ชื่อเรื่อง : รายงานการประเมินโครงการพัฒนาการเรียนการสอนโดยใช้กระบวนการวิจัยในชั้นเรียนของโรงเรียนชุมชนวัดชุมพร
ผู้รายงาน : นางสาวนงลักษณ์ โล่ห์ทอง
หน่วยงาน : โรงเรียนชุมชนวัดชุมพร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3
ปีการศึกษา : 2565
บทคัดย่อ
รายงานการประเมินโครงการพัฒนาการเรียนการสอนโดยใช้กระบวนการวิจัยในชั้นเรียนของโรงเรียนชุมชนวัดชุมพรครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินโครงการพัฒนาการเรียนการสอนโดยใช้กระบวนการวิจัยในชั้นเรียนของโรงเรียนชุมชนวัดชุมพร โดยใช้รูปแบบ CIPPIEST Model กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินโครงการครั้งนี้ประกอบด้วย ผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 1 คน ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 27 คน นักเรียน จำนวน 155 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 13 คน และผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 155 คน รวมทั้งสิ้น 351 คน โดยใช้การสุ่มแบบง่าย (Simple Random Sampling) จากการกำหนดกลุ่มตัวอย่างตารางของเครซี่มอร์แกน (Krejcie & Morgan) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) ชนิด 5 ระดับ ตามวิธีการของลิเคอร์ท (Likert Method) ซึ่งสอบถามเกี่ยวกับสภาพการดำเนินงานการพัฒนาการเรียนการสอนโดยใช้กระบวนการวิจัยในชั้นเรียนของโรงเรียนชุมชนวัดชุมพร และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
ผลการประเมินพบว่า
1. ผลการดำเนินงานโครงการพัฒนาการเรียนการสอนโดยใช้กระบวนการวิจัยในชั้นเรียนของโรงเรียนชุมชนวัดชุมพร ด้านสภาวะแวดล้อม (Context) โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด พิจารณาเป็นรายข้อและเรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย 3 อันดับแรก ได้แก่ หลักการและวัตถุประสงค์มีความสอดคล้องกัน รองลงมาคือ ผู้บริหารมีความชัดเจนในการดำเนินโครงการ และครูมีความกระตือรือร้นในการพัฒนาการเรียนการสอน ตามลำดับ
2. ผลการดำเนินงานโครงการพัฒนาการเรียนการสอนโดยใช้กระบวนการวิจัยในชั้นเรียนของโรงเรียนชุมชนวัดชุมพร ด้านปัจจัยเบื้องต้น (Input) โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด พิจารณาเป็นรายข้อและเรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย 3 อันดับแรก ได้แก่ ผู้บริหารและครูผู้รับผิดชอบโครงการมีความรู้ความสามารถในการดำเนินโครงการให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ รองลงมาคือ มีการกำหนดบทบาทและหน้าที่ความรับผิดชอบแก่บุคลากรในการดำเนินโครงการไว้อย่างชัดเจน และมีคู่มือ/เอกสารและแหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับงานวิจัยในชั้นเรียนเป็นแนวทางการดำเนินงานวิจัยในทิศทางเดียวกันอย่างชัดเจน ตามลำดับ
3. ผลการดำเนินงานโครงการพัฒนาการเรียนการสอนโดยใช้กระบวนการวิจัยในชั้นเรียนของโรงเรียนชุมชนวัดชุมพร ด้านกระบวนการ (Process) โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด พิจารณาเป็นรายข้อและเรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย 3 อันดับแรก ได้แก่ มีการนิเทศติดตามการดำเนินงานด้านการจัดการเรียนการสอนและการทำวิจัยในชั้นเรียน รองลงมาคือ ครูให้ความสนใจและจัดการเรียนการสอนที่ควบคู่ไปกับกระบวนการวิจัยในชั้นเรียน และครูพัฒนางานวิจัยโดยใช้ปัญหาที่เกิดขึ้นจากบันทึกหลังการจัดการเรียนรู้ ตามลำดับ
4. ผลการดำเนินงานโครงการพัฒนาการเรียนการสอนโดยใช้กระบวนการวิจัยในชั้นเรียนของโรงเรียนชุมชนวัดชุมพร ด้านผลผลิต (Product) โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด พิจารณาเป็นรายข้อและเรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย 3 อันดับแรก คือ ครูสามารถนำผลการวิจัยในชั้นเรียนมาใช้แก้ไขปัญหาและวางแผนการสอนได้ รองลงมาคือ มีการปฏิบัติตามปฏิทินการดำเนินกิจกรรมที่กำหนด และครูได้พัฒนาเทคนิควิธีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่มีคุณภาพส่งผลต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน ตามลำดับ
5. ผลการดำเนินงานโครงการพัฒนาการเรียนการสอนโดยใช้กระบวนการวิจัยในชั้นเรียนของโรงเรียนชุมชนวัดชุมพร ด้านผลกระทบ (Impact) โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด พิจารณาเป็นรายข้อและเรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย 3 อันดับแรก คือ นักเรียนมีปัญหาด้านการเรียนและด้านพฤติกรรมลดลง รองลงมาคือ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมีความพึงพอใจต่อการพัฒนาการจัดการศึกษาของโรงเรียน ความมีชื่อเสียงของโรงเรียน รางวัล/เกียรติยศ และการยอมรับของชุมชน ตามลำดับ
6. ผลการดำเนินงานโครงการพัฒนาการเรียนการสอนโดยใช้กระบวนการวิจัยในชั้นเรียนของโรงเรียนชุมชนวัดชุมพร ด้านประสิทธิผล (Effectiveness) โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด พิจารณาเป็นรายข้อและเรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย 3 อันดับแรก คือ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนสูงขึ้น รองลงมาคือ ครูสามารถแก้ปัญหาในชั้นเรียนได้อย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ และกิจกรรมที่ดำเนินการบรรลุเป้าหมายทุกกิจกรรม ตามลำดับ
7. ผลการดำเนินงานโครงการพัฒนาการเรียนการสอนโดยใช้กระบวนการวิจัยในชั้นเรียนของโรงเรียนชุมชนวัดชุมพร ด้านความยั่งยืน (Sustainability) โดยรวมอยู่ในระดับมาก พิจารณาเป็นรายข้อและเรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย 3 อันดับแรก คือ ครูมีการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง รองลงมาคือ มีการจัดประชุมติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงานของโรงเรียน และการมีทักษะในการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียนด้วยวิธีการที่เหมาะสม ตามลำดับ
8. ผลการดำเนินงานโครงการพัฒนาการเรียนการสอนโดยใช้กระบวนการวิจัยในชั้นเรียนของโรงเรียนชุมชนวัดชุมพร ด้านการถ่ายโยงความรู้ (Transportability) โดยรวมอยู่ในระดับมาก พิจารณาเป็นรายข้อและเรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย 3 อันดับแรก คือ ครูมีการถ่ายโยงความรู้และถ่ายทอดขยายผลโดยการปรับปรุงพัฒนางานวิจัยและนำความรู้ที่ได้จากงานวิจัยไปใช้ในเรื่องใหม่ รองลงมาคือ มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้แบบชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพกับเพื่อนร่วมงาน และครูนำผลงานวิจัยไปใช้พัฒนาต่อยอดให้เป็นผลงานทางวิชาการ ตามลำดับ