บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
การประเมินครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนบ้านโคกโดน ตามรูปแบบการประเมินแบบซิปป์ (CIPP Model) โดยประเมินเป็นรายด้าน ดังนี้ ด้านบริบทของโครงการ (Context Evaluation) ด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการ (Input Evaluation) ด้านกระบวนการของโครงการ (Process Evaluation) และด้านผลผลิตของโครงการ (Product Evaluation) ประกอบด้วย 2 ส่วน ดังนี้ (1) คุณลักษณะของนักเรียน และ (2) ความพึงพอใจของผู้มีส่วนร่วมที่มีต่อการดำเนินโครงการ เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 6 ฉบับ โดยสอบถามจากกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครู ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และนักเรียน จำนวนทั้งสิ้น 103 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการประเมินพบว่า
1. ผลการประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนบ้านโคกโดน ตามความคิดเห็นของครู และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานด้านบริบทของโครงการ พบว่าในภาพรวมมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.64, S.D. = 0.14) ผ่านเกณฑ์การประเมิน
2. ผลการประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนบ้านโคกโดน ตามความคิดเห็นของครู และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการ พบว่าในภาพรวมมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก ( = 4.37, S.D. = 0.19) ผ่านเกณฑ์การประเมิน
3. ผลการประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนบ้านโคกโดน ตามความคิดเห็นของครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ด้านกระบวนการของโครงการ พบว่าในภาพรวมมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก ( = 4.38, S.D. = 0.10) ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4. ผลการประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนบ้านโคกโดน ด้านผลผลิตของโครงการ จำแนกเป็น
4.1 คุณลักษณะของนักเรียน ตามความเห็นของครู ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และนักเรียน พบว่าในภาพรวมมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.61, S.D. = 0.15) ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.2 ความพึงพอใจของครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีต่อ การดำเนินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนบ้านโคกโดน โดยภาพรวมมีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด ( = 4.69, S.D. = 0.18) ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.3 ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการดำเนินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนบ้านโคกโดน โดยภาพรวมมีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด ( = 4.73, S.D. = 0.22) ผ่านเกณฑ์การประเมิน
ข้อเสนอแนะ
1. ข้อเสนอแนะในการนำผลการประเมินไปใช้
1.1 โรงเรียนควรนำผลการประเมินไปวิเคราะห์รายละเอียดของผลการดำเนินงานว่า มีจุดเด่น จุดด้อย อย่างไรบ้าง เพื่อนำไปปรับปรุง พัฒนารูปแบบการระดมทรัพยากรทางการศึกษา เพื่อยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษาครั้งต่อไป ให้สอดคล้องกับบริบทของสถานศึกษามากยิ่งขึ้น
1.2 ควรกำหนดภาคีเครือข่ายการมีส่วนร่วมในการส่งเสริมระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนให้ครอบคลุมผู้เกี่ยวข้องมากที่สุด
1.3 โรงเรียนควรจัดทำโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างต่อเนื่องและควรให้ มีการดำเนินการโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนต่อไป
1.4 ควรนำผลการดำเนินงานโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนบ้านโคกโดน เผยแพร่ในวงกว้างทั้งสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพัทลุง เขต 1 เพื่อที่จะเป็นแบบอย่างให้โรงเรียนที่อยู่ในบริบทที่คล้ายคลึงกัน
2. ข้อเสนอแนะในการประเมินครั้งต่อไป
2.1 ควรศึกษาการดำเนินงานโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในเชิงคุณภาพเพื่อให้ได้ข้อมูลเชิงลึกเพื่อนำมาพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนให้มีประสิทธิผลเพิ่มขึ้น
2.2 ควรนำรูปแบบการประเมินแบบซิปป์ (CIPP Model) ประเมินโครงการอื่น ๆ ของโรงเรียน เช่น โครงการส่งเสริมรักการอ่าน โครงการศึกษาแหล่งเรียนรู้ โครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เป็นต้น