ชื่อเรื่อง รายงานการประเมินโครงการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุข ของโรงเรียนก่อนาดี
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอำนาจเจริญ
ผู้ศึกษา นางศรีสุดา พุทธรักษา สังกัด โรงเรียนบ้านก่อนาดี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอำนาจเจริญ
ปีที่ประเมิน 2563
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินสภาพการดำเนินงานโครงการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุข ของโรงเรียนบ้านก่อนาดี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาอำนาจเจริญ โดยใช้รูปแบบการประเมินผลโครงการแบบซิป (CIPP Model) ตามแนวคิดของ สตัฟเฟิลบีม (Stufflebeam) เพื่อความครอบคลุมในทุกส่วนขององค์ประกอบของโครงการ วัตถุประสงค์ของการประเมิน คือ 1) เพื่อประเมินบริบทของโครงการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุขของโรงเรียนบ้านก่อนาดี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอำนาจเจริญ 2) เพื่อประเมินปัจจัยนำเข้าของโครงการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุขของโรงเรียนบ้านก่อนาดี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอำนาจเจริญ 3) เพื่อประเมินกระบวนการของโครงการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุข โรงเรียนบ้านก่อนาดี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอำนาจเจริญ 4) เพื่อประเมินผลผลิตของโครงการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุข โรงเรียนบ้านก่อนาดี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอำนาจเจริญ กลุ่มเป้าหมาย 80 คน ได้แก่ ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 9 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 7 คน ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 32 คน นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึง ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 32 คน
การประเมินโครงการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุข ของโรงเรียนบ้านก่อนาดี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอำนาจเจริญ ในครั้งนี้ ผู้รายงานได้กำหนดกรอบแนวคิดของการประเมิน ประกอบด้วยการประเมิน 4 ด้าน คือ 1) ด้านบริบท (Context Evaluation) เป็นการประเมินความต้องการจำเป็นในการจัดทำโครงการ วัตถุประสงค์ของโครงการ เป้าหมายของโครงการ การตรียมการภายในโครงการ 2) ด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) เป็นการประเมินความพร้อมของบุคลากร ด้านงบประมาณ เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน และด้านวัสดุอุปกรณ์ในการดำเนินโครงการ 3) ด้านกระบวนการ (Process Evaluation) เป็นการประเมินเกี่ยวกับกระบวนการดำเนินงานโครงการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุข ตามมาตรการ 5 ด้าน ของสำนักส่งเสริมกิจการการศึกษา สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ศูนย์อำนวยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด กระทรวงศึกษาธิการ ดังนี้ มาตรการด้านป้องกัน มาตรการด้านการค้นหา มาตรการด้านการรักษา มาตรการด้านการเฝ้าระวัง มาตรการด้านการบริหารจัดการ 4) ด้านผลผลิต (Product Evaluation) เป็นการประเมินนักเรียนในด้านความคิดเห็นของนักเรียนต่อคุณภาพการปฏิบัติตนตามพฤติกรรมทักษะชีวิต และความพึงพอใจในการดำเนินโครงการของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามฉบับที่ 1 เป็นแบบสอบถามข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในประเด็นด้านบริบท โดยเน้นความต้องการจำเป็นในการจัดทำโครงการ ความเหมาะสมของวัตถุประสงค์ และความเป็นไปได้ของโครงการ แบบสอบถามฉบับที่ 2 เป็นแบบสอบถามข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในประเด็นด้านปัจจัยนำเข้า โดยเน้นความพร้อมของบุคลากร หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาคารสถานที่ และทรัพยากรในด้านงบประมาณ วัสดุครุภัณฑ์และสิ่งอำนวยความสะดวกอื่น ๆ ในการดำเนินโครงการ แบบสอบถามฉบับที่ 3 เป็นแบบสอบถามข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในประเด็นด้านเป็นการประเมินเกี่ยวกับมาตรการในการดำเนินงานโครงการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุขใน 5 มาตรการคือ มาตรการด้านการป้องกัน มาตรการด้านการค้นหา มาตรการด้านการรักษา มาตรการด้านการเฝ้าระวังและมาตรการด้านการบริหารจัดการ แบบสอบถามฉบับที่ 4 เป็นแบบสอบถามนักเรียนในประเด็นความคิดเห็นของนักเรียนต่อคุณภาพการปฏิบัติตนตามพฤติกรรมทักษะชีวิต แบบสอบถามฉบับที่ 5 เป็นแบบสอบถามความพึงพอใจของข้าราชกการครูและบุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครองนักเรียน นักเรียน สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างเนื้อหากับวัตถุประสงค์ ค่าความเชื่อมั่นของแบบประเมิน ค่าร้อยละค่าเฉลี่ย ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป
