บทคัดย่อ
ชื่อเรื่อง รูปแบบการพัฒนาสถานศึกษาด้วยโมเดลการศึกษาแบบองค์รวม (Holistic Education) โรงเรียนตระกาศประชาสามัคคี สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ
ผู้วิจัย นายธนาชัย ไชยสัตย์
ปีที่ทำวิจัย 2564 - 2565
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1.เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาในโรงเรียนตระกาศประชาสามัคคี สังกัดองค์การบริหาร ส่วนจังหวัดศรีสะเกษ 2.เพื่อสร้างการใช้รูปแบบการพัฒนาสถานศึกษาด้วยโมเดลการศึกษาแบบ องค์รวม (Holistic Education) โรงเรียนตระกาศประชาสามัคคี สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด ศรีสะเกษ 3.เพื่อประเมินผลการใช้รูปแบบการพัฒนาสถานศึกษาด้วยโมเดลการศึกษาแบบ องค์รวม (Holistic Education) โรงเรียนตระกาศประชาสามัคคี สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ โดยใช้กระบวนการวิจัย ซึ่งแบ่งการดำเนินการวิจัยเป็น 3 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษา สภาพปัจจุบัน จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค ในการพัฒนาสถานศึกษา โรงเรียนตระกาศประชาสามัคคี กลุ่มผู้ให้ข้อมูลในขั้นตอนนี้ ได้แก่ ผู้วิจัย คณะครู โรงเรียนตระกาศประชาสามัคคี จำนวน 23 คน และศึกษานิเทศก์ จำนวน 1 คน รวมทั้งสิ้น 24 คน ขั้นตอนที่ 2 การสร้างรูปแบบการพัฒนาสถานศึกษาด้วยโมเดลการศึกษาแบบองค์รวม (Holistic Education) ในการพัฒนาสถานศึกษา โรงเรียนตระกาศประชาสามัคคี กลุ่มผู้ให้ข้อมูลในขั้นตอนนี้ได้แก่ ผู้วิจัย ครู โรงเรียนตระกาศประชาสามัคคี จำนวน 23 คน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนตระกาศประชาสามัคคี จำนวน 15 คน ผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความเชี่ยวชาญในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา รวมทั้งสิ้น 38 คน และขั้นตอนที่ 3 การประเมินผลการการใช้รูปแบบการพัฒนาสถานศึกษาด้วยโมเดลการศึกษาแบบองค์รวม (Holistic Education) โรงเรียนตระกาศประชาสามัคคี กลุ่มผู้ให้ข้อมูลในขั้นตอนนี้ ประกอบด้วย คณะกรรมการติดตาม ตรวจสอบและประเมินคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา ประจำภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 5 คน ครูโรงเรียนตระกาศประชาสามัคคี จำนวน 23 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนตระกาศประชาสามัคคี จำนวน 15 คน และผู้ปกครองนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 - 6 ที่เข้าร่วมประชุมผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 295 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบง่าย และมีความยินดี เต็มใจในการให้ข้อมูลในการวิจัย
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบวิเคราะห์เอกสาร แบบบันทึกการจัดการสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion) แบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ ของรูปแบบการพัฒนาสถานศึกษาด้วยโมเดลการศึกษาแบบองค์รวม (Holistic Education) ในการพัฒนาสถานศึกษา แบบประเมินคุณภาพการศึกษา มีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ แบบบันทึกผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 6 แบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
