ชื่อเรื่อง รายงานการประเมินโครงการนิเทศภายในภายใต้สถานการณ์ COVID -19 ประจำปีการศึกษา 2564 โรงเรียนวัดหนองพะวา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1
ผู้รายงาน นางสาวกันต์พิชญา เมฆโหรา
ปีการศึกษา 2564
บทคัดย่อ
รายงานการประเมินโครงการนิเทศภายในภายใต้สถานการณ์ COVID 19 ประจำปีการศึกษา 2564 โรงเรียนวัดหนองพะวา ตามกรอบแนวคิดแบบจำลองการประเมินซิปป์ (CIPP Model) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินโครงการนิเทศภายใน ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนวัดหนองพะวา ใน 4 ด้าน ดังนี้ 1. การประเมินด้านสภาพแวดล้อม (Context Evaluation: C) 2. การประเมินด้านปัจจัยเบื้องต้น (Input Evaluation: I) 3. การประเมินด้านกระบวนการ (Process Evaluation: P) และ 4. การประเมินด้านผลผลิต (Product Evaluation: P) กลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้ในการประเมิน ได้แก่ ครูผู้สอน โรงเรียนวัดหนองพะวา ปีการศึกษา 2564 จำนวน 30 คน โดยศึกษาประชากร และผู้ปกครองนักเรียน โรงเรียนวัดหนองพะวา ปีการศึกษา 2564 จำนวน 226 คน โดยใช้ตารางสำเร็จรูปของเครซี่และมอร์แกน และเลือกกลุ่มตัวอย่างใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) รวมทั้งสิ้น 256 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) และนำมาวิเคราะห์โดยใช้สถิติการหาค่าเฉลี่ย(Mean) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)
ผลการประเมินโครงการนิเทศภายในภายใต้สถานการณ์ COVID 19 ประจำปีการศึกษา 2564 โรงเรียนวัดหนองพะวา สรุปได้ดังนี้
1. ด้านสภาพแวดล้อม ระดับความคิดเห็นของครูผู้สอน โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด 3 อันดับแรก คือ วัตถุประสงค์ของโครงการได้ระบุถึงการให้นักเรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามเป้าหมายของหลักสูตร รองลงมา คือ โครงการนิเทศภายในมีความจำเป็นและสำคัญต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษา และ วัตถุประสงค์โครงการได้ระบุถึงการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนให้สูงขึ้น, โครงการนิเทศภายในเป็นส่วนหนึ่งของแผนปฏิบัติการประจำปีของโรงเรียน,วัตถุประสงค์โครงการได้ระบุถึงการให้ครูพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้บรรลุวัตถุประสงค์ของหลักสูตร,วัตถุประสงค์โครงการได้ระบุถึงการให้ครูผลิตสื่อและใช้สื่อการสอนมากขึ้น ซึ่งมีค่าเฉลี่ยเรียงตามลำดับ
2. ด้านปัจจัยเบื้องต้น ระดับความคิดเห็นของครูผู้สอน โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด 3 อันดับแรก คือ รูปแบบการปฏิบัติกิจกรรมนิเทศภายในมีความชัดเจนและมีปฏิทินการดำเนินงานนิเทศภายในที่ชัดเจน รองลงมา คือ มีแผนการดำเนินงานนิเทศภายในและติดตามผลการดำเนินงานที่ชัดเจน, คณะกรรมการนิเทศภายในของโรงเรียนมีความรู้ความสามารถในการปฏิบัติงานนิเทศให้มีประสิทธิภาพ,มีการแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานโครงการนิเทศภายในที่เหมาะสม,มีการเตรียมความพร้อมด้านอาคารสถานที่ ห้องเรียน ห้องพิเศษ ให้มีความพร้อมต่อการดำเนินงานนิเทศภายในมีการประชุมครูเพื่อจัดทำโครงการเสนอเข้าแผนปฏิบัติการประจำปีของโรงเรียนและมีการประชุมชี้แจงนโยบายของผู้บริหารให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายรับทราบซึ่งมีค่าเฉลี่ยเรียงตามลำดับ
