ชื่อเรื่อง รายงานการประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนภายใต้การจัดการเรียนรู้
ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
โรงเรียนมหาวชิราวุธ จังหวัดสงขลา ปีการศึกษา 2564
ผู้ประเมิน นายพนมยงค์ นวลพรหม
รองผู้อำนวยการโรงเรียนมหาวชิราวุธ จังหวัดสงขลา
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา สงขลา สตูล
ปีที่ประเมิน 2564
รายงานการประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนภายใต้การจัดการเรียนรู้ ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) โรงเรียนมหาวชิราวุธ จังหวัดสงขลา ปีการศึกษา 2564 โดยใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์ (CIPP Model) มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อประเมินด้านสภาพแวดล้อม(Context Evaluation)ของโครงการ (2) เพื่อประเมินด้านปัจจัย (Input Evaluation)ของโครงการ (3) เพื่อประเมินด้านกระบวนการ (Process Evaluation)ของโครงการ (4) เพื่อประเมินด้านผลผลิต(Product Evaluation)ของโครงการ (5) เพื่อศึกษาผลกระทบ(Impact)ของโครงการ
โครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนภายใต้การจัดการเรียนรู้ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) โรงเรียนมหาวชิราวุธ จังหวัดสงขลา ปีการศึกษา 2564 ใช้ระยะเวลาในการดำเนินโครงการ ในปีการศึกษา 2564 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ จำนวน 830 คน ประกอบด้วย นักเรียน จำนวน 351 คน ครูที่ปรึกษา จำนวน 118 คน ผู้ปกครอง จำนวน 351 คน และผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 10 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน ได้แก่ เครื่องมือมีจำนวน 6 ฉบับ คือ (1) แบบสอบถามด้านสภาพแวดล้อมก่อนการดำเนินงานตามโครงการ (2) แบบสอบถามด้านปัจจัยในการดำเนินการตามโครงการ (3) แบบสอบถามความคิดเห็นด้านกระบวนการดำเนินงาน (4) แบบสอบถามด้านคุณภาพนักเรียน (5) แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนต่อการปฏิบัติหน้าที่ของครูที่ปรึกษา ตามระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน (6) แบบสอบถามความคิดเห็นของผู้ปกครองนักเรียนที่มีต่อระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือค่าร้อยละค่าเฉลี่ย (X) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน( S.D. ) และค่าร้อยละ
สรุปผลการประเมิน ดังนี้
1. ผลการประเมินประเด็นสภาพแวดล้อมของโครงการ โดยการประเมิน 4 ตัวชี้วัด โดยภาพรวมพบว่าผ่านเกณฑ์การประเมินและอยู่ในระดับมากที่สุดและตัวชี้วัดทั้ง 4 ตัวชี้วัด มีผลการประเมินดังนี้
1.1 ความจำเป็นของโครงการ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินและอยู่ในระดับมากที่สุด
1.2 ความเหมาะสมของวัตถุประสงค์โครงการ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินและอยู่ในระดับมากที่สุด
1.3 ความเป็นไปได้ของโครงการ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินและอยู่ในระดับมากที่สุด
1.4 ความสอดคล้องกับนโยบายหน่วยงานต้นสังกัด พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินและอยู่ในระดับมากที่สุด
2. ผลการประเมินประเด็นปัจจัยของโครงการ โดยการประเมิน จำนวน 5 ตัวชี้วัด โดยภาพรวมพบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินและอยู่ในระดับมากที่สุดและตัวชี้วัดทั้ง 5 ตัวชี้วัด มีผลการประเมินดังนี้
2.1 ด้านผู้บริหาร พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินและอยู่ในระดับมากที่สุด
2.2 ด้านครู พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินและอยู่ในระดับมากที่สุด
2.3 ด้านด้านผู้ปกครอง พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินและอยู่ในระดับมาก
2.4 ด้านนักเรียน พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินและอยู่ในระดับมาก
2.5 ด้านสถานศึกษา พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินและอยู่ในระดับมากที่สุด
3. ผลการประเมินประเด็นกระบวนการดำเนินโครงการโดยการประเมิน 3 ตัวชี้วัด โดยภาพรวมพบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินและอยู่ในระดับมากที่สุด และตัวชี้วัดทั้ง 3 ตัวชี้วัด มีผลการประเมินดังนี้
3.1 ด้านการวางระบบการบริหารงาน พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินและอยู่ในระดับมากที่สุด
3.2 ด้านการดำเนินงาน พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินและอยู่ในระดับมากที่สุด
3.3 ด้านการนิเทศ กำกับ ติดตาม ประเมินผล และรายงานผล พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินและอยู่ในระดับมาก
4. ผลการประเมินประเด็นผลผลิตของโครงการ โดยการประเมินจำนวน 3 ตัวชี้วัด พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินและอยู่ในระดับมากที่สุด และตัวชี้วัด 3 ตัวชี้วัด มีผลการประเมินดังนี้
4.1 ด้านคุณภาพนักเรียน พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินและอยู่ในระดับมาก
4.2 ด้านความคิดเห็นของนักเรียนต่อการปฏิบัติหน้าที่ของครูที่ปรึกษา พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินและอยู่ในระดับมากที่สุด
4.3 ด้านความคิดเห็นของผู้ปกครองนักเรียนที่มีต่อระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินและอยู่ในระดับมากที่สุด
5. ผลการประเมินโครงการ ในภาพรวมของโครงการ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน โดยอยู่ในระดับมากที่สุด