1. สภาพปัจจุบัน จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาสและอุปสรรคในการพัฒนาสถานศึกษาโรงเรียน ตระกาศประชาสามัคคี สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ โรงเรียนตระกาศประชาสามัคคี เป็นโรงเรียนขนาดกลาง จัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 กระทรวงศึกษาธิการ มีนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1- 6 รวมทั้งสิ้น จำนวน 12 ห้องเรียน จำนวน 323 คน ตั้งอยู่ในเขตชุมชน ตำบลตระกาจ อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ สภาพพื้นที่ เป็นที่ราบ บางตอนมีความลาดเอียงค่อนข้างสูง ดินมีลักษณะเป็นดินร่วนภูเขา ดินเหนียวปนทราย และดินลูกรัง มีแหล่งน้ำธรรมชาติที่สำคัญ ห้วยตามาย คือ ผู้ปกครองนักเรียนส่วนใหญ่ร้อยละ 95 ประกอบอาชีพเกษตรกรรม มีรายได้ปานกลาง ผลผลิตต่อปี ขึ้นอยู่กับสภาพของธรรมชาติ ดิน ฟ้า อากาศ จะอำนวย จึงส่งผลกระทบต่อการศึกษาของบุตรหลานในการศึกษาต่อ ในระดับที่สูงขึ้น มีอาชีพเสริม ได้แก่ ตัดเย็บเสื้อผ้า ค้าขาย รับจ้างทั่วไปทั้งในพื้นที่และต่างจังหวัด มีแหล่งเรียนรู้ทางการศึกษา ที่หลากหลาย เช่น เขตอนุรักษ์ป่าชุมชนโรงเรียนตระกาศประชาสามัคคี ศูนย์ศิลปะ และวัฒนธรรมพื้นบ้าน ศูนย์อินเตอร์เน็ตวิชาการโรงเรียนตระกาศประชาสามัคคี และ ศูนย์กีฬาชุมชน
2. ผลการสร้างรูปแบบการพัฒนาสถานศึกษาด้วยโมเดลการศึกษาแบบองค์รวม (Holistic Education) โรงเรียนตระกาศประชาสามัคคี สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ พบว่า ประกอบด้วยรูปแบบการพัฒนาฯหลัก 4 รูปแบบ ได้แก่ รูปแบบการพัฒนาฯที่ 1 (TRAKAD (TK1) ) สร้างความเสมอภาคและเพิ่มโอกาสให้ผู้เรียนได้รับการศึกษาภาคบังคับ ประกอบด้วยรูปแบบ การพัฒนาฯย่อย 2 รูปแบบ คือ รูปแบบการพัฒนาฯย่อยที่ 1 (tk1) เพิ่มโอกาสและสร้างความเสมอภาค ทางการศึกษาครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมายและพื้นที่ และรูปแบบการพัฒนาฯย่อยที่ 2 (tk2) ประสานส่งเสริมสนับสนุนให้ทุกภาคส่วนของสังคม มีส่วนในการจัดการศึกษา รูปแบบการพัฒนาที่ 2 (TRAKAD (TK2) ) การปฏิรูประบบการบริหารหลักสูตร และกระบวนการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และบุคลากรทางการศึกษา ประกอบด้วยรูปแบบการพัฒนาฯย่อย 12 รูปแบบ คือ รูปแบบการพัฒนาฯย่อย ที่ 1 (tk1) การปฏิรูประบบบริหารภายในสถานศึกษา และรูปแบบการพัฒนาฯย่อยที่ 2 (tk2) การปฏิรูปหลักสูตรและกระบวนการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ รูปแบบการพัฒนาฯย่อยที่ 3 (tk3) เพิ่มและพัฒนาศักยภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา รูปแบบการพัฒนาฯย่อยที่ 4 (tk4) ส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม รูปแบบการพัฒนาฯย่อยที่ 5 (tk5) อนุรักษ์ พิทักษ์สิ่งแวดล้อม รูปแบบการพัฒนาฯย่อยที่ 6 (tk6) พัฒนาทักษะกระบวนการทำงาน รูปแบบการพัฒนาฯย่อยที่ 7 (tk7) พัฒนาทักษะกระบวนการคิด