ชื่อเรื่อง รายงานการประเมินโครงการป้องกันอุบัติภัย โรงเรียนอนุบาลสมุทรสงคราม
ผู้รายงาน นายวันชนะ วุฒิทศพร
ปีที่รายงาน ปีการศึกษา 2564
บทคัดย่อ
รายงานการประเมินโครงการป้องกันอุบัติภัย โรงเรียนอนุบาลสมุทรสงคราม มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อประเมินบริบทโครงการป้องกันอุบัติภัย 2) เพื่อประเมินปัจจัยนำเข้าโครงการป้องกันอุบัติภัย 3) เพื่อประเมินกระบวนการโครงการป้องกันอุบัติภัย 4) เพื่อประเมินผลผลิตโครงการป้องกันอุบัติภัย ดังนี้
4.1 โรงเรียนอนุบาลสมุทรสงคราม มีคุณภาพตามเกณฑ์ข้อกำหนดของสถานศึกษาปลอดภัย ทั้ง 3 ด้าน คือ ด้านความปลอดภัย ด้านสุขอนามัย และด้านสภาพแวดล้อมในการทำงาน
4.2. กิจกรรมส่งเสริมและสนับสนุนโครงการป้องกันอุบัติภัย โรงเรียนอนุบาลสมุทรสงคราม
4.3 ความพึงพอใจของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง
กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้ ประกอบด้วย กลุ่มตัวอย่างผู้บริหารและครู จำนวน 62 คนกลุ่มตัวอย่างคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 13 คน กลุ่มตัวอย่างผู้ปกครอง จำนวน 219 คน และกลุ่มตัวอย่างนักเรียน จำนวน 219 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วยแบบสอบถาม ที่มีลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ และมีข้อคำถามปลายเปิด จำนวน 5 ฉบับ ทุกฉบับผ่านการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือ โดยมีค่าความเชื่อมั่นทุกฉบับอยู่ระหว่าง 0.12 ถึง 0.49 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการประเมิน พบว่า
1. ผลการประเมินด้านบริบทของโครงการป้องกันอุบัติภัย มีผลการประเมิน ดังนี้
1.1 ผลการประเมินด้านบริบทของโครงการป้องกันอุบัติภัย ตามความคิดเห็นของครู โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ย 4.58 และมีผลการประเมินในระดับใกล้เคียงกัน มีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.55 เมื่อพิจารณาผลการประเมินรายข้อ พบว่า เป้าหมายของโครงการเป็นไปตามความต้องการของสังคมและชุมชน มีผลประเมินสูงกว่าด้านอื่นๆ โดยมีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ย 4.69 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.50
1.2 ผลการประเมินด้านบริบทของโครงการป้องกันอุบัติภัย ตามความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาฯ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ย 4.35 และมีผลการประเมินในระดับใกล้เคียงกัน มีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.52 เมื่อพิจารณาผลการประเมินรายข้อ พบว่า โครงการป้องกันอุบัติภัย โรงเรียนอนุบาลสมุทรสงคราม มีผลประเมินสูงกว่าด้านอื่นๆ โดยมีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ย 4.69 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.48
2. ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้าโครงการป้องกันอุบัติภัย ตามความคิดเห็นของครู โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.58 มีผลการประเมินใกล้เคียงกัน มีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.50 เมื่อแยกพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า
2.1 ด้านความพร้อมของงบประมาณ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ย 4.66 และมีผลการประเมินในระดับใกล้เคียงกัน มีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.48 เมื่อพิจารณาผลการประเมินรายข้อ พบว่า งบประมาณการดำเนินโครงการมีความเหมาะสมเพียงพอ มีผลการประเมินสูงกว่าด้านอื่นๆ โดยผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.68 มีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.47
2.2 ด้านความพร้อมบุคลากร โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ย 4.59 และมีผลการประเมินในระดับใกล้เคียงกัน มีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.52 เมื่อพิจารณาผลการประเมินรายข้อ พบว่า ผู้รับผิดชอบโครงการมีความรู้ความเข้าใจในวิธีการดำเนินงานโครงการให้บรรลุวัตถุประสงค์ มีผลการประเมินสูงกว่าด้านอื่นๆ โดยผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.69 มีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.46
2.3 ด้านความพร้อมของสื่อวัสดุอุปกรณ์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ย 4.53 และมีผลการประเมินในระดับใกล้เคียงกัน มีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.50 เมื่อพิจารณาผลการประเมินรายข้อ พบว่า มีเอกสาร หนังสือ คู่มือเกี่ยวกับแนวทางการป้องกันการเกิดอุบัติภัย มีผลการประเมินสูงกว่าด้านอื่นๆ โดยผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.74 มีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.48 รองลงมา คือ มีสื่อ วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือเครื่องใช้ที่จำเป็นในการจัดกิจกรรมตามโครงการมีความเพียงพอและเหมาะสม มีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.56 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.50
3. ผลการประเมินด้านกระบวนการโครงการป้องกันอุบัติภัย ตามความคิดเห็นของครู โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.55 และมีผลการประเมินใกล้เคียงกัน โดยมีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.51 เมื่อแยกพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า
