ชื่อเรื่อง การประเมินโครงการนิเทศภายในโรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภชบางขุนเทียน ตามวงจรคุณภาพโดยใช้แบบจำลองซิปป์ (CIPP MODEL)
ผู้รายงาน ศิรินาถ อุดมถิรพันธุ์
หน่วยงาน โรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภชบางขุนเทียน
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1
ปีที่รายงาน ปีการศึกษา 2564
บทคัดย่อ
การประเมินโครงการนิเทศภายในโรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภชบางขุนเทียนตามวงจรคุณภาพ โดยใช้แบบจำลองซิปป์ (CIPP Model) มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินบริบท ปัจจัยนำเข้า กระบวนการดำเนินงาน และผลผลิตของโครงการ ในด้านผลการดำเนินงานตามโครงการ ด้านประสิทธิภาพและประสิทธิผลการปฏิบัติงานของครู และด้านความพึงพอใจของผู้ที่เกี่ยวข้องกับโครงการ ได้แก่ บุคลากร นักเรียน และผู้ปกครอง โดยใช้รูปแบบซิปป์ (CIPP Model) แหล่งข้อมูลประเภทบุคคลประกอบด้วย 3 กลุ่ม คือ บุคลากร จำนวน 161 คน นักเรียน และผู้ปกครองนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1- 6 โรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภชบางขุนเทียน ปีการศึกษา 2564 จำนวนกลุ่มละ 341 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินจำนวน 10 ฉบับ ประกอบด้วยแบบสอบถามจำนวน 7 ฉบับ และแบบบันทึกข้อมูลสารสนเทศ จำนวน 3 ฉบับ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการสอบถามและบันทึกข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ประมวลผลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป โดยสรุปผลการประเมินได้ ดังนี้
ผลการประเมินโครงการนิเทศภายในโรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภชบางขุนเทียนตามวงจรคุณภาพ โดยใช้แบบจำลองซิปป์ (CIPP Model) พบว่าภาพรวม ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้ง 15 ตัวชี้วัด โดยผ่านเกณฑ์ในระดับมากที่สุด จำนวน 8 ตัวชี้วัด และระดับมาก จำนวน 7 ตัวชี้วัด ซึ่งสาระสำคัญของสรุปผลการประเมินตามวัตถุประสงค์การประเมินโครงการ มีดังนี้
1. การประเมินบริบทของโครงการ ผลการประเมินภาพรวมอยู่ในระดับมาก และผลการประเมินตัวชี้วัด 4 ตัวชี้วัด มีดังนี้
1.1 ด้านความต้องการจำเป็นของโครงการ อยู่ในระดับมาก
1.2 ด้านวัตถุประสงค์ของโครงการ อยู่ในระดับมากที่สุด
1.3 ด้านกิจกรรมต่าง ๆ ของโครงการ อยู่ในระดับมาก
1.4 ด้านผลที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการ อยู่ในระดับมาก
2. การประเมินปัจจัยนำเข้าของโครงการ ผลการประเมินภาพรวมอยู่ในระดับมาก และผลการประเมินตัวชี้วัด 3 ตัวชี้วัด มีดังนี้
2.1 ด้านบุคลากร อยู่ในระดับมาก
2.2 ด้านวัสดุอุปกรณ์ เครื่องมือ อยู่ในระดับมาก
2.3 ด้านระยะเวลาและงบประมาณ อยู่ในระดับมากที่สุด
3. การประเมินกระบวนการดำเนินโครงการ ผลการประเมินภาพรวมอยู่ในระดับมาก และผลการประเมินตัวชี้วัด 4 ตัวชี้วัด มีดังนี้
3.1 ขั้นวางแผนการดำเนินการ (P) อยู่ในระดับมากที่สุด
3.2 ขั้นดำเนินกิจกรรมตามแผน (D) อยู่ในระดับมากที่สุด
3.3 ขั้นนิเทศ ติดตาม ตรวจสอบและประเมินผล (C) อยู่ในระดับมาก
3.4 ขั้นการแก้ไข ปรับปรุงเพื่อเป็นแนวปฏิบัติในอนาคต (A) อยู่ในระดับมาก
4. การประเมินผลผลิตของโครงการ ผลการประเมินภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และผลการประเมินตัวชี้วัด 4 ตัวชี้วัด มีดังนี้
4.1 ผลการดำเนินงานตามโครงการ อยู่ในระดับมากที่สุด
4.2 ผลการประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผลการปฏิบัติงานของครู อยู่ในระดับมากที่สุด
4.3 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน อยู่ในระดับมากที่สุด ดังนี้
4.3.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับโรงเรียน อยู่ในระดับมากที่สุด ผลการเปรียบเทียบ
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับโรงเรียนทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้และทุกระดับชั้น โดยภาพรวมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนปีการศึกษา 2564 มีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่า ปีการศึกษา 2563 ร้อยละ 8.00
4.3.2 ผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) อยู่ในระดับมากที่สุด โดยผลการ
เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยในทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ของระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และ 6 ระหว่างระดับโรงเรียนกับระดับประเทศในปีการศึกษา 2564 หลังดำเนินโครงการ มีค่าเฉลี่ยร้อยละ 8.87
4.4 ความพึงพอใจของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับโครงการ อยู่ในระดับมากที่สุด