บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
การประเมินโครงการพัฒนาศักยภาพครู ด้านการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน โรงเรียนบ้านวังบง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3 มีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินโครงการพัฒนาศักยภาพครูด้านการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน โรงเรียนบ้านวังบง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3 โดยใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์ (CIPP Model) ประกอบด้วยประเด็นการประเมิน 4 ด้าน คือ การประเมินด้านบริบทหรือสภาวะแวดล้อม (Context Evaluation) การประเมินด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) การประเมินด้านกระบวนการ (Process Evaluation) และการประเมินด้านผลผลิต (Product Evaluation)
ประชากรในการประเมิน ได้แก่ ผู้บริหาร ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 26 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 15 คน ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 337 คนและนักเรียน จำนวน 337 คน รวมทั้งสิ้น 715 คน
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมิน ได้แก่ ผู้บริหาร ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 25 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 14 คน ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 191 คน และนักเรียน จำนวน 191 คน รวมทั้งสิ้น 421 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางเลขสุ่ม ของเครจซี่และมอร์แกน (Krejcie and Morgan. 1970) และเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling)
เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน คือ แบบสอบถามความคิดเห็น (Questionnaire) เรื่อง การประเมินโครงการพัฒนาศักยภาพครู ด้านการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน โรงเรียนบ้านวังบง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3 แบ่งออกเป็น 2 ตอน ดังนี้ ตอนที่ 1 แบบสอบถามเกี่ยวกับข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม ได้แก่ สถานภาพ เพศ อายุ อาชีพและระดับการศึกษาเป็นข้อมูลพื้นฐานของผู้ตอบแบบสอบถามซึ่งมีลักษณะเป็นแบบตรวจสอบรายการ (Checklist) ตอนที่ 2 แบบสอบถามเกี่ยวกับการประเมินโครงการพัฒนาศักยภาพครู ด้านการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน โรงเรียนบ้านวังบง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3 โดยใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์ (CIPP Model) ประกอบด้วย 4 ด้าน ได้แก่ ด้านบริบทหรือสภาวะแวดล้อม ด้านปัจจัยนำเข้า กระบวนการ และด้านผลผลิต แบบสอบถามมีลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ตามแบบของลิเคิร์ท (Likert Rating Scale)
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าแจกแจงความถี่ (Frequency Distributions) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ยเลขคณิต (Arithmetic Mean:x̄ ) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation : S.D.) โปรแกรมที่ใช้วิเคราะห์สถิติ คือ โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS
การวิเคราะห์ข้อมูล ผู้ประเมินได้ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าแจกแจงความถี่ (Frequency Distributions) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ยเลขคณิต (Arithmetic Mean :x̄ ) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation : S.D.)
ผลการประเมินสรุปได้ดังนี้
การประเมินโครงการพัฒนาศักยภาพครู ด้านการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน โรงเรียนบ้านวังบง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3 สรุปผลการประเมิน ผ่านเกณฑ์การประเมินโครงการ กล่าวคือ เกณฑ์ในการประเมินโครงการ ผู้ประเมินกำหนดเกณฑ์การประเมินโครงการโดยแต่ละด้านจะต้องผ่านเกณฑ์ประเมิน อยู่ในระดับมาก ( x̄≥ 3.50) และผลการประเมินโครงการพัฒนาศักยภาพครูด้านการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โรงเรียนบ้านวังบง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( x̄= 4.52, S.D. = 0.59) และสรุปผลการประเมินในแต่ละด้านดังนี้
ด้านบริบทหรือสภาวะแวดล้อม (Context Evaluation) มีผลผ่านเกณฑ์การประเมินโครงการอยู่ในระดับมากที่สุด ( x̄= 4.76, S.D. = 0.42) สรุปผลการประเมินด้านบริบทหรือสภาวะแวดล้อมของโครงการเป็นรายข้อ โดยเรียงค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย พบว่า รายข้อความสำคัญและความจำเป็นของโครงการพัฒนาศักยภาพครูด้านการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ อยู่ในระดับมากที่สุด รายข้อผู้ปกครองนักเรียนมีความต้องการให้โรงเรียนดำเนินการตามโครงการนี้ อยู่ในระดับมากที่สุด รายข้อผู้บริหารสถานศึกษาเห็นความสำคัญของโครงการ อยู่ในระดับมากที่สุด ซึ่งทั้งสามข้อมีค่าเฉลี่ยเท่ากัน รองลงมารายข้อข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษามีความต้องการโครงการ และรายข้อโครงการนี้เป็นประโยชน์ต่อนักเรียนมาก ในสภาพสังคมปัจจุบัน อยู่ในระดับมากที่สุดทั้งสองข้อ มีค่าเฉลี่ยเท่ากัน รายข้อการมีส่วนร่วมของโรงเรียน หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ผู้ปกครองและชุมชน อยู่ในระดับมากที่สุด รายข้อวัตถุประสงค์ของโครงการสอดคล้องกับนโยบาย อยู่ในระดับมาก รายข้อน้อยที่สุดเป็นรายข้อ ความเข้าในวัตถุประสงค์ของโครงการพัฒนาศักยภาพครูด้านการจัดการเรียนรู้ ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ อยู่ในระดับมาก ตามลำดับ
