การเผยแพร่ผลงาน
รายงาน การประเมินโครงการโรงเรียนวิถีพุทธ โรงเรียนอนุบาลวัดบางนางบุญ ปีการศึกษา 2564
หัวข้อรายงาน การประเมินโครงการโรงเรียนวิถีพุทธ โรงเรียนอนุบาลวัดบางนางบุญ
ชื่อผู้ประเมิน นางสาวธวัลรัตน์ เติมสุข รองผู้อำนวยการโรงเรียนอนุบาลวัดบางนางบุญ
ปีที่เผยแพร่ 2565
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินโครงการโรงเรียนวิถีพุทธ โรงเรียนอนุบาล วัดบางนางบุญ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1 มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ประเมินสภาพแวดล้อม (Context Evaluation) 2. ประเมินปัจจัยเบื้องต้น (Input Evaluation) 3. ประเมินกระบวนการ (Process Evaluation) 4. ประเมินผลผลิต (Product Evaluation) ของโครงการโรงเรียนวิถีพุทธ โรงเรียนโรงเรียนอนุบาลวัดบางนางบุญ และประเมินความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียน นักเรียน ที่มีต่อโครงการโรงเรียนวิถีพุทธ โรงเรียนอนุบาลวัดบางนางบุญ โดยใช้รูปแบบการประเมินโครงการ แบบซิปโมเดล (CIPP Model)
ประชากรและกลุ่มผู้ให้ข้อมูลได้แก่
1. ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 2 คน (ไม่รวมผู้วิจัย)
2. คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 13 คน
(ไม่รวมผู้บริหารสถานศึกษาและผู้แทนครู)
3. ครู จำนวน 46 คน
4. นักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 50 คน
5. ผู้ปกครอง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 50 คน
ประชากรได้มาโดยวิธีเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) รวมทั้งหมด 161 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย (μ) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (σ) ผลการประเมินโครงการโรงเรียนวิถีพุทธ โรงเรียนอนุบาลวัดบางนางบุญ ปีการศึกษา 2564 ปรากฏผลดังนี้
1. ผลการประเมินสภาพแวดล้อม (Context Evaluation) ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (μ=4.45,σ=0.55) โดยมีค่าเฉลี่ย สูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ 1) เป้าหมายของโครงการให้นักเรียนทุกคน ได้ปฏิบัติกิจกรรมตามหลักไตรสิกขาและมีหลักการในการดำเนินชีวิตอย่างเหมาะสมและเป็นการปฎิบัติได้จริง (μ=4.67, σ=0.47) 2) โรงเรียนปรับสภาพแวดล้อมภายในโรงเรียน ให้มีพระพุทธรูปประจำโรงเรียน ห้องเรียน ป้ายพุทธศาสนสุภาษิต ตามสถานที่ต่างๆ สร้างบรรยากาศให้ร่มรื่น ปลอดภัย ปราศจากยาเสพติด เอื้อต่อการเรียนรู้ (μ=4.62, σ=0.48) 3) วัตถุประสงค์ของโครงการส่งเสริมนักเรียนได้ร่วมกันพัฒนาตนเองทางด้านคุณธรรม จริยธรรม และนำความรู้มาใช้ในชีวิตประจำวันตามแนววิถีพุทธ (μ=4.51, σ=0.50) ข้อที่มีผลการประเมินอยู่ในลำดับสุดท้าย ได้แก่ วัตถุประสงค์ของโครงการส่งเสริมให้นักเรียนมีชีวิตที่สัมพันธ์ด้วยดีกับบุคคล ครอบครัว โรงเรียน ชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อม (μ=4.18, σ=0.59)
2. ผลการประเมินปัจจัยเบื้องต้น (Input Evaluation) ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ย สูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ (μ=4.40, σ=0.57) 1) กำหนดทิศทางและจัดทำแผนงาน/โครงการและปฏิทินการปฏิบัติงานตามแผนที่ชัดเจน (μ=4.72, σ=0.45) 2) จัดสถานที่ประดิษฐานพระพุทธรูปประจำโรงเรียนและห้องจริยธรรมอย่างเหมาะสม (μ=4.67, σ=0.47) 3) มีหลักสูตรสถานศึกษา หน่วยการเรียนรู้ ที่บูรณาการพุทธธรรมทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ (μ=4.62, σ=0.48) ข้อที่มีผลการประเมินอยู่ในลำดับสุดท้าย ได้แก่ มีการประสานงานกับบุคลากรจากหน่วยงานต้นสังกัดและหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง(μ=4.07, σ=0.54)
