ชื่อเรื่อง รายงานการประเมินโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนวัดศรี
สำราญราษฎร์บำรุง (แช่มประชาอุทิศ) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ประถมศึกษาสมุทรสาคร ปีการศึกษา 2564
ชื่อผู้ประเมิน นายบรรจบ ทองตีบ
ปีการศึกษา 2564
บทคัดย่อ
รายงานการประเมินโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนวัดศรีสำราญราษฎร์บำรุง (แช่มประชาอุทิศ) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร ปีการศึกษา 2564 โดยใช้รูปแบบการประเมินไอโป (IPO) (สมหวัง พิธิยานุวัฒน์,2551 : 202)
มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินโครงการใน 3 ด้าน คือ ด้านปัจจัยนำเข้า (Input ) ด้านกระบวนการดำเนินโครงการ (Process ) ด้านผลผลิตของโครงการ (Output ) ประชากรที่ใช้ในการประเมินโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนวัดศรีสำราญราษฎร์บำรุง (แช่มประชาอุทิศ) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร ปีการศึกษา 2564 คือ คณะครู จำนวน 67 คน คณะกรรมการสถานศึกษาศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนวัดศรีสำราญราษฎร์บำรุง (แช่มประชาอุทิศ)จำนวน 14 คน (ยกเว้นตัวแทนครู) รวมประชากร จำนวน 81 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินโครงการ คือ ผู้ปกครองนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1- 6 จำนวน 278 คน ซึ่งได้มาโดยใช้ตาราง Krejcie & Morgan (สิทธิ์ ธีรสรณ์, 2552 : 114) รวมกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 278 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินโครงการจำนวน 4 ฉบับ ได้แก่ ฉบับที่ 1 ประเมินปัจจัยนำเข้า ฉบับที่ 2 ประเมินกระบวนการ ฉบับที่ 3 ประเมินด้านผลผลิต เป็นแบบประเมินลักษณะมาตราส่วนประมาณค่า และฉบับที่ 4 เป็นแบบบันทึกข้อมูล ผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์และผลการประเมินทักษะชีวิต วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาค่า ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานจากประชากร และค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนจากกลุ่มตัวอย่าง จากการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการประเมินพบว่า
1. ผลการประเมิน ด้านปัจจัยนำเข้า ตามความคิดเห็นของคณะครู ในภาพรวม พบว่า ระดับความสอดคล้องอยู่ในระดับมาก ( = 4.48, σ = 0.52) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่าข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ ความเหมาะสมของบุคลากร มีระดับความสอดคล้อง อยู่ในระดับมากที่สุด
( = 4.68,  = 0.62) และ ด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ความเหมาะสมของรูปแบบการจัดกิจกรรม ระดับความสอดคล้อง อยู่ในระดับมาก ( = 4.16,  = 0.50)
ผลการประเมิน ด้านปัจจัยนำเข้าตามความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในภาพรวม พบว่า ระดับความเหมาะสม อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.50, σ = 0.54) เมื่อพิจารณารายด้าน โดยพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุดคือ ความเหมาะสมของบุคลากร มีระดับความเหมาะสม ในระดับมากที่สุด ( = 4.57,  = 0.52) และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ความเหมาะสมของทรัพยากร ระดับความเหมาะสม ในระดับมาก ( = 4.38,  = 0.50)
2. ผลการประเมินด้านกระบวนการ(Process) ตามความคิดเห็นของครู ในภาพรวม พบว่ามีระดับการปฏิบัติ อยู่ในระดับมาก ( = 4.30, σ = 0.49) เมื่อพิจารณารายด้าน โดยพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุดคือ ด้านกระบวนการวางแผน(Plan) มีระดับปฏิบัติ ในระดับมากที่สุด ( = 4.59,  = 0.49) และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ การกำกับนิเทศติดตามและประเมินผล (Check) ระดับปฏิบัติ ในระดับมาก ( = 4.22,  = 0.52)
3. ผลการประเมินด้านผลผลิต (Output) พบว่า ผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 โรงเรียนวัดศรีสำราญราษฎร์บำรุง (แช่มประชาอุทิศ) ปีการศึกษา 2564 พบว่า นักเรียนที่ได้ผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ระดับดีเยี่ยมขึ้นไป จำนวน 908 คน คิดเป็นร้อยละ 88.07 ซึ่งบรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการ (ร้อยละ 80)
ผลการประเมินทักษะชิตของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 โรงเรียนวัดศรีสำราญราษฎร์บำรุง (แช่มประชาอุทิศ) ปีการศึกษา 2564 พบว่า นักเรียนที่ได้ผลการประเมินทักษะ ระดับดีเยี่ยมขึ้นไป จำนวน 962 คน คิดเป็นร้อยละ 93.31 ซึ่งบรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการ (ร้อยละ 80)