ชื่อเรื่อง การจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์โดยใช้เทคนิคเพื่อน คู่คิดร่วมกับเกมทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 4
โรงเรียนอนุบาลมหาสารคาม
ผู้วิจัย นางวัลลภา แก้วนะรา
หน่วยงาน โรงเรียนอนุบาลมหาสารคาม
ปีที่พิมพ์ 2563
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์โดยใช้เทคนิคเพื่อนคู่คิดร่วมกับเกมทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนอนุบาลมหาสารคาม และ 2) ศึกษาผลการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์โดยใช้เทคนิคเพื่อนคู่คิดร่วมกับเกมทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนอนุบาลมหาสารคาม โดยใช้วิจัยเชิงปฏิบัติการ 4 ขั้นตอน ประกอบด้วย 1) การวางแผน (Planning) 2) การปฏิบัติ (Action) 3) การสังเกต (Observation) และ 4) การสะท้อนผล (Reflection) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ 1) กลุ่มผู้ร่วมศึกษา และกลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้มาทั้งการสุ่มแบบง่าย และการสุ่มแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ เอกสารประกอบ แบบวัดความรู้ แบบประเมินความสามารถทางการคิดวิเคราะห์ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการศึกษาพบว่า
1. ผลการศึกษาการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์โดยใช้เทคนิคเพื่อนคู่คิดร่วมกับเกมทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนอนุบาลมหาสารคาม
จากการศึกษาเอกสาร วรรณกรรมและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง พบว่า การจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์โดยใช้เทคนิคเพื่อนคู่คิดร่วมกับเกมทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนอนุบาลมหาสารคาม มี 5 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) ระบบงานและกลไก 4) แนวการประเมิน และ 5) เงื่อนไขการนำไปใช้ และจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์โดยใช้เทคนิคเพื่อนคู่คิดร่วมกับเกมทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนอนุบาลมหาสารคาม ตามองค์ประกอบของการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์โดยใช้เทคนิคเพื่อนคู่คิดร่วมกับเกมทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนอนุบาลมหาสารคาม 6 องค์ประกอบ ได้แก่ องค์ประกอบที่ 1 หลักการแนวคิดทฤษฎีพื้นฐาน องค์ประกอบที่ 2 วัตถุประสงค์ของการพัฒนา องค์ประกอบที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนรู้ องค์ประกอบที่ 4 ระบบสังคม องค์ประกอบที่ 5 หลักการตอบสนอง องค์ประกอบที่ 6 ระบบสนับสนุน การนำสู่ปฏิบัติ มี 4 ขั้นตอน ได้แก่ การวางแผน การปฏิบัติ การสังเกตและการสะท้อนผล หลังจากนั้นสนทนากลุ่มผู้วิจัยและเครือข่ายผู้วิจัย จำนวน 4 คน เพื่อกำหนดแนวทางการนำสู่การปฏิบัติผ่าน 4 ขั้นตอน (การวางแผน การปฏิบัติ การสังเกตและการสะท้อนผล) และสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย (เอกสารประกอบ แบบวัดความรู้ แบบประเมินทักษะการแก้ปัญหา แบบสัมภาษณ์ความพึงพอใจของนักเรียนและแบบสอบถามความพึงพอใจของผู้ปกครอง)
2. ผลการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์โดยใช้เทคนิคเพื่อนคู่คิดร่วมกับเกมทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนอนุบาลมหาสารคาม
การนำสู่ปฏิบัติโดยจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์โดยใช้เทคนิคเพื่อนคู่คิดร่วมกับเกมทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนอนุบาลมหาสารคาม ผ่าน 4 ขั้นตอน ได้แก่ การวางแผน การปฏิบัติ การสังเกตและการสะท้อนผล ซึ่งเป็นไปตามที่วางแผนที่วางไว้และเมื่อดำเนินการสิ้นสุดวงรอบที่ 1 ดำเนินการทดสอบวัดความรู้และประเมินทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียน ครั้งที่ 1 และเมื่อดำเนินการสิ้นสุดวงรอบที่ 2 ดำเนินการทดสอบวัดความรู้และประเมินทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนครั้งที่ 2 และสอบถามความพึงพอใจของผู้ปกครอง พบว่า
2.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์โดยใช้เทคนิคเพื่อนคู่คิดร่วมกับเกมทางคณิตศาสตร์วงรอบที่ 2 สูงกว่าวงรอบที่ 1 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
2.2 ทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์โดยใช้เทคนิคเพื่อนคู่คิดร่วมกับเกมทางคณิตศาสตร์วงรอบที่ 2 สูงกว่าวงรอบที่ 1 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
2.3 ทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์โดยใช้เทคนิคเพื่อนคู่คิดร่วมกับเกมทางคณิตศาสตร์วงรอบที่ 2 สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70
2.4 ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์โดยใช้เทคนิคเพื่อนคู่คิดร่วมกับเกมทางคณิตศาสตร์ วงรอบที่ 1 อยู่ในระดับมากและวงรอบที่ 2 อยู่ในระดับมากที่สุด
2.5 ความพึงพอใจของผู้ปกครองที่มีต่อการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์โดยใช้เทคนิคเพื่อนคู่คิดร่วมกับเกมทางคณิตศาสตร์ อยู่ในระดับมาก
2.6 นักเรียนชอบ สนุกกับการเรียนและอยากให้จัดอย่างต่อเนื่อง