รูปแบบการพัฒนาฯย่อยที่ 8 (tk8) พัฒนาผลสัมฤทธิ์ตามเกณฑ์มาตรฐาน รูปแบบการพัฒนาฯย่อยที่ 9 (tk9) ส่งเสริมการอ่านการเขียนเพื่อการเรียนรู้ รูปแบบการพัฒนาฯย่อยที่ 10 (tk10) ส่งเสริมสุขภาพกาย สุขภาพจิตที่ดี มีสุนทรี รูปแบบการพัฒนาฯย่อยที่ 11 (tk11) เพิ่มศักยภาพการเรียนรู้สู่ความ เป็นเลิศ และ รูปแบบการพัฒนาฯย่อยที่ 12 (tk12) พัฒนาระบบช่วยเหลือดูแลนักเรียน รูปแบบการพัฒนาฯที่ 3 (TRAKAD (TK3) ) สร้างสภาพแวดล้อมแหล่งเรียนรู้ วิจัย และนวัตกรรมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ประกอบด้วยรูปแบบการพัฒนาฯย่อย 3 รูปแบบ คือ รูปแบบการพัฒนาฯย่อยที่ 1 (tk1) พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานอาคารและสิ่งแวดล้อมการใช้แหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น รูปแบบการพัฒนาฯย่อยที่ 2 (tk2) ส่งเสริมการวิจัยการใช้สื่อและเทคโนโลยี รูปแบบการพัฒนาฯย่อยที่ 3 (tk3) หนึ่งโรงเรียนหนึ่งนวัตกรรม รูปแบบการพัฒนาฯที่ 4 (TRAKAD (TK4) ) จัดเปิดบ้านวิชาการ (Open House) เสริมสร้างเด็กให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต ประกอบด้วย รูปแบบการพัฒนาฯย่อย 2 รูปแบบ คือ รูปแบบการพัฒนาฯย่อยที่ 1 (tk1) เสริมสร้างเด็กไทยให้เกิดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง และรูปแบบการพัฒนาฯย่อยที่ 2 (tk1) ส่งเสริมการเผยแพร่และการนำความรู้ไปใช้ในการดำรงชีวิต ซึ่งรูปแบบการพัฒนาฯหลัก และรูปแบบการพัฒนาฯย่อย มีความเหมาะสมและความเป็นไปได้ โดยรวมอยู่ในระดับ มาก
3. เพื่อประเมินผลการใช้รูปแบบการพัฒนาสถานศึกษาด้วยโมเดลการศึกษแบบองค์รวม (Holistic Education) โรงเรียนตระกาศประชาสามัคคี สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ พบว่า ผลการวิเคราะห์การประเมินคุณภาพการศึกษาโรงเรียนตระกาศประชาสามัคคี ปีการศึกษา 2564 มีค่าเฉลี่ย 89.05 อยู่ในระดับดี ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1- 6 โรงเรียนตระกาศประชาสามัคคี ปีการศึกษา 2563 มีค่าเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 71.24 ปีการศึกษา 2564 มีค่าเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 74.28 ซึ่งมีพัฒนาการสูงขึ้นคิดเป็นร้อยละ 3.03 เมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ พบว่า มีพัฒนาการ การเรียนรู้ เรียงลำดับจากมากไปหาน้อยคือ สุขศึกษาและพลศึกษา การงานอาชีพ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ศิลปะ สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ภาษาไทย คณิตศาสตร์ และ ภาษาอังกฤษ และผลการวิเคราะห์ความพึงพอใจที่มีต่อของกลุ่มผู้ให้ข้อมูลที่มีต่อรูปแบบการพัฒนาสถานศึกษาด้วยโมเดลการศึกษาแบบองค์รวม (Holistic Education) ในการพัฒนาสถานศึกษา โรงเรียนตระกาศประชาสามัคคี สรุปได้ว่า กลุ่มผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วย ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครองนักเรียน มีความพึงพอใจต่อรูปแบบการพัฒนาสถานศึกษาด้วยโมเดลการศึกษาแบบองค์รวม (Holistic Education) โรงเรียนตระกาศประชาสามัคคี มีความพึงพอใจ อยู่ในระดับ มาก