การประเมินโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนกะเปอร์วิทยา ปีการศึกษา ๒๕๖๔ ในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนตามรูปแบบการประเมินแบบซิปป์ (CIPP Model) ของสตัฟเฟิลบีม (Stufflebeam) ใน ๔ ด้าน คือ ด้านบริบท(Context) ด้านปัจจัยนำเข้า (Input) ด้านกระบวนการ (Process) ด้านผลผลิต (Product) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ ในการศึกษาครั้งนี้ คือ ผู้บริหารและครู จำนวน ๓๒ คน นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑-๖ จำนวน ๒๔๒ คน ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน ๒๔๒ คน และคณะกรรมการสถานศึกษา จำนวน ๑๓ คน (ยกเว้นผู้อำนวยการโรงเรียนและผู้แทนครู) รวมทั้งสิ้น ๕๒๙ คน เก็บรวบรวมข้อมูล ก่อนดำเนินโครงการ ระหว่างดำเนินโครงการ และหลังดำเนินโครงการ โดยใช้เครื่องมือในการประเมิน ประกอบด้วย แบบสอบถาม จำนวน ๔ ฉบับ และแบบบันทึก จำนวน ๒ ฉบับ และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป มีผลการประเมิน และข้อเสนอแนะ ดังนี้
ผลการประเมินโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนกะเปอร์วิทยา ปีการศึกษา ๒๕๖๔ พบว่า ในภาพรวมผ่านเกณฑ์การประเมินในระดับมากที่สุด และผ่านเกณฑ์การประเมิน ทุกตัวชี้วัด ส่วนผลของการประเมินในภาพรวมของแต่ละด้าน และรายตัวชี้วัด มีดังนี้
๑. ผลการประเมินด้านบริบทของโครงการ ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนรายตัวชี้วัดมีผลการประเมินดังนี้
๑.๑ ความต้องการจำเป็นของการดำเนินโครงการ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินในระดับมากที่สุด
๑.๒ ความสอดคล้องกับนโยบายของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินในระดับมาก
๑.๓ ความเหมาะสมของวัตถุประสงค์ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินในระดับมากที่สุด
๒. ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก สำหรับ รายตัวชี้วัด มีผลการประเมิน ดังนี้
๒.๑ ความเหมาะสมของงบประมาณ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินในระดับมาก
๒.๒ ความรู้ความเข้าใจของครูในการดำเนินงานโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินในระดับมากที่สุด
๒.๓ ความเพียงพอของเอกสาร เครื่องมือในการดำเนินโครงการ พบว่า ผ่านเกณฑ์ การประเมินในระดับมาก
๓. ผลการประเมินด้านกระบวนการดำเนินโครงการ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก และในส่วนของรายตัวชี้วัด มีผลการประเมิน ดังนี้
๓.๑ การบริหารระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินในระดับมาก
๓.๒ ความสามารถของครูในการดำเนินงานโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินในระดับมาก
๓.๓ การนิเทศ กำกับ ติดตาม พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินในระดับมาก
๔. ผลการประเมินด้านผลผลิตของโครงการ ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนรายตัวชี้วัดมีผลการประเมิน ดังนี้
๔.๑ จำนวนนักเรียนที่ได้รับการดูแลช่วยเหลือ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินในระดับมากที่สุด
๔.๒ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินในระดับมาก
๔.๓ ความพึงพอใจของนักเรียน พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินในระดับมากที่สุด
๔.๔ ความพึงพอใจของผู้ปกครอง พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินในระดับมากที่สุด
ข้อเสนอแนะ
๑. ข้อเสนอแนะของครู ได้แก่ ควรจัดสรรงบประมาณเพิ่มมากขึ้น จัดอบรมให้ความรู้แก่ครูเกี่ยวกับจิตวิทยาเด็ก มีการนิเทศ กำกับ ติดตามผลการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน อย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง และสนับสนุนเอกสาร เครื่องมือในการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนให้มากขึ้น และมีการส่งต่อกรณีที่นักเรียนมีปัญหาระดับรุนแรง
๒. ข้อเสนอแนะของนักเรียน ได้แก่ ควรจัดกิจกรรมที่หลากหลาย เพื่อให้นักเรียนได้มีส่วนร่วมมากขึ้น และนักเรียนที่มีปัญหาควรได้รับการดูแลช่วยเหลืออย่างต่อเนื่อง
๓. ข้อเสนอแนะของผู้ปกครอง ได้แก่ ควรจัดให้มีการจัดตั้งกรรมการเครือข่ายประจำห้องเรียน มีการแจ้งผลการช่วยเหลือนักเรียนให้ผู้ปกครองทราบด้วย จัดให้มีการประชุมผู้ปกครอง ชั้นเรียนบ่อยขึ้น และให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมการดูแลช่วยเหลือนักเรียนให้มา