ด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) มีผลผ่านเกณฑ์การประเมินโครงการ อยู่ในระดับมากที่สุด ( x̄= 4.59, S.D. = 0.65) สรุปผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการเป็นรายข้อโดยเรียงค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย พบว่า รายข้อวัสดุ ครุภัณฑ์ สื่อ ที่ใช้ในการดำเนินงานตามโครงการพัฒนาศักยภาพครูด้านการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญมีความเหมาะสมและเพียงพอ อยู่ในระดับมากที่สุด รายข้อโรงเรียนได้สนับสนุนให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกภาคส่วนได้เข้ามามีส่วนร่วมในโครงการพัฒนาศักยภาพครูด้านการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ อยู่ในระดับมากที่สุด รายข้อโรงเรียน มีสถานที่ที่เอื้อต่อการจัดกิจกรรมตามโครงการเหมาะสมและเพียงพอ อยู่ในระดับมากที่สุด รายข้อข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ให้ความร่วมมือในการพัฒนาศักยภาพตามโครงการ อยู่ในระดับมากที่สุด รายข้อคณะกรรมการมีความรู้ ความเข้าใจในการดำเนินงานตามโครงการพัฒนาศักยภาพครูด้านการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ อยู่ในระดับมากที่สุด รายข้อโรงเรียน มีการจัดบรรยากาศที่เอื้อต่อการจัดกิจกรรมตามโครงการเหมาะสมและเพียงพอ อยู่ในระดับมากที่สุด รายข้อผู้ปกครอง องค์กรอื่น ๆ หรือชุมชน มีส่วนร่วมในการวางแผนการดำเนินงานตามโครงการ อยู่ในระดับมากและรายข้อกรอบขอบเขต รวมถึงระยะเวลาดำเนินการตามแผนงาน โครงการพัฒนาศักยภาพครูด้านการจัดการเรียนรู้ ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ มีความเหมาะสม อยู่ในระดับมาก ตามลำดับ
ด้านกระบวนการ (Process Evaluation) มีผลผ่านเกณฑ์การประเมินโครงการอยู่ในระดับมาก ( x̄ = 4.34, S.D. = 0.72) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ โดยเรียงค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย พบว่า รายข้อข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาได้รับการพัฒนาศักยภาพด้านการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญเท่ากันกับรายข้อการจัดกิจกรรมตามโครงการพัฒนาศักยภาพด้านการจัดการเรียนรู้ ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานมากน้อยในระดับ อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาเป็นรายข้อ การจัดกิจกรรมของวิทยากรผู้ให้ความรู้ มีกิจกรรมที่หลากหลายด้านการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ อยู่ในระดับมากที่สุด รายข้อแผนหรือปฏิทินปฏิบัติงานของโครงการในภาพรวม มีความเหมาะสม อยู่ในระดับมาก เท่ากันกับรายข้อการจัดกิจกรรมของวิทยากรมีความน่าสนใจความเหมาะสม รายข้อผู้บริหารมีการนิเทศ ติดตาม การดำเนินงานตามโครงการพัฒนาศักยภาพครูด้านการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ อยู่ในระดับมาก รายข้อความหลากหลายของกิจกรรมตามโครงการพัฒนาศักยภาพด้านการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน อยู่ในระดับมากและน้อยที่สุดเป็นรายข้อการเผยแพร่ ประชาสัมพันธ์การดำเนินงานให้กับผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ อยู่ในระดับมาก ตามลำดับ
ด้านผลผลิต (Product Evaluation) มีผลผ่านเกณฑ์การประเมินโครงการอยู่ในระดับมากที่สุด ( x̄ = 4.83, S.D. = 0.44) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อโดยเรียงค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย พบว่า รายข้อการนำผลการประเมินมาทบทวนหรือปรับปรุงแก้ไข หรือพัฒนาโครงการให้มีประสิทธิภาพ อยู่ในระดับมากที่สุด ( x̄= 4.95, S.D. = 0.22) รองลงมาเป็นรายข้อข้าราชการครูและบุคลากร ทางการศึกษา โรงเรียนบ้านวังบง ได้มีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญในระดับ ศูนย์เครือข่ายสถานศึกษา อยู่ในระดับมากที่สุด รายข้อการจัดกิจกรรมของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษามีความหลากหลายด้านการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญในระดับชั้นเรียน อยู่ในระดับมากที่สุด รายข้อข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา โรงเรียนบ้านวังบง ได้มีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญในระดับเขตพื้นที่การศึกษา อยู่ในระดับมากที่สุด รายข้อข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา โรงเรียนบ้านวังบง ได้มีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญในระดับโรงเรียน อยู่ในระดับมากที่สุด รายข้อข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา โรงเรียนบ้านวังบง ได้มีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญในระดับชาติ อยู่ในระดับมากที่สุด ตามลำดับ