ผลการศึกษา พบว่า
1. ผลการประเมินโครงการด้านบริบทโดยรวม พบว่า ผลการดำเนินโครงการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุข ของโรงเรียนบ้านก่อนาดี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอำนาจเจริญ มีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาผลการประเมินตัวชี้วัด พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกตัวชี้วัด ซึ่งตัวชี้วัดที่ได้ระดับคะแนนมากที่สุด 2 ตัวชี้วัดคือ ตัวชี้วัดความเหมาะสมของวัตถุประสงค์ (4.78) ตัวชี้วัดความต้องการจำเป็นในการจัดทำโครงการ (4.69) และตัวชี้วัดที่ได้ระดับคะแนนมาก คือ ตัวชี้วัดความเป็นไปได้ของโครงการ (4.44)
2. ผลการประเมินโครงการด้านปัจจัยนำเข้า โดยรวม พบว่า ผลการดำเนินโครงการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุข ของโรงเรียนบ้านก่อนาดี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอำนาจเจริญ มีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาผลการประเมินตัวชี้วัด พบว่า ตัวชี้วัดผ่าน คือ ความพร้อมและทรัพยากรในการดำเนินโครงการ มีคะแนนระดับมาก (4.59)
3. ผลการประเมินโครงการด้านกระบวนการ โดยรวม พบว่า ผลการดำเนินโครงการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุข ของโรงเรียนบ้านก่อนาดี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอำนาจเจริญ มีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาผลการประเมินตัวชี้วัดแล้ว พบว่า ผ่านทุกตัวชี้วัด โดยตัวชี้วัดที่อยู่ในระดับคะแนนมากที่สุด 3 ตัวชี้วัดคือ ตัวชี้วัดด้านการค้นหา (4.58) และตัวชี้วัดด้านการป้องกัน (4.57) และตัวชี้วัดด้านการเฝ้าระวัง (4.56) ตัวชี้วัดที่อยู่ในระดับคะแนนมาก 2 ตัวชี้วัด คือ ตัวชี้วัดด้านการบริหารจัดการ (4.46) และตัวชี้วัดด้านการรักษา (4.22)
4. ผลการประเมินโครงการด้านผลผลิต โดยรวม พบว่า ผลการดำเนินโครงการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุข ของโรงเรียนบ้านก่อนาดี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอำนาจเจริญ มีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด และเมื่อพิจารณาผลการประเมินตัวชี้วัดแล้ว พบว่า ผ่านทุกตัวชี้วัด โดยทุกตัวชี้วัดได้คะแนนในระดับมาก 4 ตัวชี้วัด คือ ตัวชี้วัดความพึงพอใจชองนักเรียนต่อคุณภาพการปฏิบัติตนตามพฤติกรรมทักษะชีวิตของนักเรียน (4.18) ตัวชี้วัดความพึงพอใจต่อการดำเนินงานโครงการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุข ตามความคิดเห็นของครู(4.29) ตัวชี้วัดความพึงพอใจต่อการดำเนินงานโครงการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุข ตามความคิดเห็นของนักเรียน (4.30)และตัวชี้วัดความพึงพอใจต่อการดำเนินงานโครงการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุขตามความคิดเห็นของของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและผู้ปกครองนักเรียน (4.34) ตามลำดับ
5. ผลการประเมินโครงการ โดยรวม พบว่า ผลการดำเนินโครงการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุข ของโรงเรียนบ้านก่อนาดี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอำนาจเจริญ มีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด และเมื่อพิจารณาถึงรายละเอียดของประเด็นการประเมินทั้ง 4 ประเด็น พบว่า การประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด ทั้ง 4 ประเด็น และแต่ละประเด็นผ่านการประเมินเช่นเดียวกัน โดยผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้า มีคะแนนประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 100 รองลงมา คือด้านบริบท คิดเป็นร้อยละ 94 รองลงมา คือด้านกระบวนการการ คิดเป็นร้อยละ 92 และด้าน ผลผลิต คิดเป็นร้อยละ 85 และเมื่อพิจารณาตัวชี้วัดย่อยของประเด็นการประเมินทั้ง 4 ประเด็น จำนวน 13 ตัวชี้วัด พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกตัวชี้วัด ในจำนวนตัวชี้วัดที่ผ่านเกณฑ์ประกอบด้วย ตัวชี้วัดที่ได้ผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด 7 ตัวชี้วัด และระดับมาก 6 ตัวชี้วัด