ชื่อผลงาน รายงานการประเมินโครงการพัฒนาศักยภาพครูเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ
การจัดการเรียนรู้สู่คุณภาพผู้เรียน โรงเรียนสตรีพัทลุง ปีการศึกษา 2564
ผู้รายงาน นางสาวสุวรรณษา เหมะรักษ์
ตำแหน่ง รองผู้อำนวยการโรงเรียนสตรีพัทลุง
ปีที่รายงาน ปีการศึกษา 2564
บทสรุป
รายงานการประเมินโครงการพัฒนาศักยภาพครูเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้สู่คุณภาพผู้เรียน โรงเรียนสตรีพัทลุง ปีการศึกษา 2564 มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินด้านบริบท
ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการและด้านผลผลิตของโครงการ ประกอบด้วย 1) ระดับคุณภาพการพัฒนาศักยภาพครูเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้สู่คุณภาพผู้เรียน โรงเรียนสตรีพัทลุง
ปีการศึกษา 2564 2) ระดับประสิทธิภาพการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของครูโรงเรียนสตรีพัทลุง ปีการศึกษา 2564 3) ความพึงพอใจของนักเรียนและผู้ปกครองต่อการจัดการเรียนการสอนของครู โรงเรียนสตรีพัทลุง ปีการศึกษา 2564 4) ความพึงพอใจของครูที่มีต่อการดำเนินโครงการพัฒนาศักยภาพครูเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้สู่คุณภาพผู้เรียน โรงเรียนสตรีพัทลุง ปีการศึกษา 2564 5) คุณภาพผู้เรียน จำแนกเป็น 5.1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับสถานศึกษา (GPA) ปีการศึกษา 2564 5.2) สมรรถนะนักเรียนตามหลักสูตรสถานศึกษา
ปีการศึกษา 2564 5.3) คุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักสูตรสถานศึกษา ปีการศึกษา 2564
โดยศึกษาจากกลุ่มตัวอย่าง ครูผู้สอน จำนวน 103 คน กลุ่มตัวอย่างคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 13 คน กลุ่มตัวอย่างนักเรียน จำนวน 338 คน และกลุ่มตัวอย่างผู้ปกครอง จำนวน 338 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินโครงการ จำนวน 10 ฉบับ มี 2 ลักษณะ ได้แก่ แบบสอบถาม
ที่มีลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 7 ฉบับ ทุกฉบับมีการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือได้ค่าความเชื่อมั่นระหว่าง 0.87- 0.96 และแบบบันทึกผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนระดับสถานศึกษา ปีการศึกษา 2564 ตามสภาพจริง แบบบันทึกผลการประเมินสมรรถนะนักเรียน
ปีการศึกษา 2564 ตามสภาพจริง แบบบันทึกการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน
ปีการศึกษา 2564 ตามสภาพจริง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ผลการประเมินสรุปได้ดังนี้
1. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านบริบทของโครงการพัฒนาศักยภาพครูเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้สู่คุณภาพผู้เรียน โรงเรียนสตรีพัทลุง ปีการศึกษา 2564 ตามความคิดเห็นของครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า ทั้งสองกลุ่มที่ประเมินมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมินและเมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า ครู มีความคิดเห็นโดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.57, S.D. = 0.14) ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน ส่วนคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีความคิดเห็นโดยรวมมีค่าเฉลี่ย อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.57, S.D. = 0.14) เช่นกัน ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน ทั้งภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัด
2. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการพัฒนาศักยภาพครูเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้สู่คุณภาพผู้เรียน โรงเรียนสตรีพัทลุง ปีการศึกษา 2564 ตามความคิดเห็นของครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า ทั้งสองกลุ่มที่ประเมินมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 ผ่าน เกณฑ์การประเมินและเมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า ครู มีความคิดเห็นโดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( = 4.31, S.D.=0.44) ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน ส่วนคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีความคิดเห็นโดยรวมมีค่าเฉลี่ย อยู่ในระดับมาก ( = 4.37, S.D.=0.12) เช่นกัน ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน ทั้งภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัด
3. ผลการประเมินข้อมูลด้านกระบวนการดำเนินโครงการพัฒนาศักยภาพครูเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้สู่คุณภาพผู้เรียน โรงเรียนสตรีพัทลุง ปีการศึกษา 2564 ตามความคิดเห็นของครู พบว่า มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( = 4.37, S.D.=0.12) สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด
ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 20 ผ่านเกณฑ์การประเมินและเมื่อพิจารณาเป็นรายตัวชี้วัดแต่ละด้าน พบว่า ด้านการติดตามและประเมิน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด อยู่ในระดับมาก ( = 4.46, S.D.=0.37) ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 5 ผ่านเกณฑ์การประเมิน รองลงมา คือ ด้านการดำเนินงาน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก
( = 4.41, S.D.=0.32) ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 5 ผ่านเกณฑ์การประเมิน ด้านการวางแผน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( = 4.37, S.D.=0.37) ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 5 ผ่านเกณฑ์การประเมิน ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านการนำผลไปปรับปรุงพัฒนามีค่าเฉลี่ย อยู่ในระดับมาก ( = 4.36, S.D.=0.41) ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 5 ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้งภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัด
4. ผลการประเมินด้านผลผลิตของโครงการ ได้แก่
4.1 ผลการประเมินด้านผลผลิตเกี่ยวกับระดับคุณภาพการพัฒนาศักยภาพครูเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้สู่คุณภาพผู้เรียน โรงเรียนสตรีพัทลุง ปีการศึกษา 2564 ตามความคิดเห็นของครู พบว่า โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยคุณภาพอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.56, S.D.=0.13)
ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 20 ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาแต่ละรายการพบว่า รายการการส่งเสริมสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีในโรงเรียนและห้องเรียนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้สู่คุณภาพผู้เรียน โรงเรียนสตรีพัทลุง มีค่าเฉลี่ยสูงสุดอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.76, S.D.=0.42) รองลงมา ได้แก่ การส่งเสริมให้ครูมีเวลาหรืออำนวยความสะดวกให้ครูได้พบปะเพื่อสะท้อนผลการพัฒนาศักยภาพครูเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้สู่คุณภาพผู้เรียน ซึ่งกันและกัน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.70, S.D.=0.45) ส่วนรายการที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือคณะครูมีการรวบรวม
ความคิดเห็น หรือข้อเสนอแนะเพื่อใช้ในการปรับปรุงพัฒนาศักยภาพครูเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้สู่คุณภาพผู้เรียน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( = 4.31, S.D.=0.67) ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้งภาพรวมและรายตัวชี้วัด
4.2 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านผลผลิตเกี่ยวกับประสิทธิภาพการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของครูโรงเรียนสตรีพัทลุง ปีการศึกษา 2564 ตามความคิดเห็นของครู พบว่า โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยคุณภาพอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.62, S.D.=0.13) ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาแต่ละรายการพบว่า รายการครูเปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการใช้และประเมินผลการใช้สื่อและแหล่งเรียนรู้ มีค่าเฉลี่ยสูงสุดอยู่ในระดับมากที่สุด
( = 4.78, S.D.=0.41) รองลงมา ได้แก่ เครื่องมือการวัดและประเมินผลมีความหลากหลาย
มีคุณภาพตรงตามตัวชี้วัดและมีความเหมาะสมกับผู้เรียน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด
( = 4.77, S.D.=0.41) ส่วนรายการที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือครูนำผลการประเมินผู้เรียนมาปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนของตนเอง มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( = 4.35, S.D.=0.71) ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้งภาพรวมและรายตัวชี้วัด