3.1 ด้านการวางแผน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ย 4.60 และมีผลการประเมินในระดับใกล้เคียงกัน มีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.51 เมื่อพิจารณาผลการประเมินรายข้อ พบว่า ประชุมและแต่งตั้งคณะทำงานเพื่อรับผิดชอบดำเนินงานตามโครงการ มีผลการประเมินสูงกว่าด้านอื่นๆ โดยผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.68 มีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.47
3.2 ด้านการดำเนินงานตามแผน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ย 4.57 และมีผลการประเมินในระดับใกล้เคียงกัน มีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.52 เมื่อพิจารณาผลการประเมินรายข้อ พบว่า แผนปฏิบัติการมีการกำหนดกิจกรรมไว้ครอบคลุมทุกด้าน มีผลการประเมินสูงกว่าด้านอื่นๆ โดยผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.71 มีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.49
3.3 ด้านการประเมินผล โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ย 4.47 และมีผลการประเมินในระดับใกล้เคียงกัน มีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.50 เมื่อพิจารณาผลการประเมินรายข้อ พบว่า มีการนิเทศ ติดตาม การดำเนินงานของโครงการ มีผลการประเมินสูงกว่าด้านอื่นๆ โดยผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.53 มีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.50 รองลงมา คือ ดำเนินการประสานงานเพื่อรับความช่วยเหลือจากชุมชนและหน่วยงานอื่น มีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.52 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.50
4. ผลการประเมินด้านกระบวนการ โครงการป้องกันอุบัติภัย ตามความคิดเห็นของครู โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.53 มีผลการประเมินใกล้เคียงกัน มีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.50 เมื่อแยกพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า
4.1 ด้านความปลอดภัย ข้อที่มีระดับปฏิบัติการมากที่สุดคือ มีมาตรการความปลอดภัยเกี่ยวกับสารเคมีในสถานศึกษา มีผลการประเมินสูงกว่าด้านอื่นๆ โดยผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.71 มีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.49
4.2 กิจกรรมส่งเสริมและสนับสนุนโครงการป้องกันอุบัติภัย
- ผลการทดสอบหลังเรียนของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4, 5 และ 6 วิชาสุขศึกษา หน่วยการเรียนรู้ความปลอดภัยในชีวิต คิดคะแนนเป็นเปอร์เซ็นต์ พบว่า นักเรียนที่ได้ผ่านเกณฑ์การทดสอบ ≥ 50 % คิดเป็นร้อยละ 100 และมีการเปรียบเทียบคะแนนก่อนและหลังเรียนโดยหาค่าเฉลี่ยด้วย t - test พบว่าคะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 ซึ่งผ่านเกณฑ์ทางสถิติที่ระดับ .05
- นักเรียนมีสุขภาพกาย การบันทึกผลการตรวจสุขภาพนักเรียน โดยใช้นักเรียนกลุ่มตัวอย่างจำนวน 219 คน พิจารณาระดับคะแนนสูงสุดอยู่ในระดับ 3.00 มีนักเรียนจำนวน 107 คน รองลงมาคือ 2.90 มีนักเรียนจำนวน 41 คน และน้อยที่สุด คือ 2.40 มีนักเรียนจำนวน 4 คน จากเกณฑ์การประเมินนักเรียนร้อยละ 90 มีค่าเฉลี่ยระดับคุณภาพ ≥ 2 ซึ่งสรุปได้ว่าผลคะแนนการตรวจสุขภาพนักเรียนร้อยละ 100 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
- นักเรียนมีสุขภาพจิตที่ดี ผลสรุปข้อมูลพฤติกรรมนักเรียนรายบุคคล พบว่า มีนักเรียนกลุ่มปกติ จำนวน 216 คน คิดเป็นร้อยละ 98.63 นักเรียนกลุ่มเสี่ยง จำนวน 2 คน คิดเป็นร้อยละ 0.91 นักเรียนกลุ่มมีปัญหา จำนวน 1 คน คิดเป็นร้อยละ 0.46 จากเกณฑ์การประเมินร้อยละ 90 นักเรียนเป็นกลุ่มปกติ ซึ่งสรุปได้ว่าผลการแปลข้อมูล นักเรียนร้อยละ 98.63 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.3 ผลการประเมินความพึงพอใจ มีดังนี้
- ความพึงพอใจตามความคิดเห็นของครู โดยภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 4.33 โดยมีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.76 ข้อที่มีระดับความพึงพอใจมากที่สุดคือ กิจกรรมในโครงการส่งเสริมให้นักเรียนมีความเข้าใจในเรื่องความปลอดภัยเพิ่มยิ่งขึ้น มีค่าเฉลี่ย 4.45 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.78
- ความพึงพอใจตามความคิดเห็นของผู้ปกครอง โดยภาพรวมผู้ปกครองมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 4.33 โดยมีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.79 ข้อที่มีระดับความพึงพอใจมากที่สุด คือ กิจกรรมในโครงการส่งเสริมให้นักเรียนมีความเข้าใจในเรื่องความปลอดภัยเพิ่มยิ่งขึ้น มีค่าเฉลี่ย 4.47 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.74
- ความพึงพอใจตามความคิดเห็นของนักเรียน โดยภาพรวมนักเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก และมีค่าเฉลี่ย 4.35 มีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.79 ข้อที่มีระดับความพึงพอใจมากที่สุด คือ กิจกรรมในโครงการส่งเสริมให้นักเรียนมีความเข้าใจในเรื่องความปลอดภัยเพิ่มยิ่งขึ้น มีค่าเฉลี่ย 4.45 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.74