3. ผลการประเมินกระบวนการ (Process Evaluation) ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (μ=4.32, σ=0.62) โดยมีค่าเฉลี่ย สูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ 1) หลักสูตรสถานศึกษาเน้นคุณธรรม จริยธรรม (μ= 4.59, σ=0.49) 2) มีการจัดกิจกรรมส่งเสริมยกย่องทำความดีเป็นประจำ (μ=4.51, σ=0.53) 3) มีการส่งเสริมให้นักเรียนปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ผู้อื่น (μ=4.44, σ=0.59) ข้อที่มีผลการประเมินอยู่ในลำดับสุดท้าย ได้แก่ มีการประเมินผลและสรุปผลกิจกรรมทุกกิจกรรมของโครงการ (μ=4.03, σ=0.57)
4. ผลการประเมินผลผลิต (Product Evaluation) ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (μ=4.39, σ=0.59) โดยมีค่าเฉลี่ย สูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ 1) นักเรียนฝึกบริหารจิต นั่งสมาธิ เป็นประจำ (μ=4.62, σ=0.48) 2) นักเรียนปฏิบัติตามกฎระเบียบของโรงเรียน ห้องเรียน ชุมชน และสังคม (μ=4.57, σ=0.49) 3) นักเรียนร่วมกิจกรรมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม/กิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์กับสิ่งแวดล้อมในโอกาสต่างๆ (μ=4.56, σ=0.51) ข้อที่มีผลการประเมินอยู่ในลำดับสุดท้าย ได้แก่ นักเรียนรู้จักรักษาสุขภาพให้ถูกสุขลักษณะ ป้องกันตนเองจากโรคติดต่อ (μ=3.89, σ=0.66)
5. การประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อโครงการโรงเรียนวิถีพุทธ โรงเรียนอนุบาลวัดบางนางบุญ ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (μ=4.55, σ=0.50) โดยมีค่าเฉลี่ย สูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ ข้อที่นักเรียนมีความพึงพอใจ ได้แก่ นักเรียนมีความศรัทธาและเข้าใจที่ถูกต้องในพระรัตนตรัย (μ=4.88, σ=0.32) รองลงมา คือ นักเรียนไม่ทำลายทรัพย์สมบัติของโรงเรียน (μ=4.84, σ=0.37) และ นักเรียนมีสัมมาคารวะ กริยามารยาทแสดงออกได้เหมาะสมกับกาลเทศะ (μ=4.78, σ=0.46) ตามลำดับ และข้อที่มีความพึงพอใจน้อยที่สุด ได้แก่ นักเรียนรู้จักซ่อมแซมสิ่งของเครื่องใช้ (μ=3.88, σ=0.68)
6. การประเมินความพึงพอใจของผู้ปกครองที่มีต่อโครงการโรงเรียนวิถีพุทธ โรงเรียนอนุบาลวัดบางนางบุญ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (μ=3.78, σ=0.70) โดยมีค่าเฉลี่ย สูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ ข้อที่ผู้ปกครองมีความพึงพอใจ ได้แก่ นักเรียนมีส่วนร่วมในการบำรุงรักษาสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน (μ=4.56, σ=0.51) รองลงมา คือ นักเรียนปฏิบัติตามกฎระเบียบของโรงเรียน ห้องเรียน ชุมชน และสังคม (μ=4.50, σ=0.61) และนักเรียนร่วมกิจกรรมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม/กิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์กับสิ่งแวดล้อมในโอกาสต่างๆ (μ=4.40, σ=0.67) ตามลำดับและข้อที่มีความพึงพอใจน้อยที่สุด ได้แก่ นักเรียนรู้จักรักษาสุขภาพให้ถูกสุขลักษณะ ป้องกันตนเองจากโรคติดต่อ (μ= 3.12, σ=0.74)