การประเมินในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินโครงการส่งเสริมการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนวัดศรีวิสุทธาราม (วิไลราษฎร์อุปถัมภ์) ปีการศึกษา 2564 โดยประยุกต์ใช้รูปแบบการประเมินซิปป์ (CIPP Model) ของสตัฟเฟิลบีม (Stufflebeam) ซึ่งกำหนดเป็นวัตถุประสงค์ย่อย 4 ด้าน ได้แก่ 1) เพื่อประเมินด้านบริบท (Context) ของโครงการ 2) เพื่อประเมินด้านปัจจัยนำเข้า (Input) ของโครงการ 3) เพื่อประเมินด้านกระบวนการ (Process) ของโครงการ 4) เพื่อประเมินด้านผลผลิต (Product ) ของโครงการ ซึ่งในการประเมินครั้งนี้ ประชากร ประกอบด้วย ครู/บุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน นักเรียน และผู้ปกครองของโรงเรียนวัดศรีวิสุทธาราม (วิไลราษฎร์อุปถัมภ์) ปีการศึกษา 2564 จำนวน 1,485 คน โดยกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 579 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล มี 4 ประเภท ได้แก่ 1) แบบสัมภาษณ์ 2) แบบสอบถาม 3) แบบทดสอบ 4) แบบประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ความถี่และค่าร้อยละ ซึ่งผลการประเมิน มีดังนี้
1. ด้านบริบท (Context)
1.1 ประเด็นความต้องการจำเป็นของโครงการ พบว่า โรงเรียนวัดศรีวิสุทธาราม (วิไลราษฎร์อุปถัมภ์) มีความจำเป็นที่ต้องจัดทำโครงการส่งเสริมการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เนื่องจากว่าหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเป็นหลักการที่สามารถนำมาประยุกต์ ใช้ได้กับสังคมทุกสมัย โดยยึดหลักคุณธรรมในการดำรงชีวิต การมีเหตุผล การมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี และความพอเพียง เนื่องจากในสังคมปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในทุกด้าน เป็นสังคม แห่งการบริโภคเทคโนโลยีและการสื่อสารจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่คนทุกระดับจะต้องมีสติและภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี และนอกจากนี้หน่วยงานต่าง ๆ อาทิเช่น กระทรวงศึกษาธิการได้กำหนดนโยบายในการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา ซึ่งจะเห็นได้จากการกำหนดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน อยู่อย่างพอเพียง ในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้กำหนดกลยุทธ์การปลูกฝังคุณธรรม ความสำนึกในความเป็นชาติไทย และวิถีชีวิตตามหลักของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อเป็นกรอบแนวทางให้หน่วยงาน และสถานศึกษาในสังกัดใช้เป็นแนวทางในการขับเคลื่อนสู่สถานศึกษา ซึ่งมุ่งเน้นการจัดกระบวนการเรียนการสอนและการบริหารจัดการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
1.2 ประเด็นความสอดคล้องเหมาะสมของโครงการ พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ โครงการมีความสอดคล้องเหมาะสมกับสภาพปัญหา ความต้องการของนักเรียน ผู้ปกครอง และชุมชน รองลงมา ได้แก่ หลักการและเหตุผลของโครงการมีความสอดคล้องเหมาะสมกับนโยบายของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และกิจกรรมโครงการมีความสอดคล้องเหมาะสมกับหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน
1.3 ประเด็นความเป็นไปได้ของโครงการ พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ แนวทางปฏิบัติตามโครงการมีความชัดเจนและเหมาะสม รองลงมา ได้แก่ โครงการมีความสำคัญเข้ากับสถานการณ์ของสังคมในปัจจุบัน และโรงเรียนมีศักยภาพและทรัพยากรเพียงพอต่อการดำเนินการโครงการ