3. ด้านกระบวนการ ระดับความคิดเห็นของครูผู้สอน โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด 3 อันดับแรก คือ ผู้บริหารโรงเรียนดำเนินการนิเทศภายในโดยทางตรง เช่น การสังเกตการณ์สอนในชั้นเรียน การตรวจเยี่ยมชั้นเรียน การให้คำปรึกษา รองลงมา คือ โรงเรียนมีการกำกับ ติดตาม และนิเทศการจัดการเรียนรู้อย่างสม่ำเสมอ, มีการแจ้งผลการนิเทศภายในให้ครูได้รับทราบเพื่อเป็นข้อมูลย้อนกลับและพัฒนาการจัดการเรียนรู้ต่อไป, มีการกำหนดขอบเขตบทบาทและหน้าที่ของผู้นิเทศและผู้รับการนิเทศ, มีการวางแผนงานนิเทศภายในมีกิจกรรมครอบคลุมภารกิจ, มีการปฏิบัติตามกิจกรรมที่กำหนดไว้ในปฏิทินการนิเทศภายใน,คณะกรรมการนิเทศภายในมีการใช้เครื่องมือ แบบบันทึก และสื่อต่าง ๆ ประกอบการนิเทศภายใน,ผู้บริหารโรงเรียนใช้เทคนิค วิธีการนิเทศโดยทางอ้อมหลากหลายวิธี เช่น การประชุมสัมมา การอบรมเชิงปฏิบัติการ การใช้สื่อประเภทต่าง ๆ, โรงเรียนมีวิธีการและกระบวนการที่หลากหลายในการนิเทศภายใน, โรงเรียนจัดให้มีการประเมินคณะทำงานและประเมินบุคลากรรายบุคคล, มีกิจกรรม หลักฐานที่แสดงว่าครูร่วมกันพิจารณาและแก้ไขปัญหาการจัดการเรียนรู้, โรงเรียนทำการประชุมปรึกษาหารือในการแก้ปัญหาด้านการจัดการเรียนรู้ และมีการเชิญวิทยากรมาให้ความรู้และ มีการเชิญวิทยากรมาให้ความรู้เป็นครั้งคราวตามความจำเป็นและความต้องการของผู้รับการนิเทศ ซึ่งมีค่าเฉลี่ยเรียงตามลำดับ
4. ด้านผลผลิต ระดับความคิดเห็นของครูผู้สอน โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด 3 อันดับแรก คือ โรงเรียนสามารถพัฒนาการดำเนินงานโครงการนิเทศภายในได้อย่างมีประสิทธิภาพ, โรงเรียนมีแผนงานโครงการนิเทศภายในอย่างชัดเจนและครอบคลุมภารกิจ, ผู้บริหารโรงเรียนมีการวางแผนโครงการของโรงเรียนอย่างชัดเจนและควบคุมการดำเนินงานตามแผน, ผู้บริหารโรงเรียนเอาใจใส่ ดูแลการจัดการเรียนรู้และการวัดผลประเมินผลการเรียนรู้ให้ถูกต้องตามระเบียบ, ผู้บริหารโรงเรียนจัดแบ่งงานและมอบหมายหน้าที่ให้บุคลากรตามความถนัด ความรู้ความสามารถ และความสนใจของแต่ละคน, ครูจัดบรรยากาศทั้งในและนอกห้องเรียนที่เอื้อต่อการเรียนรู้, ครูมีความมั่นใจและมีขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงาน, นักเรียนมีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี สามารถอยู่ร่วมกับบุคคลอื่นได้, นักเรียนมีทักษะในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเองจากแหล่งเรียนรู้ทั้งภายในและภายนอกโรงเรียนด้วยวิธีการที่หลากหลาย, ครูเข้าใจบทบาทหน้าที่ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา, นักเรียนมีคุณธรรมจริยธรรมและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามที่โรงเรียนกำหนด, โรงเรียนรายงานผลการดำเนินงานโครงการนิเทศภายในต่อบุคลากรในโรงเรียนและชุมชน, ผลการดำเนินงานโครงการนิเทศภายในเป็นที่ยอมรับและตรงตามความต้องการของครู นักเรียน ผู้ปกครองนักเรียน และชุมชน ซึ่งมีค่าเฉลี่ยเรียงตามลำดับ
สำหรับระดับความคิดเห็นของผู้ปกครองนักเรียน โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด 3 อันดับแรก คือ นักเรียนมีสุขภาพกายที่ดี รองลงมานักเรียนมีสุขภาพจิตดี และนักเรียนอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข ตามลำดับ