ชื่อเรื่อง รายงานการประเมินโครงการประกันคุณภาพภายในของโรงเรียนบ้านสวนหลวง (รัตนวิจิตรพิทยาคาร) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร
ปีการศึกษา 2564
ผู้รายงาน นางสาวกัญจ์หทัย พรมกระทุ่มล้ม
ปีการศึกษา 2564
คำสำคัญ การประเมินโครงการ, โครงการประกันคุณภาพภายใน
บทคัดย่อ
การรายงานการประเมินโครงการประกันคุณภาพภายในของโรงเรียนบ้านสวนหลวง (รัตนวิจิตรพิทยาคาร) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร ปีการศึกษา 2564 ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อประเมินปัจจัยนำเข้าของโครงการ 2) เพื่อประเมินกระบวนการของโครงการ 3) เพื่อประเมินผลผลิตของโครงการ โดยใช้รูปแบบการประเมินแบบ IPO Model (HartEditor, 2002 อ้างถึงใน วรรณภา ทองแดง,2551) ประชากรที่ใช้ในการประเมิน ได้แก่ ครูและบุคลากร จำนวน 69 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 13 คน(ยกเว้นผู้บริหารกับผู้แทนครู) นักเรียนชั้นอนุบาล 2 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 1,273 คน ผู้ปกครองนักเรียนชั้นอนุบาล 2-มัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 1,273 คน รวม 2,628 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมิน โดยแบ่งตามกลุ่มผู้ให้ข้อมูล ดังนี้ กลุ่มที่ 1 ประเมินด้านปัจจัยนำเข้าประกอบด้วย ครูและบุคลากร จำนวน 69 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 13 คน รวมจำนวนทั้งหมด 82 คน กลุ่มที่ 2 ประเมินด้านกระบวนการ คือครูและบุคลากร จำนวน 69 คน และกลุ่มที่ 3 ประเมินด้านผลผลิต เกี่ยวกับผลการรายงานการประเมินคุณภาพภายในตามมาตรฐานการศึกษาระดับปฐมวัย และระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประกอบด้วย ครูและบุคลากร จำนวน 69 คน และนักเรียนชั้นอนุบาล 2- มัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 1,273 คน รวม 1,342 คน ทั้ง 3 กลุ่มศึกษาจากประชากรทั้งหมด กลุ่มที่ 4 ประเมินด้านผลผลิตเกี่ยวกับผลความสำเร็จของโครงการ ได้มาโดยการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง จากการเปิดตารางสำเร็จรูปของเครซีและมอร์แกน ได้กลุ่มตัวอย่างจากครูและบุคลากร 15 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานจำนวน 3 คน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 - มัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 144 คน ผู้ปกครองนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 - มัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 144 คน รวมจำนวนทั้งหมด 306 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล 4 รายการ ได้แก่ แบบประเมิน ด้านปัจจัยนำเข้า แบบประเมินด้านกระบวนการ แบบประเมินผลผลิต: ความพึงพอใจ และผลผลิต : แบบรายงานผลการประเมินคุณภาพ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการประเมิน พบว่า
1) ผลประเมิ นด้านปั จจัยนำเข้ าของโครงการประกั นคุ ณภาพภายในของโรงเรียนบ้านสวนหลวง(รัตนวิจิตรพิทยาคาร) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร ปีการศึกษา 2564 พบว่า โดยภาพรวมมีความเพียงพอ/เหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (𝜇=4.75,𝜎=0.46) ทุกด้านอยู่มีความเพียงพอ/เหมาะสมในระดับมากที่สุด ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ ด้านการอำนวยความสะดวก รองลงมา คือ ด้านครุและบุคลากร ด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ วัสดุ/อุปกรณ์/สื่อ/เทคโนโลยี
2) ผลประเมินด้านกระบวนการของโครงการประกันคุณภาพภายในของโรงเรียนบ้านสวนหลวง (รัตนวิจิตรพิทยาคาร) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร ปีการศึกษา 2564 พบว่า โดยภาพรวมมีการปฏิบัติตามกระบวนการประกันคุณภาพภายใน ในระดับมากที่สุด (𝜇=4.86,𝜎=0.35) ทุกด้านมีการปฏิบัติในระดับมากที่สุด โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ จัดส่งรายงานผลประเมินตนเอง ( 𝜇=4.88, S.D=0.33) รองลงมาคือ กำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา และ
ด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ ดำเนินการตามแผนพัฒนาการจัดการศึกษของสถานศึกษา
3) ผลประเมินด้านผลผลิตของโครงการประกันคุณภาพภายในของโรงเรียนบ้านสวนหลวง(รัตนวิจิตรพิทยาคาร) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร ปีการศึกษา 2564โดยแบ่งออกเป็น 2 รายการ พบว่า
3.1 ผลการประเมินคุณภาพภายในสถานศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาระดับการศึกษาปฐมวัย และระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ผลประเมิน มีดังนี้
1) ผลการประเมินคุณภาพภายในสถานศึกษา ระดับการศึกษาปฐมวัย พบว่ามาตรฐานที่ 1 คุณภาพเด็ก มีคุณภาพ ระดับยอดเยี่ยม สูงกว่าเป้าหมาย มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ มีคุณภาพ ระดับยอดเยี่ยม สูงกว่าเป้าหมาย และมาตรฐานที่ 3 การจัดประสบการรณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ มีระดับคุณภาพ ระดับยอดเยี่ยม สูงกว่าเป้าหมาย
2) ผลการประเมินคุณภาพภายในสถานศึกษา ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่ามาตรฐานที่ 1 คุณภาพผู้เรียน มีคุณภาพ ระดับดีเลิศ สูงกว่าเป้าหมาย มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและจัดการ มีคุณภาพระดับยอดเยี่ยม สูงกว่าเป้าหมาย มาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ มีคุณภาพระดับดีเลิศ ตามเป้าหมาย
3.2 ผลกาประเมินผลสำเร็จจากการดำเนินโครงการ พบว่าในภาพรวม มีความสำเร็จในระดับมากที่สุด ( x =4.69, S.D=0.60) ทุกด้านมีความสำเร็จในระดับมากที่สุด โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ รองลงมาคือ ด้านกระบวนการบริหารและการจัดการ และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ คุณภาพผู้เรียน