2. ด้านปัจจัยนำเข้า (Input)
2.1 ประเด็นความพร้อมของบุคลากร พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ คณะกรรมการกิจกรรมเป็นผู้มีความพร้อมและกระตือรือร้นในการปฏิบัติกิจกรรม รองลงมา ได้แก่ ได้การสนับสนุนในการดำเนินกิจกรรมจากภูมิปัญญาท้องถิ่น/วิทยากรภายนอก และบุคลากรในโรงเรียนมีจำนวนเพียงพอในการรับผิดชอบกิจกรรม
2.2 ประเด็นความพร้อมของทรัพยากร พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ อาคารสถานที่เหมาะสมและมีการเตรียมความพร้อม รองลงมา ได้แก่ วัสดุอุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องใช้มีเพียงพอและมีคุณภาพ ซึ่งมีค่าเฉลี่ยเท่ากับสถานที่ดำเนินกิจกรรมเพียงพอ และเหมาะสม และแหล่งเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงเอื้อต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน
3. ด้านกระบวนการ (Process)
3.1 กิจกรรมบูรณาการการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ การดำเนินกิจกรรมเป็นไปตามกรอบระยะเวลาที่กำหนด รองลงมา ได้แก่ การดำเนินกิจกรรมเป็นไปตามขั้นตอนที่กำหนด และคณะทำงานและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องให้ความร่วมมือในการดำเนินกิจกรรม
3.2 กิจกรรม ศาสตร์พระราชา เสริมสร้างปัญญา พัฒนาคุณธรรม โดยภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ มีการกำหนดบทบาทหน้าที่ของคณะทำงาน รองลงมา ได้แก่ คณะทำงานและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องให้ความร่วมมือในการดำเนินกิจกรรม และมีการสรุปผล การดำเนินกิจกรรมโครงการและแจ้งทุกฝ่ายที่มีส่วนเกี่ยวข้องทราบ
3.3 กิจกรรม ถี่ถ้วนในการบริโภค โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ การดำเนินกิจกรรมเป็นไปตามขั้นตอนที่กำหนด รองลงมา ได้แก่ คณะทำงานและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องให้ความร่วมมือในการดำเนินกิจกรรม และมีการนิเทศติดตามงานอย่างเป็นระบบและมีส่วนร่วมของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ซึ่งมีค่าเฉลี่ยเท่ากับมีการสรุปผลการดำเนินกิจกรรมโครงการและแจ้งทุกฝ่ายที่มีส่วนเกี่ยวข้องทราบ
3.4 กิจกรรม รักษ์โลกด้วยสมุนไพร โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ มีการสรุปผลการดำเนินกิจกรรมโครงการและแจ้งทุกฝ่ายที่มีส่วนเกี่ยวข้องทราบ รองลงมา ได้แก่ ผู้บริหารให้ความสำคัญและสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง และมีการประชุมชี้แจงแนวปฏิบัติกิจกรรมแก่ผู้เกี่ยวข้องทราบ
3.5 กิจกรรม ใส่ใจการออม โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ มีการประชุมวางแผนการดำเนินงานตามกิจกรรม รองลงมา ได้แก่ การดำเนินกิจกรรมเป็นไปตามขั้นตอนที่กำหนด และมีการสรุปผลการดำเนินกิจกรรมโครงการและแจ้งทุกฝ่ายที่มีส่วนเกี่ยวข้องทราบ
3.6 กิจกรรม รักษาสภาวะแวดล้อมภายในโรงเรียน โดยภาพรวมอยู่ในระดับ มากที่สุด ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมินทุกข้อ ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ คณะทำงานและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องให้ความร่วมมือในการดำเนินกิจกรรม รองลงมา ได้แก่ การดำเนินกิจกรรมเป็นไปตามขั้นตอนที่กำหนด ซึ่งมีค่าเฉลี่ยเท่ากับนำสารสนเทศจากการนิเทศกำกับติดตามไปปรับปรุงการดำเนินกิจกรรม และมีการสรุปผลการดำเนินกิจกรรมโครงการและแจ้งทุกฝ่ายที่มีส่วนเกี่ยวข้องทราบ
4. ด้านผลผลิต (Product )
