การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ (๑) เพื่อสร้างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-BOOKS) ชุด สงขลาบ้านเรา วิชาภาษาไทยพื้นฐาน ๕ ท๒๓๑๐๑ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ ๘๐/๘๐ (๒) เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-BOOKS) ชุด สงขลาบ้านเรา วิชาภาษาไทยพื้นฐาน ๕ ท๒๓๑๐๑ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ (๓) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-BOOKS) ชุด สงขลาบ้านเรา วิชาภาษาไทยพื้นฐาน ๕ ท๒๓๑๐๑ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ (๔) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ ที่มีต่อการเรียนรู้ด้วยหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-BOOKS) ชุด สงขลาบ้านเรา
กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยในครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓/๒ โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัยสมบูรณ์กุลกันยา อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต ๑๖ ปีการศึกษา ๒๕๖๓ จำนวน ๔๐ คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ซึ่งเป็นนักเรียนห้องที่ผู้ศึกษาสอน
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ (๑) หนังสือหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-BOOKS) ชุด สงขลาบ้านเรา วิชาภาษาไทยพื้นฐาน ๕ ท๒๓๑๐๑ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ ที่ผู้ศึกษาสร้างขึ้น จำนวน ๖ เล่ม (๒) คู่มือการใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-BOOKS) ชุด สงขลาบ้านเรา เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความ วิชาภาษาไทยพื้นฐาน ๕ ท๒๓๑๐๑ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ (๓) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเป็นแบบทดสอบเลือกตอบ ชนิด ๔ ตัวเลือก (๔) แบบทดสอบท้ายเรื่องหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-BOOKS) ชุด สงขลาบ้านเรา จำนวน ๖ ฉบับ ฉบับละ ๑๐ ข้อ รวม ๖๐ ข้อ (๕) แบบวัดความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้ด้วยหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-BOOKS) ชุด สงขลาบ้านเรา
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ ดัชนีประสิทธิผล และ t-test (Dependents Samples)
ผลการวิจัย ปรากฏดังนี้
๑. หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-BOOK) ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น มีประสิทธิภาพของกระบวนการ เท่ากับ ๘๘.๓๓ และประสิทธิภาพของผลลัพธ์ เท่ากับ ๘๖.๖๓ แสดงว่า หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-BOOKS) ที่ผู้ศึกษาสร้างขึ้นมีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ ๘๐/๘๐ ที่ตั้งไว้
๒. ค่าดัชนีประสิทธิผลหลังเรียน มีค่าเท่ากับ ๐.๗๘๙๒ แสดงว่าหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-BOOKS) ที่ผู้ศึกษาสร้างขึ้น ทำให้ผู้เรียนมีความรู้เพิ่มขึ้น ๐.๗๘๙๒ หรือคิดเป็นร้อยละ ๗๘.๙๒
๓. การเปรียบเทียบคะแนนทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยหนังสือหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-BOOKS) ชุด สงขลาบ้านเรา มีคะแนนทดสอบหลังเรียนสูงกว่าคะแนนก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๑
๔. ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ ที่มีต่อการเรียนโดยใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-BOOKS) ชุด สงขลาบ้านเรา วิชาภาษาไทยพื้นฐาน ๕ ท๒๓๑๐๑ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ พบว่า นักเรียนส่วนใหญ่มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยร้อยละทุกรายการ (%) เท่ากับ ๙๓.๑๑ ทั้งนี้อาจเป็นเพราะการจัดทำสื่อมาใช้ประกอบการสอน เป็นไปตามหลักการตามหลักจิตวิทยาการเรียนรู้สำหรับเด็ก เหมาะสมกับวัย ดึงดูดความสนใจ และความเหมาะสมกับความสามารถของนักเรียนทำให้ไม่น่าเบื่อ