4.3 ความพึงพอใจของนักเรียนและผู้ปกครองต่อการจัดการเรียนการสอนของครู โรงเรียนสตรีพัทลุง ปีการศึกษา 2564 ตามความคิดเห็นของนักเรียนและผู้ปกครอง พบว่า ทั้งสองกลุ่มที่ประเมินมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 5 ผ่านเกณฑ์การประเมินและเมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า นักเรียน มีความพึงพอใจโดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.55, S.D.=0.31) ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 5 ผ่านเกณฑ์การประเมิน ส่วนผู้ปกครองมีความพึงพอใจโดยรวมมีค่าเฉลี่ย อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.52, S.D.=0.31) เช่นกัน ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 5 ผ่านเกณฑ์การประเมิน ทั้งภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัด
4.4 ความพึงพอใจของครูที่มีต่อการดำเนินโครงการพัฒนาศักยภาพครูเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้สู่คุณภาพผู้เรียน โรงเรียนสตรีพัทลุง ปีการศึกษา 2564 พบว่า
โดยภาพรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.59, S.D. = 0.17) ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 5 ผ่านเกณฑ์การประเมิน และเมื่อพิจารณาแต่ละรายการ พบว่า การประสานความร่วมมือในการพัฒนาเครือข่ายการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด อยู่ในระดับมากที่สุด
( = 4.76, S.D.=0.42) รองลงมา คือ การกำหนดค่านิยมร่วมในการตัดสินใจเกี่ยวกับการเรียนการสอนของครู มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.69, S.D.=0.46) ส่วนรายการที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ การแสวงหาและพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก
( = 4.37, S.D.=0.71) ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้งภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัด
4.5 คุณภาพผู้เรียน จำแนกเป็น
4.5.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับสถานศึกษา 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ตามหลักสูตรสถานศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 โรงเรียนสตรีพัทลุง ปีการศึกษา 2564 โดยภาพรวม พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับสถานศึกษา ปีการศึกษา 2564 มีคะแนนเฉลี่ย GPA ร้อยละ 3.49 ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 4 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.5.2 สมรรถนะนักเรียนตามหลักสูตรสถานศึกษา ปีการศึกษา 2564 ตามสภาพจริง โดยภาพรวม พบว่า อยู่ในระดับดี-ดีเยี่ยม ร้อยละ 84.14 ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 3 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.5.3 คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนตามหลักสูตรสถานศึกษา
ปีการศึกษา 2564 ตามสภาพจริง โดยภาพรวม พบว่า อยู่ในระดับดี-ดีเยี่ยม ร้อยละ 99.90 ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 3 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
สรุปผลการประเมินโครงการพัฒนาศักยภาพครูเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้สู่คุณภาพผู้เรียน โรงเรียนสตรีพัทลุง ปีการศึกษา 2564 โดยใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์
(CIPP Model) มีค่าน้ำหนัก 100 ได้คะแนนเฉลี่ย 100 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
ข้อเสนอแนะ
ข้อเสนอแนะในการนำผลการประเมินไปใช้
1. โรงเรียนควรนำผลการประเมินโครงการมาวิเคราะห์หาจุดเด่น จุดที่ควรพัฒนาเพื่อกำหนดรูปแบบและแนวทางในการพัฒนาโครงการพัฒนาศักยภาพครูเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้สู่คุณภาพผู้เรียน โรงเรียนสตรีพัทลุง ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
2. ควรจัดให้มีโครงการพัฒนาศักยภาพครูเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้สู่คุณภาพผู้เรียน โรงเรียนสตรีพัทลุง ปีการศึกษา 2564 เป็นโครงการต่อเนื่องอย่างน้อย 3 ปีการศึกษา
3. ควรนำผลการประเมินโครงการเสนอหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาเพื่อให้ได้รับการสนับสนุนและเผยแพร่อย่างกว้างขวาง
4. โรงเรียนควรพัฒนาศักยภาพครูเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้สู่คุณภาพผู้เรียนอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอจนกลายเป็นวิถีของโรงเรียนที่มีความเด่นชัดและมีอัตลักษณ์เป็นของตัวเองสามารถเป็นแบบอย่างของโรงเรียนอื่นได้
ข้อเสนอแนะในการประเมินโครงการหรือการวิจัยครั้งต่อไป
1. ควรนำรูปแบบการประเมินโครงการของ CIPP Model ไปปรับใช้กับการประเมินโครงการอื่น ๆ ในโรงเรียน เนื่องจากสารสนเทศที่ได้ไปใช้ประโยชน์ในการยกระดับพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนต่อไป
2. ควรมีการประเมินโครงการต่าง ๆ ในระดับหน่วยงานหรือกลุ่มงานย่อยทุกโครงการ โดยประยุกต์ใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์ (CIPP Model) หรือรูปแบบอื่นที่เหมาะสม