4.1 ประเด็นความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของนักเรียน พบว่า คะแนนจากการทดสอบความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของนักเรียนโรงเรียนวัดศรีวิสุทธาราม (วิไลราษฎร์อุปถัมภ์) ชั้นที่ได้คะแนนเฉลี่ยสูงสุด 3 อันดับแรก จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน ได้แก่ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3.2 ซึ่งได้คะแนนเฉลี่ย 8.86 คิดเป็นร้อยละ 88.64 รองลงมา คือ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6.1 ซึ่งได้คะแนนเฉลี่ย 8.68 คิดเป็นร้อยละ 86.82 และชั้นประถมศึกษาปีที่ 5.2 ซึ่งได้คะแนนเฉลี่ย 8.55 คิดเป็นร้อยละ 85.45 หากพิจารณาในภาพรวมทั้งโรงเรียน พบว่า มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 8.38 ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 83.83 โดยมีจำนวนนักเรียนที่ได้คะแนนมากกว่าคะแนนเฉลี่ยของห้อง จำนวน 143 คน ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 54.17 ของจำนวนนักเรียนทั้งหมด
4.2 ประเด็นการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในชีวิตประจำวัน พบว่า ครู/บุคลากรทางการศึกษา นักเรียน ผู้ปกครองและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 579 คน มีการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในชีวิตประจำวัน จำนวน 579 คน ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 100 หากพิจารณาหลักการที่มีการนำไปใช้มากที่สุด 3 อันดับแรก คือ หลักที่ 6 หลักการออมและลด การกู้ยืมที่ไม่จำเป็นแก่การดำรงชีวิต มีผู้นำไปใช้ จำนวน 354 คน คิดเป็นร้อยละ 61.16 รองลงมาได้แก่ หลักที่ 4 หลักการดำรงชีวิตที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมและวิถีชีวิตของชุมชน มีผู้นำไปใช้ จำนวน 328 คน คิดเป็นร้อยละ 56.65 และหลักที่ 2 หลักความประหยัด ลดทอนค่าใช้จ่ายและความฟุ่มเฟือย ในการดำรงชีพ มีผู้นำไปใช้จำนวน 316 คน คิดเป็นร้อยละ 554.58 ซึ่งสอดคล้องกับแบบสอบถามปลายเปิด ซึ่งพบว่า ครู/บุคลากรทางการศึกษา นักเรียน ผู้ปกครองและคณะกรรมการสถานศึกษา ขั้นพื้นฐาน มีการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในชีวิตประจำวัน เรียงตามลำดับ ดังนี้ 1) มีการออมทรัพย์ไว้เพื่อเป็นทุนการศึกษาให้ลูกหลานและเป็นค่ารักษาโรคในยามจำเป็น 2) มีการปลูกพืชผักสวนครัว และเลี้ยงสัตว์ เช่น ไก่ ปลา กบ ไว้รับประทานเอง เพื่อเป็นการลดค่าใช้จ่ายในครอบครัว 3) มีการวางแผนใช้จ่ายเงินในครอบครัวไม่ใช้จ่ายเกินความจำเป็น
4.3 ประเด็นคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของนักเรียน พบว่า นักเรียนโรงเรียนวัดศรีวิสุทธาราม (วิไลราษฎร์อุปถัมภ์) ที่เป็นกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด จำนวน 264 คน ไม่มีนักเรียนคนใดที่มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ อยู่อย่างพอเพียง ในระดับไม่ผ่าน โดยนักเรียนที่มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ในระดับผ่าน จำนวน 9 คน ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 3.41 คุณลักษณะอันพึงประสงค์ในระดับดี มีจำนวน 107 คน ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 40.53 และมีคุณลักษณะ อันพึงประสงค์ในระดับดีเยี่ยม มีจำนวน 148 คน ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 56.06 ซึ่งเมื่อพิจารณาจำนวนนักเรียนที่มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ในระดับในระดับดีขึ้นไป พบว่า มีจำนวน 255 คน ซึ่งคิดเป็น ร้อยละ 96.59