รายงานการประเมินโครงการนิเทศภายในงานวิชาการโรงเรียนกะทู้วิทยา สังกัดสำนักงาน
เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพังงา ภูเก็ต ระนอง มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินโครงการนิเทศภายใน
งานวิชาการโรงเรียนกะทู้วิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพังงา ภูเก็ต ระนอง
ในด้านสภาวะแวดล้อม ด้านปัจจัย ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ประกอบด้วย ครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 69 คน และผู้ปกครองนักเรียนทุกระดับชั้น จำนวน 150 คน รวมทั้งสิ้น 219 คน ได้มาโดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามที่ผู้ศึกษาสร้างขึ้นเอง ประกอบด้วย ฉบับที่ 1 ด้านสภาวะแวดล้อม มีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) อยู่ระหว่าง 0.80 - 1.00 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.90 ฉบับที่ 2 ด้านปัจจัย มีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) อยู่ระหว่าง 0.80 - 1.00 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.86 ฉบับที่ 3 ด้านกระบวนการ มีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) อยู่ระหว่าง
0.80 - 1.00 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.84 และฉบับที่ 4 ด้านผลผลิต มีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) อยู่ระหว่าง 0.80 - 1.00 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.96 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป คำนวณหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการประเมินโครงการพบว่า
ผลการประเมินโครงการนิเทศภายในงานวิชาการโรงเรียนกะทู้วิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพังงา ภูเก็ต ระนอง ตามความคิดเห็นของครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครองนักเรียน โดยภาพรวมมีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า
1. ด้านสภาวะแวดล้อมโดยภาพรวมข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดสามอันดับแรก คือ การกำหนดวัตถุประสงค์ เป้าหมายของโครงการ วิธีการดำเนินการและระยะเวลาดำเนินการมีความเหมาะสมสามารถนำไปสู่การปฏิบัติได้ อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือโครงการนี้มีความสอดคล้องกับแนวทางนโยบายการพัฒนาของกระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา นโยบายโรงเรียน อยู่ในระดับมาก และ บุคลากรและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องเห็นความสำคัญและให้การสนับสนุนโครงการ อยู่ในระดับมาก ตามลำดับ
2. ด้านปัจจัยโดยภาพรวมมีผลการประเมินอยู่ในระดับมากโดยข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด
สามอันดับแรก คือความพร้อมในด้านวัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือเครื่องใช้ในการดำเนินโครงการ
อยู่ในระดับมาก รองลงมา การบริหารจัดการการดำเนินโครงการมีความคล่องตัว อยู่ในระดับมากที่สุด และบุคลากรมีส่วนร่วมในการวางแผนการดำเนินโครงการ อยู่ในระดับมาก ตามลำดับ
3. ด้านกระบวนการโดยภาพรวมมีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก โดยข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด
สามอันดับแรก คือ การกำหนดกิจกรรมโครงการเหมาะสมและสอดคล้องกับสภาพของสถานศึกษา
อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือการมีส่วนร่วมในการวางแผนดำเนินงานโครงการเกิดจากความร่วมมือของทุกภาคส่วนอยู่ในระดับมาก และการดำเนินงานตามโครงการได้รับความร่วมมือจากเครือข่าย
ภายในสถานศึกษา อยู่ในระดับมาก ตามลำดับ
4. ในด้านผลผลิตโดยภาพรวมมีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า
4.1 ด้านคุณภาพผู้เรียนโดยพฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียนโดยภาพรวมมีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด โดยข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดสามอันดับแรก คือ นักเรียนได้เรียนรู้ผ่านสื่อ
การเรียนการสอนมากยิ่งขึ้น อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา คือ นักเรียนได้รับการพัฒนาการเรียนรู้ตามสมรรถนะสำคัญและคุณลักษณะอันพึงประสงค์เพิ่มมากขึ้น อยู่ในระดับมากที่สุด และนักเรียนมีส่วนร่วมในการวางแผนและให้ความร่วมมือในการดำเนินโครงการด้วยความเต็มใจ อยู่ในระดับมากที่สุด ตามลำดับ
4.2 ด้านประสิทธิภาพการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของครูผู้สอนโดยข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด
สามอันดับแรก คือ ครูมีการนำผลการดำเนินการมาปรับปรุงการจัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา คือครูจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแผนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ อยู่ในระดับมากที่สุด และมีการส่งเสริมให้ผู้เรียนศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง พร้อมแนะนำแหล่งความรู้เพิ่มเติม
อยู่ในระดับมากที่สุด ตามลำดับ
4.3 ด้านประสิทธิภาพการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาโดยภาพรวมมีผลการประเมิน
อยู่ในระดับมากที่สุด โดยข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดสามอันดับแรก คือ ผู้บริหารมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีมีความสามารถในการติดต่อประสานงานกับทุกฝ่ายทั้งในโรงเรียนและหน่วยงานอื่นอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา คือผู้บริหารมีการมอบหมายงานให้ผู้ร่วมงานตามความถนัดและมีการกำกับติดตามงานเสมอ อยู่ในระดับมากที่สุด และผู้บริหารให้ขวัญและกำลังใจ ยกย่องชมเชยอยู่สม่ำเสมออยู่ในระดับมากที่สุด ตามลำดับ
4.4 ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน สามารถสรุปได้ดังนี้
4.4.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 - 6 ในรายวิชา ภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สังคมศึกษา และภาษาอังกฤษ ปีการศึกษา 2563 เปรียบเทียบ
ปีการศึกษา 2564 ก่อนการดำเนินโครงการนิเทศภายในงานวิชาการโรงเรียนกะทู้วิทยา มีคะแนนเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 73.20 และปีการศึกษา 2564 มีคะแนนเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 80.19 จะเห็นได้ว่าหลังการดำเนินโครงการนิเทศภายในงานวิชาการโรงเรียนกะทู้วิทยา ส่งผลให้มีคะแนนเฉลี่ยรวมทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้เพิ่มขึ้น ร้อยละ 7.18
4.4.2 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน จากผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ
ขั้นพื้นฐาน (O-NET) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2563 ก่อนการดำเนินโครงการนิเทศภายในงานวิชาการโรงเรียนกะทู้วิทยา มีคะแนนเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 32.06 และปีการศึกษา 2564 มีคะแนนเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 35.62 จะเห็นได้ว่าหลังการดำเนินโครงการนิเทศภายในงานวิชาการโรงเรียนกะทู้วิทยา
ส่งผลให้มีคะแนนเฉลี่ยรวมทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้เพิ่มขึ้น ร้อยละ 3.56
4.4.3 ผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน ปีการศึกษา 2563 ก่อนการดำเนินโครงการนิเทศภายในงานวิชาการโรงเรียนกะทู้วิทยา เมื่อพิจารณาตามระดับการประเมินอยู่ในระดับดี-ดีเยี่ยม ร้อยละ 78.15 และปีการศึกษา 2564 พบว่าผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน เมื่อพิจารณาตามระดับการประเมินอยู่ในระดับดี-ดีเยี่ยม ร้อยละ 84.08 ส่งผลให้มีคะแนนเฉลี่ยรวมสูงขึ้น 6.6