การประเมินโครงการพัฒนาอาคารสถานที่และสิ่งแวดล้อมให้เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โรงเรียนโพธิสารพิทยากร ใช้รูปแบบ CIPP Model มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อประเมินบริบทและสภาพแวดล้อมของโครงการพัฒนาอาคารสถานที่และสิ่งแวดล้อมให้เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โรงเรียนโพธิสารพิทยากร 2) เพื่อประเมินปัจจัยนำเข้าของโครงการพัฒนาอาคารสถานที่และสิ่งแวดล้อมให้เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โรงเรียนโพธิสารพิทยากร 3) เพื่อประเมินกระบวนการดำเนินงานของโครงการพัฒนาอาคารสถานที่และสิ่งแวดล้อมให้เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โรงเรียนโพธิสารพิทยากร และ 4) เพื่อประเมินผลผลิตของโครงการพัฒนาอาคารสถานที่และสิ่งแวดล้อมให้เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โรงเรียนโพธิสารพิทยากร กลุ่มตัวอย่างจำนวน 842 คน ประกอบด้วย ผู้บริหารและครูที่ปฏิบัติหน้าที่ในโรงเรียนโพธิสารพิทยากร ปีการศึกษา 2564 จำนวน 131 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนโพธิสารพิทยากร 13 คน นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 ปีการศึกษา 2564 สุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น แล้วเทียบสัดส่วนกับจำนวนนักเรียนแต่ละระดับชั้น ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 349 คน และผู้ปกครองนักเรียนปีการศึกษา 2564 โดยใช้เป็นกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงเป็นผู้ปกครองนักเรียนที่ได้จากการสุ่มตัวอย่างนักเรียน จำนวน 349 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินโครงการมี 3 ฉบับ ประกอบด้วย 1) แบบสอบถามประเมินบริบทและสภาพแวดล้อม ปัจจัยนำเข้า กระบวนการดำเนินงาน และผลผลิตของโครงการพัฒนาอาคารสถานที่ และสิ่งแวดล้อมให้เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โรงเรียนโพธิสารพิทยากร สอบถามผู้บริหารโรงเรียนและครู 2) แบบสอบถามประเมินผลผลิตของโครงการ ประเมินจากความพึงพอใจของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนโพธิสารพิทยากรและผู้ปกครอง ที่มีต่อโครงการพัฒนาอาคารสถานที่และสิ่งแวดล้อมให้เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โรงเรียนโพธิสารพิทยากร 3) แบบสอบถามประเมินผลผลิตของโครงการประเมินจากความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อโครงการพัฒนาอาคารสถานที่และสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โรงเรียนโพธิสารพิทยากร สถิติที่ใช้ใน การวิเคราะห์ข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าเฉลี่ยเลขคณิตและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยใช้คอมพิวเตอร์โปรแกรม SPSS for window ผลการประเมินโครงการพัฒนาอาคารสถานที่และสิ่งแวดล้อมให้เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โรงเรียนโพธิสารพิทยากรสรุปได้ดังนี้
1. ผลการประเมินบริบทและสภาพแวดล้อม (Context Evaluation) ของโครงการ ผู้ตอบแบบประเมินเป็นผู้บริหารและครู มีความคิดเห็นต่อด้านบริบทและสภาพแวดล้อมในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.21 S.D. = 0.59) ผลการประเมินผ่านเกณฑ์ เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน ได้แก่ ด้านความต้องการจำเป็นของโครงการ ด้านความสอดคล้องกับนโยบายของหน่วยงานต้นสังกัด และด้านความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของโครงการ ผลการประเมินอยู่ในระดับมากทั้ง 3 ด้าน เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อผล การประเมินผ่านเกณฑ์ทุกข้อ มีค่าเฉลี่ยทุกรายการประเมินอยู่ในระดับมากถึงมากที่สุดมีค่าเฉลี่ยของความคิดเห็นระหว่าง 3.78 -4.73
2. ผลการประเมินปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) ของโครงการ ผู้ตอบแบบประเมินเป็นผู้บริหารและครู มีความคิดเห็นต่อด้านปัจจัยนำเข้าในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.40 S.D. = 0.65) ผลการประเมินผ่านเกณฑ์ เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน ได้แก่ บุคลากร งบประมาณ วัสดุและอุปกรณ์ สถานที่ การบริหารจัดการ และการได้รับการสนับสนุนจากชุมชน ผลการประเมินอยู่ในระดับมากทั้ง 6 ด้าน ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านงบประมาณ ( = 4.74 S.D. = 0.67) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อผลการประเมินผ่านเกณฑ์ทุกข้อ มีค่าเฉลี่ยทุกรายการประเมินอยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยของความคิดเห็นระหว่าง 3.86-4.74
3. ผลการประเมินกระบวนการดำเนินงาน (Process Evaluation) ของโครงการ ผู้ตอบแบบประเมินเป็นผู้บริหารและครู มีความคิดเห็นต่อด้านปัจจัยนำเข้าในภาพรวมอยู่ในระดับ ( = 4.20 S.D. = 0.69)ผลการประเมินผ่านเกณฑ์ เมื่อพิจารณาการปฏิบัติกิจกรรมของโครงการตามการบริหารงานด้วยวงจรคุณภาพ (PDCA) ประกอบด้วย การวางแผน การดำเนินงาน การตรวจสอบและติดตาม และ การปรับปรุงอย่างเหมาะสม ผลการประเมินอยู่ในระดับมากทั้ง 4 กระบวนการ เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อผลการประเมินผ่านเกณฑ์ทุกข้อ ในระดับมากทุกข้อ มีค่าเฉลี่ยของความคิดเห็นระหว่าง 3.99-4.45
4. ผลการประเมินด้านผลผลิต (Product Evaluation) ของโครงการ เป็นการประเมินผลลัพธ์ตามวัตถุประสงค์ของโครงการ ได้แก่ ผลที่เกิดแก่นักเรียน ครู และผู้ปกครอง สามารถจำแนกเป็นประเด็นได้ดังนี้
4.1 ผลการประเมินผลผลิตตามความคิดเห็นของผู้บริหารและครูที่มีต่อโครงการ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.30 S.D. = 0.64) ผลการประเมินผ่านเกณฑ์ เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อผลการประเมินผ่านเกณฑ์ทุกข้อ ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ 1) สภาพห้องเรียน วัสดุอุปกรณ์ต่างๆ เช่น โต๊ะ เก้าอี้ สื่อและอุปกรณ์การสอนภายในห้องมีความพร้อมในการใช้งาน ( = 4.73 S.D. = 0.65) 2) โรงเรียนมีห้องสมุดที่มีมาตรฐาน ทันสมัย มีความพร้อมและเหมาะสมในการเป็น แหล่งเรียนรู้ของนักเรียน ( = 4.58 S.D. = 0.55) และ 3) โรงเรียนมีบรรยากาศและสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนการสอน มีแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลายและทันสมัย ( = 4.49 S.D. = 0.66)
4.2 ผลการประเมินผลผลิต ประเมินจากความพึงพอใจของคณะกรรมการสถานศึกษา ขั้นพื้นฐานโรงเรียนโพธิสารพิทยากรและผู้ปกครอง ที่มีต่อผลผลิตของการโครงการในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.23 S.D. = 0.63) ผลการประเมินผ่านเกณฑ์ ผลการประเมินผ่านเกณฑ์ทุกข้อ ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดได้แก่ โรงเรียนมีภูมิทัศน์สวยงาม บรรยากาศร่มรื่น และปลอดภัย ( = 4.47 S.D. = 0.57) รองลงมา คือ โรงเรียนได้รับการยอมรับจากผู้ปกครอง ชุมชนและหน่วยงานต่างๆ ในการจัดกิจกรรมพัฒนาอาคารสถานที่และสิ่งแวดล้อมให้เอื้อต่อการเรียนรู้ ( = 4.41 S.D. = 0.68)
4.3 ผลการประเมินผลผลิต ประเมินจากความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อผลผลิตของ โครงการในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.26 S.D. = 0.63) ผลการประเมินผ่านเกณฑ์ ผลการประเมิน ผ่านเกณฑ์ทุกข้อ ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ สภาพห้องเรียน วัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น สภาพห้องเรียน วัสดุอุปกรณ์ต่างๆ เช่น สภาพห้องเรียน วัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น โต๊ะ เก้าอี้สื่อและอุปกรณ์การสอนภายในห้องมีความพร้อมในการใช้งาน ( = 4.49 S.D. = 0.64) รองลงมาคือ นักเรียนมีความสุขกับการเรียนในห้องเรียนและมีความสุขในการดำเนินชีวิตในโรงเรียน ( = 4.41 S.D. = 0.58) และโรงเรียนมีบรรยากาศและสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนการสอนและการใช้เป็นแหล่งเรียนรู้ ( = 4.38 S.D. = 0.65) ตามลำดับ