จะต้องได้รับการปรับมุมมองต่อการเรียนการสอนผ่านการฝึกอบรม เรียนรู้เทคนิค กระตุ้นความอยากรู้อยากเห็นของนักเรียนและประยุกต์ใช้สื่อการเรียนการสอนและเทคโนโลยีที่จำเป็นสำหรับการศึกษาในศตวรรษที่ 21 ได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ครูอาจารย์จะต้องเป็นผู้ที่แสวงหาองค์ความรู้ใหม่ๆและหมั่นเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ เพื่อนำมาปรับให้เข้ากับกระบวนทัศน์ใหม่ ครู อาจารย์จะต้องได้รับการติดอาวุธให้สามารถมีกระบวน การสอนที่เน้นผลลัพธ์ขั้นสูง (High-impact teaching practices) (ราชบัณฑิตยสภา: 2563)
การบริหารงานแบบมีส่วนร่วม เป็นการระดมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีประสบการณ์เพื่อร่วมกันจัดการศึกษา ให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการศึกษาและการตัดสินใจด้วยความโปร่งใส สามารถตรวจสอบได้ รวมทั้งส่งเสริมให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ในการพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนเช่นกัน (อุทัย บุญประเสริฐ 2545: 49) การบริหารแบบมีส่วนร่วมจึงเป็นการต่อยอดรูปแบบการบริหารราชการเน้นความสำคัญของขวัญในการทำงานและความพึงพอใจในการทำงานของผู้ทำงานมากขึ้น ซึ่งจะส่งผลต่อผลผลิตของผู้ปฏิบัติงานให้สูงขึ้น (สุนทร โคตรบรรเทา, 2551: 114)
ผู้วิจัยในฐานะผู้บริหารโรงเรียนชุมชนบ้านแก่งเสือเต้น ตระหนักถึงความสำคัญด้านการการศึกษา และความจำเป็นของการปรับแนวทางการเรียนการสอนที่ครูและผู้บริหารต้องปรับบทบาทในการสอน การบริหาร รวมทั้งปรับวิธีการสอน การจัดสภาพแวดล้อมทางการเรียนรู้ ซึ่งผู้วิจัยได้บริหารสถานศึกษาโดยยึดหลักการบริหารและเทคนิคการบริหารแบบมีส่วนร่วม รูปแบบ HCH: ใจรวมใจสู่การบริหารแบบมีส่วนร่วม นำมาประยุกต์ใช้การบริหารแบบมีส่วนร่วมในสถานศึกษา ให้ผู้ร่วมปฏิบัติงานได้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ร่วมรับผิดชอบ และให้ความร่วมมือในการพัฒนาและปฏิบัติงานด้วยความเต็มใจ ซึ่งจากเหตุผลดังกล่าวข้างต้น ผู้วิจัยจึงนำตัวแปรสำคัญที่ผู้วิจัยได้จากการศึกษา วิเคราะห์และสังเคราะห์เกี่ยวกับการบริหารแบบมีส่วนร่วมจากทัศนะของนักวิชาการ ได้จำนวน 8 ตัวแปร มาปรับใช้ให้สอดคล้องกับการบริหารสถานศึกษาตามหลักการบริหารและเทคนิคการบริหารแบบมีส่วนร่วม และเปลี่ยนชื่อรูปแบบจาก HCH: ใจรวมใจสู่การบริหารแบบมีส่วนร่วม เป็นรูปแบบ HCH: WANWIMON MODEL ใจรวมใจสู่การบริหารแบบมีส่วนร่วม เพื่อทำการศึกษาวิจัยในครั้งนี้
วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1. เพื่อศึกษาระดับการบริหารด้วยรูปแบบ HCH: WANWIMON MODEL ใจรวมใจสู่การบริหารแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารสถานศึกษา
2. เพื่อศึกษาระดับประสิทธิผลของสถานศึกษา จากการบริหารด้วยรูปแบบ HCH: WANWIMON MODEL ใจรวมใจสู่การบริหารแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารสถานศึกษา
3. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารด้วยรูปแบบ HCH: WANWIMON MODEL การบริหารแบบมีส่วนร่วมต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา
สมมุติฐานงานวิจัย
1. การบริหารรูปแบบ HCH: WANWIMON MODEL ใจรวมใจสู่การบริหารแบบมีส่วนร่วม มีความสัมพันธ์ทางบวกกับประสิทธิผลของสถานศึกษา
2. การบริหารรูปแบบ HCH: WANWIMON MODEL ใจรวมใจสู่การบริหารแบบมีส่วนร่วม ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา