การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเมืองพัทยา 11 (มัธยมสาธิตพัทยา) หลังการใช้แผนการจัดการเรียนรู้แบบรวมพลัง 5 ขั้นตอน ร่วมกับเทคนิคการแก้ปัญหาเป็นฐาน ด้วยการพัฒนาบทเรียนร่วมกันผ่านชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ กลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/4 จำนวน 37 คน ผ่านชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ประกอบด้วย ครูผู้สอน เพื่อนคู่คิด หัวหน้างานวิชาการ ร่วมกับรองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ ร่วมปฏิบัติการชี้แนะและสอนงานแบบพี่เลี้ยงผ่านการพัฒนาบทเรียนกับผู้วิจัย เครื่องมือทดลอง คือ แผนการจัดการเรียนรู้แบบรวมพลัง 5 ขั้นตอน ร่วมกับเทคนิคการแก้ปัญหาเป็นฐาน ด้วยการพัฒนาบทเรียนร่วมกันผ่านชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ จำนวน 3 แผนการจัดการเรียนรู้ เครื่องเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ โดยใช้สถิติค่าเฉลี่ยและวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลจากการวิจัยพบว่า
จากผลการวิจัย พบว่า หลังจากจัดการเรียนรู้แบบรวมพลัง 5 ขั้นตอน ร่วมกับเทคนิคการแก้ปัญหาเป็นฐานเรื่อง การบวกลบเมทริกซ์ ด้วยการพัฒนาบทเรียนร่วมกันผ่านชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเมืองพัทยา 11 (มัธยมสาธิตพัทยา) ทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ในการจัดการเรียนรู้แบบรวมพลัง 5 ขั้นตอน ร่วมกับเทคนิคการแก้ปัญหาเป็นฐานเรื่อง การบวกลบเมทริกซ์ ของ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/4 ก่อนการพัฒนาบทเรียนมีคะแนนเฉลี่ย 8.03 คะแนนร้อยละ 40.14 หลังการพัฒนาบทเรียนมีคะแนนเฉลี่ย 16.97 มีคะแนนร้อยละ 84.86 ซึ่งสูงกว่าก่อนการพัฒนาบทเรียน และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/3 ก่อนพัฒนาบทเรียนมีคะแนนเฉลี่ย 6.55 มีคะแนนร้อยละ 32.75 หลังพัฒนาบทเรียนมีคะแนนเฉลี่ย 17.50 มีคะแนนร้อยละ 87.50 ซึ่งสูงกว่าก่อนการพัฒนาบทเรียน ผ่านเกณฑ์การประเมิน อยู่ในระดับดี สอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้ และจากการสะท้อนคิดของนักเรียน พบว่า มีความเข้าใจในเรื่องที่เรียน หาผลบวกลบเมทริกซ์ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ใช้กระบวนการตอบคำถามและแสดงความคิดเห็นในห้องเรียนได้ดี นักเรียนมีความมั่นใจในการเรียนรู้พร้อมมีการเรียนรู้ รู้สึกสนุกต่อการเรียนและได้เรียนรู้อย่างมีความสุข ผู้เรียนได้รับความรู้ กระบวนการทำงานเป็นกลุ่ม และนักเรียนมีสุนทรียในการเรียนรู้ มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ที่ดี
คำถามวิจัย
ผลการใช้กระบวนการเรียนรู้เชิงรุกแบบรวมพลัง 5 ขั้นตอน ร่วมกับเทคนิคการแก้ปัญหาเป็นฐาน ด้วยการพัฒนาบทเรียนร่วมกันผ่านชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง การบวกลบเมทริกซ์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเมืองพัทยา 11 (มัธยมสาธิตพัทยา) สูงขึ้นหรือไม่
วัตถุประสงค์การวิจัย
เพื่อศึกษาผลการใช้กระบวนการเรียนรู้เชิงรุกแบบรวมพลัง 5 ขั้นตอน ร่วมกับเทคนิคการแก้ปัญหาเป็นฐาน ด้วยการพัฒนาบทเรียนร่วมกันผ่านชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง การบวกลบเมทริกซ์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเมืองพัทยา 11 (มัธยมสาธิตพัทยา)
สมมติฐานการวิจัย
การใช้กระบวนการเรียนรู้เชิงรุกแบบรวมพลัง 5 ขั้นตอน ร่วมกับเทคนิคการแก้ปัญหาเป็นฐาน ด้วยการพัฒนาบทเรียนร่วมกันผ่านชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง การบวกลบเมทริกซ์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเมืองพัทยา 11 (มัธยมสาธิตพัทยา) สูงขึ้น
ขอบเขตการวิจัย
กลุ่มเป้าหมาย
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/3 และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/4 โรงเรียนเมืองพัทยา 11 (มัธยมสาธิตพัทยา) ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 77 คน
ตัวแปรที่ศึกษา
ตัวแปรต้น คือ การจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยการใช้กระบวนการเรียนรู้เชิงรุกแบบรวมพลัง 5 ขั้นตอน ร่วมกับเทคนิคการแก้ปัญหาเป็นฐาน ด้วยการพัฒนาบทเรียนร่วมกันผ่านชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ
ตัวแปรตาม คือ เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง การบวกลบเมทริกซ์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/3 และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/4 โรงเรียนเมืองพัทยา 11 (มัธยมสาธิตพัทยา)
เนื้อหาวิชา
กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ รายวิชาคณิตศาสตร์เพิ่มเติม รหัส ค32201 หน่วยการเรียนรู้เรื่อง เมทริกซ์ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565
นิยามศัพท์
ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ คือ การรวมกลุ่มกันของผู้สอน และบุคลากรทางการศึกษาในลักษณะของชุมชนเชิงวิชาชีพที่มีเป้าหมายเพื่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาโดยใช้กระบวนการเรียนรู้การปฏิบัติ การถอดบทเรียน และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันอย่างต่อเนื่อง ซึ่งชุมชนแห่งการเรียนรู้ มีลักษณะเฉพาะดังนี้
1) การแลกเปลี่ยนวิสัยทัศน์ของผู้ร่วมวิชาชีพและผู้เกี่ยวข้อง 2) มีวัฒนธรรมการร่วมพลังเป็นการร่วมมือร่วมพลังของผู้บริหาร ผู้สอน ผู้เชี่ยวชาญ นักวิชาการ ชุมชน
3) เป็นการให้ความสำคัญต่อการเรียนรู้ของนักเรียนหรือผลการเรียนรู้ของนักเรียน
4) มีการแนะนำโดยผู้เชี่ยวชาญรวมทั้งการศึกษาแบบเยี่ยมเยียน เพื่อเปิดโลกทัศน์
5) มีการสะท้อนคิดด้วยสุนทรียสนทนา โดยเน้นที่ผลลัพธ์ของนักเรียน
การพัฒนาบทเรียนร่วมกัน คือ การพัฒนาครูวิชาชีพที่ว่าด้วย การพัฒนาตนเองของครูในบริบทการทำงานจริงในชั้นเรียนและในโรงเรียนของตน ผ่านการทำงานแบบรวมพลังของชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ซึ่งดำเนินงาน โดยร่วมกันเลือกบทเรียนที่ต้องสอนมาทำการศึกษาตามขั้นตอนของกระบวนการ พัฒนาบทเรียนร่วมกันประกอบด้วย
1) Analyze เป็นการวิเคราะห์แบบรวมพลังหน่วยการเรียนรู้ ในรายวิชาคณิตศาสตร์เพิ่มเติม รหัส ค32201 หน่วยการเรียนรู้เรื่อง เมทริกซ์ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565
2) Plan เป็นการออกแบบและเขียนแผนการจักการเรียนรู้อย่างรวมพลังเน้นกระบวนการ
เรียนรู้แบบรวมพลัง 5 ขั้นตอนร่วมกับเทคนิคคิดเดี่ยว คิดคู่ คิดร่วมกัน
3) Do & See เป็นขั้นตอนที่ผู้วางแผนปฏิบัติการเรียนการสอนตามแผนฯ โดยมีชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพรวมพลังสังเกตพฤติกรรมการเรียนของกลุ่มนักเรียนที่จัดแบบคละเพศและคละความสามารถ
4) Reflect เป็นขั้นที่ครูผู้วางแผนและชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพรวมพลังสะท้อนคิดด้วยการสนทนาแบบสุนทรียสนทนา โดยเน้นที่ผลลัพธ์ของนักเรียน
5) Redesign เป็นขั้นที่ชุมชนแห่งการเรียนรู้นำข้อมูลข้อคิดจากการสะท้อนคิดแบบรวมพลังมาแนะนำให้ผู้สอนปรับแผนการจัดการเรียนรู้การเรียนรู้ในฉบับนั้นและแนะนำเพิ่มเติมเกี่ยวกับองค์ประกอบของการเขียนแผนฯ โดยเฉพาะการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ใหม่เพื่อแก้ปัญหานักเรียนให้ได้ผลลัพธ์ตามกำหนด ซึ่งผู้สร้างแผนฯ ใช้เป็นเครื่องมือทดลองเพื่อทดสอบผลที่เกิดขึ้นอีก 2 3 ครั้ง แล้วตรวจสอบผลการทดลอง ซึ่งเป็นการทำวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนอันจะได้แนวทางใหม่นวัตกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาตนเองอีกทั้งใช้เผยแพร่ในชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ
กระบวนการเรียนรู้แบบรวมพลัง 5 ขั้นตอน เป็นแนวการสอนหนึ่ง ของการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เน้นให้ผู้เรียนสร้างความรู้ด้วยตนเองรวมทั้งประยุกต์ความรู้ได้บนฐานวิธีการทางวิทยาศาสตร์นักเรียนมีการปฏิบัติ กิจกรรมแบบทำงานกลุ่มรวมพลังโดยทุกคนร่วมด้วยช่วยกันเด็กเก่งช่วยเด็ก เรียนช้ากว่าเด็กถนัดกว่าช่วยเด็กถนัดน้อยกว่าเพื่อให้มีความสุขในการเรียนบทบาทของผู้เรียนเป็นผู้เรียนรู้ ส่วนบทบาทของครูเป็นผู้อำนวยความสะดวก
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ คือ คะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ ในรายวิชาคณิตศาสตร์เพิ่มเติม รหัส ค32201 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 โดยวัดจากผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง การบวกลบเมทริกซ์ ของนักเรียน หลังใช้กระบวนการเรียนรู้เชิงรุกแบบรวมพลัง 5 ขั้นตอน ร่วมกับเทคนิคการแก้ปัญหาเป็นฐาน ด้วยการพัฒนาบทเรียนร่วมกันผ่านชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเมืองพัทยา 11 (มัธยมสาธิตพัทยา) สร้างโดยผู้วิจัย
สรุปผลการวิจัยในชั้นเรียน
การศึกษาวิจัยในชั้นเรียน เรื่อง ผลการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้การใช้กระบวนการเรียนรู้เชิงรุกแบบรวมพลัง 5 ขั้นตอนร่วมกับเทคนิคการแก้ปัญหาเป็นฐาน ด้วยการพัฒนาบทเรียนร่วมกันผ่านชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง การบวกลบเมทริกซ์ โดยมีกลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 77 คน โรงเรียนเมืองพัทยา 11 (มัธยมสาธิตพัทยา) ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565
ผลการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้การใช้กระบวนการเรียนรู้เชิงรุกแบบรวมพลัง 5 ขั้นตอนร่วมกับเทคนิคการแก้ปัญหาเป็นฐาน ร่วมกัน ด้วยการพัฒนาบทเรียนร่วมกันผ่านชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง การบวกลบเมทริกซ์ โดยมีกลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเมืองพัทยา 11 (มัธยมสาธิตพัทยา) ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 การเปรียบเทียบก่อนและหลัง หลังพัฒนาบทเรียนมีคะแนนผลการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง การบวกลบเมทริกซ์ ของนักเรียนโรงเรียนเมืองพัทยา 11 (มัธยมสาธิตพัทยา) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/4 ก่อนการพัฒนาบทเรียนมีคะแนนเฉลี่ย 8.03 คะแนนร้อยละ 40.14 หลังการพัฒนาบทเรียนมีคะแนนเฉลี่ย 16.97 มีคะแนนร้อยละ 84.86 ซึ่งสูงกว่าก่อนการพัฒนาบทเรียน และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/3 ก่อนพัฒนาบทเรียนมีคะแนนเฉลี่ย 6.55 มีคะแนนร้อยละ 32.75 หลังพัฒนาบทเรียนมีคะแนนเฉลี่ย 17.50 มีคะแนนร้อยละ 87.50 ซึ่งสูงกว่าก่อนการพัฒนาบทเรียน
อภิปรายผลการวิจัยในชั้นเรียน
จากการศึกษาวิจัยในชั้นเรียน เรื่อง ผลการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยการใช้กระบวนการเรียนรู้เชิงรุกแบบรวมพลัง 5 ขั้นตอนร่วมกับเทคนิคการแก้ปัญหาเป็นฐาน ร่วมกัน ด้วยการพัฒนาบทเรียนร่วมกันผ่านชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง การบวกลบเมทริกซ์ โดยมีกลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/3 และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/4 โรงเรียนเมืองพัทยา 11 (มัธยมสาธิตพัทยา) มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง การบวกลบเมทริกซ์ ในรายวิชาคณิตศาสตร์เพิ่มเติม รหัส ค32201 หน่วยการเรียนรู้เรื่อง เวกเตอร์เมทริกซ์ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 โดยมีกลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/3 และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/4 โรงเรียนเมืองพัทยา 11 (มัธยมสาธิตพัทยา) จำนวน 77 คน ตามหลักการใช้กระบวนการเรียนรู้เชิงรุกแบบรวมพลัง 5 ขั้นตอนร่วมกับเทคนิคการแก้ปัญหาเป็นฐาน ด้วยการพัฒนาบทเรียนร่วมกันผ่านชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