บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
ชื่อเรื่อง : การประเมินโครงการส่งเสริมทักษะอาชีพจากภูมิปัญญาท้องถิ่นของนักเรียน โรงเรียนวัดท่าสะท้อน ปีการศึกษา 2564
ชื่อผู้ประเมิน : นางสาวพัณณิตา สุวรรณภักดี ตำแหน่งผู้อำนวยการสถานศึกษา วิทยฐานะ
ผู้อำนวยการชำนาญการ โรงเรียนวัดท่าสะท้อน อำเภอชะอวด จังหวัด
นครศรีธรรมราช สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3
ปีที่ประเมิน : ปีการศึกษา 2564
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
การประเมินโครงการส่งเสริมทักษะอาชีพจากภูมิปัญญาท้องถิ่นของนักเรียน โรงเรียนวัดท่าสะท้อน ปีการศึกษา 2564 โดยใช้รูปแบบซิปป์ (CIPP Model) ในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้
1. เพื่อประเมินสภาพแวดล้อม (Context Evaluation) การประเมินโครงการส่งเสริมทักษะอาชีพจากภูมิปัญญาท้องถิ่นของนักเรียน โรงเรียนวัดท่าสะท้อน ปีการศึกษา 2564
2. เพื่อประเมินปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) การประเมินโครงการส่งเสริมทักษะอาชีพจากภูมิปัญญาท้องถิ่นของนักเรียน โรงเรียนวัดท่าสะท้อน ปีการศึกษา 2564
3. เพื่อประเมินกระบวนการดำเนินงาน (Process Evaluation) การประเมินโครงการส่งเสริมทักษะอาชีพจากภูมิปัญญาท้องถิ่นของนักเรียน โรงเรียนวัดท่าสะท้อน ปีการศึกษา 2564
4. เพื่อประเมินผลผลิต (Product Evaluation) การประเมินโครงการส่งเสริมทักษะอาชีพจากภูมิปัญญาท้องถิ่นของนักเรียน โรงเรียนวัดท่าสะท้อน ปีการศึกษา 2564 ได้แก่
4.1 ผลการจัดกิจกรรมการส่งเสริมทักษะอาชีพจากภูมิปัญญาท้องถิ่นของนักเรียนโรงเรียนวัดท่าสะท้อน ปีการศึกษา 2564
4.2 ความสามารถในการสำรวจ วิเคราะห์ วางแผนเกี่ยวกับงานอาชีพที่นักเรียน มีความสนใจ มีความถนัด และความสามารถของตนเอง
4.3 คุณลักษณะทางทักษะอาชีพและประสบการณ์อาชีพของนักเรียน
4.4 ความพึงพอใจของครูและบุคลากร ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีต่อการดำเนินงานโครงการส่งเสริมทักษะอาชีพจากภูมิปัญญาท้องถิ่นของนักเรียน โรงเรียนวัดท่าสะท้อน ปีการศึกษา 2564
4.5 ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการดำเนินงานโครงการส่งเสริมทักษะอาชีพ
จากภูมิปัญญาท้องถิ่นของนักเรียน โรงเรียนวัดท่าสะท้อน ปีการศึกษา 2564
ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมิน รวมทั้งหมดจำนวน 91 คน ประกอบด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิที่ได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จำนวน 9 คน ครูและบุคลากร จำนวน 7 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 7 คน (ไม่นับรวมตัวแทนครู จำนวน 1 คน และผู้บริหาร จำนวน 1 คน) และผู้ปกครอง จำนวน 50 คน และนักเรียนชั้นประถม ศึกษาปีที่ 4 6 ที่เป็นกลุ่มตัวอย่างที่ได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จำนวน 18 คน ของโรงเรียนวัดท่าสะท้อน อำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช ปีการศึกษา 2564
เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน ได้แก่
ฉบับที่ 1 แบบประเมินด้านสภาพแวดล้อมของโครงการ จำนวน 12 ข้อ
ฉบับที่ 2 แบบประเมินด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการ จำนวน 12 ข้อ
ฉบับที่ 3 แบบประเมินด้านกระบวนการของโครงการ จำนวน 25 ข้อ
ฉบับที่ 4 แบบประเมินด้านผลผลิตโครงการ ประกอบด้วย
ฉบับที่ 4.1 แบบประเมินผลการจัดกิจกรรมการส่งเสริมทักษะอาชีพจากภูมิปัญญาท้องถิ่นของนักเรียน โรงเรียนวัดท่าสะท้อน ปีการศึกษา 2564 จำนวน 10 ข้อ
ฉบับที่ 4.2 แบบประเมินความสามารถในการสำรวจ วิเคราะห์ วางแผนเกี่ยวกับงานอาชีพที่นักเรียนมีความสนใจ มีความถนัด และความสามารถของตนเอง จำนวน 10 ข้อ
ฉบับที่ 4.3 แบบประเมินผลคุณลักษณะทางทักษะอาชีพและประสบการณ์อาชีพของนักเรียน จำนวน 10 ข้อ
ฉบับที่ 4.4 แบบประเมินความพึงพอใจของครูและบุคลากร ผู้ปกครอง และคณะ กรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่มีต่อการดำเนินงานโครงการส่งเสริมทักษะอาชีพจากภูมิปัญญาท้องถิ่นของนักเรียน โรงเรียนวัดท่าสะท้อน ปีการศึกษา 2564 จำนวน 10 ข้อ
