การบริหารจัดการศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงศูนย์เครือข่ายการศึกษา
ตำบลเวียงสันทรายงาม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 4
Educational dministration in 21st Century
according to Sufficiency Economy Philosophy, Wiang Sun Sai Ngam Sub-District
Educational Network Center ,under Chiang Rai Primary Educational Service Area Office 4
ธัญญาลักษณ์ จิตถา ( Tanyaluck Jittha )
ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา) มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่
อาจารย์ที่ปรึกษา ดร. สุรศักดิ์ สุทธสิริ Lect. Dr.Surasak Suthasiri
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและข้อเสนอแนะการบริหารจัดการศึกษาในศตวรรษที่
21 ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงศูนย์เครือข่ายการศึกษาตำบลเวียงสันทรายงาม สำนักงานเขตพื้นที่
การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 4 ประชากร ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอนในโรงเรียนขนาดกลาง
ศูนย์เครือข่ายการศึกษาตำบลเวียงสันทรายงาม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงรายเขต 4
ปีการศึกษา 2564 จำนวน 58 คน รวบรวมเครื่องมือโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าความถี่
ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย พบว่า
การบริหารจัดการศึกษาในศตวรรษที่ 21 ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ศูนย์เครือข่าย
การศึกษาตำบลเวียงสันทรายงาม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 4 โดยรวมอยู่ใน
ระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ ด้านการบริหารงานทั่วไป อยู่ใน
ระดับมาก รองลงมา ด้านการบริหารงานบุคคล อยู่ในระดับมาก ด้านการบริหารงบประมาณ อยู่ในระดับมาก
และ ด้านการบริหารวิชาการ อยู่ในระดับมาก
ปัญหา คือ ผู้บริหารวางแผนกรอบอัตรากำลังของสถานศึกษาให้ไม่พอดีกับปริมาณงาน สื่อนวัตกรรม
อุปกรณ์และสิ่งอำนวยสะดวกในการจัดการเรียนการสอนอย่างไม่เพียงพอ ครูไม่ค่อยเข้าใจในปฏิบัติงานด้าน
งบประมาณ และสถานศึกษาให้ความสำคัญเพียงเล็กน้อยในการมีส่วนร่วมกับชุมชนในการส่งเสริมการเรียนรู้เพื่อ
การเป็นอยู่อย่างพอเพียง
ข้อเสนอแนะ คือ ผู้บริหารควรวางแผนกรอบอัตรากำลังของสถานศึกษาให้พอดีกับปริมาณงาน ควร
สนับสนุนสื่อนวัตกรรม อุปกรณ์และสิ่งอำนวยสะดวกในการจัดการเรียนการสอนอย่างเพียงพอ ควรสนับสนุนให้
ผู้ปฏิบัติงานด้านงบประมาณเข้ารับการอบรมในทุกปีและควรมีการประสานสัมพันธ์กับชุมชน ให้มีส่วนร่วมใน
การส่งเสริมการเรียนรู้เพื่อการเป็นอยู่อย่างพอเพียงแบบต่อเนื่อง
คำสำคัญ : การบริหารจัดการศึกษา, หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง, สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ประถมศึกษา