บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
การประเมินโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนบ้านห้วยแห้ง ปีการศึกษา 2564 ครั้งนี้ โดยใช้รูปแบบการประเมินตามรูปแบบซิปป์ (CIPP model) เป็นแนวทางในการประเมินโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนบ้านห้วยแห้ง ด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต โดยกลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการประเมินโครงการ ครั้งนี้ คือ ผู้อำนวยการโรงเรียน ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครองนักเรียน และนักเรียน รวมจำนวน 122 คน ซึ่งเป็นประชากรทั้งหมดและได้มาโดยการคัดเลือกแบบเจาะจง และการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในในการเก็บรวบรวมการประเมินโครงการ เป็นแบบสอบถามจำนวน 5 ฉบับ แบบประเมินเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติคือ ค่าเฉลี่ย
ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบกับเกณฑ์การประเมิน
ผลการประเมิน
การประเมินโครงการตามวัตถุประสงค์โครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนบ้านห้วยแห้ง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 3 โดยภาพรวมทั้ง 4 ด้าน พบว่า มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด
คือ ด้านผลผลิต (Product : P) รองลงมา คือ ด้านบริบท (Context : C) ด้านกระบวนการ (Process : P) และด้านปัจจัยนำเข้า (Input : I) ตามลำดับ
เมื่อพิจารณาโดยรวมและรายด้าน สรุปได้ดังนี้
1. ด้านบริบท (Context : C) พบว่า โดยภาพรวมมีระดับความสอดคล้องอยู่ในระดับมากที่สุด(= 4.65) ผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้ ได้แก่
โครงการมีความสอดคล้องกับแนวทางการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(4.89) รองลงมาคือ โครงการมีเป้าหมายเพื่อให้นักเรียนได้รับการดูแลช่วยเหลืออย่างทั่วถึงถูกวิธีและทันเวลา (4.78) และหลักการและเหตุผลของโครงการสอดคล้องกับสภาพปัญหาและบริบทของสถานศึกษา (4.72) ตามลำดับ
2. ด้านปัจจัยนำเข้า (Input : I) ) พบว่า โดยภาพรวมมีระดับความสอดคล้องอยู่ในระดับมากที่สุด (= 4.53)ผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้
ได้แก่ ด้านบุคลากร(4.55) รองลงมาคือ ด้านวัสดุอุปกรณ์และสื่อการเรียนรู้ ด้านงบประมาณ (4.54) และด้านภาคีเครือข่ายด้านบริหารจัดการ ตามลำดับ
3. ด้านกระบวนการ (Process : P) พบว่า โดยภาพรวมมีระดับการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด (= 4.48) ผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้ ได้แก่ กิจกรรมการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล (4.58) รองลงมาคือ กิจกรรมการคัดกรองนักเรียน กิจกรรมการการป้องกันและแก้ไข (4.56) กิจกรรมการส่งเสริมและพัฒนา และกิจกรรมการส่งต่อ ตามลำดับ
4. ด้านผลผลิต (Product : P) พบว่า โดยภาพรวมมีระดับการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด(= 4.67) ผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้ ได้แก่
ด้านความสามารถในการเรียนรู้ ด้านเสริมสร้างทักษะชีวิตและการคุ้มครองนักเรียน (4.68) รองลงมาคือ ด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน และด้านการป้องกันและแก้ไขด้านการเรียน ตามลำดับ