ฉบับที่ 4.5 แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการดำเนินงานโครงการส่งเสริมทักษะอาชีพจากภูมิปัญญาท้องถิ่นของนักเรียน โรงเรียนวัดท่าสะท้อน ปีการศึกษา 2564 จำนวน 10 ข้อ
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการประเมิน พบว่า
1. ผลการประเมินโครงการส่งเสริมทักษะอาชีพจากภูมิปัญญาท้องถิ่นของนักเรียน โรงเรียนวัดท่าสะท้อน ปีการศึกษา 2564 ในด้านสภาพแวดล้อม(Context) ตามความคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิ ครูและบุคลากร และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.54 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.50 ผ่านเกณฑ์การประเมิน ซึ่งกำหนดไว้ที่ค่าเฉลี่ย 3.50 ขึ้นไป มีความเหมาะสมผ่านเกณฑ์การประเมินที่จะดำเนินการต่อไป
2. ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้า (Input) โครงการส่งเสริมทักษะอาชีพจากภูมิปัญญาท้องถิ่นของนักเรียน โรงเรียนวัดท่าสะท้อน ปีการศึกษา 2564 ตามคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิ ครูและบุคลากร และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในภาพรวม มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.49 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.55 ผ่านเกณฑ์การประเมิน ซึ่งกำหนดไว้ที่ค่าเฉลี่ย 3.50 ขึ้นไป มีความเหมาะสมผ่านเกณฑ์การประเมินที่จะดำเนินการต่อไป
3. ผลการประเมินด้านกระบวนการ(Process) โครงการส่งเสริมทักษะอาชีพจากภูมิปัญญาท้องถิ่นของนักเรียน โรงเรียนวัดท่าสะท้อน ปีการศึกษา 2564 ตามความคิดเห็นของครูและบุคลากร ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.50 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.54 ผ่านเกณฑ์การประเมินซึ่งกำหนดไว้ที่ค่าเฉลี่ย 3.50 ขึ้นไป
4. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับผลการประเมินโครงการส่งเสริมทักษะอาชีพจากภูมิปัญญาท้องถิ่นของนักเรียน โรงเรียนวัดท่าสะท้อน ปีการศึกษา 2564 ในด้านผลผลิต (Product) ของโครงการ ซึ่งประกอบด้วย 5 ประเด็น ได้แก่
4.1 ผลการจัดกิจกรรมการส่งเสริมทักษะอาชีพจากภูมิปัญญาท้องถิ่นของนักเรียน โรงเรียนวัดท่าสะท้อน ปีการศึกษา 2564 ตามความคิดเห็นของครูและบุคลากรผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.52 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.52 ผ่านเกณฑ์การประเมินซึ่งกำหนดไว้ที่ค่าเฉลี่ย 3.50 ขึ้นไป
4.2 ผลการประเมินความสามารถในการสำรวจ วิเคราะห์ วางแผนเกี่ยวกับงานอาชีพที่นักเรียนมีความสนใจ มีความถนัด และความสามารถของตนเอง ตามความคิดเห็นของครูและบุคลากร และผู้ปกครอง ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.49 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.57 ผ่านเกณฑ์การประเมินซึ่งกำหนดไว้ที่ค่าเฉลี่ย 3.50 ขึ้นไป
4.3 ผลการประเมินคุณลักษณะทางทักษะอาชีพและประสบการณ์อาชีพของนักเรียน ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.51 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.53 ผ่านเกณฑ์การประเมิน ซึ่งกำหนดไว้ที่ค่าเฉลี่ย 3.50 ขึ้นไป
4.4 ผลการประเมินความพึงพอใจของครูและบุคลากร ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในภาพรวมรวมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.56 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.53 ผ่านเกณฑ์การประเมิน ซึ่งกำหนดไว้ที่ค่าเฉลี่ย 3.50 ขึ้นไป
4.5 นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการดำเนินงานโครงการส่งเสริมทักษะอาชีพจากภูมิปัญญาท้องถิ่นของนักเรียน โรงเรียนวัดท่าสะท้อน ปีการศึกษา 2564 ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ย 4.54 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.50 ผ่านเกณฑ์การประเมิน ซึ่งกำหนดไว้ที่ค่าเฉลี่ย 3.50 ขึ้นไป