ชื่อเรื่อง การประเมินโครงการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการบริหารจัดการของโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ๕๓ จังหวัดสกลนคร โดยใช้รูปแบบ CIPPIEST Model
ผู้วิจัย นางสาวปาริฉัตร จันทร์หล้า
ตำแหน่ง รองผู้อำนวยการสถานศึกษา วิทยฐานะ รองผู้อำนวยการชำนาญการ
สถาบัน โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ๕๓ จังหวัดสกลนคร สังกัดสำนักบริหารงาน
การศึกษาพิเศษ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
กระทรวงศึกษาธิการ
ปีที่รายงาน 2565
บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
การวิจัยครั้งนี้ มีความมุ่งหมายเพื่อประเมินโครงการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการบริหารจัดการของโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ๕๓ จังหวัดสกลนคร โดยใช้รูปแบบ CIPPIEST Model กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหาร ครู และนักเรียน ปีการศึกษา 2564 จำนวน ทั้งสิ้น 248 คน การได้มาของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้เกณฑ์กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างของเครจซี่และมอร์แกน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับการดำเนินงานโครงการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการบริหารจัดการของโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ๕๓ จังหวัดสกลนคร ตามประเด็น 8 ด้าน ได้แก่ การประเมินด้านบริบท (Context Evaluation) การประเมินด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) การประเมินด้านกระบวนการ (Process Evaluation) การประเมินด้านผลผลิต (Product Evaluation) การประเมินด้านผลกระทบ (Impact Evaluation) การประเมินด้านประสิทธิผล (Effectiveness Evaluation) การประเมินด้านความยั่งยืน (Sustainability Evaluation) และการประเมินด้านการถ่ายทอดส่งต่อ (Transportability Evaluation) เป็นแบบสอบถามมีลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) ตามแบบของลิเคิร์ท (Likert) 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย และความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ด้านบริบท ผลการประเมินโครงการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการบริหารจัดการของโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ๕๓ จังหวัดสกลนคร โดยใช้รูปแบบ CIPPIEST Model มีความเหมาะสมสอดคล้องด้านบริบท โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
2. ด้านปัจจัยนำเข้า ผลการประเมินโครงการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการบริหารจัดการของโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ๕๓ จังหวัดสกลนคร มีความเหมาะสมสอดคล้องด้านปัจจัยเบื้องต้น โดยรวมอยู่ในระดับมาก
3. ด้านกระบวนการ ผลการประเมินโครงการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการบริหารจัดการของโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ๕๓ จังหวัดสกลนคร มีความเหมาะสมสอดคล้อง ด้านกระบวนการ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
4. ด้านผลผลิต ผลการประเมินโครงการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการบริหารจัดการของโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ๕๓ จังหวัดสกลนคร มีความเหมาะสมสอดคล้องด้านผลผลิต โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
5. ด้านผลกระทบ ผลการประเมินโครงการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการบริหารจัดการของโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ๕๓ จังหวัดสกลนคร มีความเหมาะสมสอดคล้องด้านผลกระทบ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
6. ด้านประสิทธิผล ผลการประเมินโครงการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการบริหารจัดการของโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ๕๓ จังหวัดสกลนคร มีความเหมาะสมสอดคล้องด้านประสิทธิผล โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
7. ด้านความยั่งยืน ผลการประเมินโครงการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการบริหารจัดการของโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ๕๓ จังหวัดสกลนคร มีความเหมาะสมสอดคล้อง ด้านความยั่งยืน โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
8. ด้านการถ่ายทอดส่งต่อ ผลการประเมินโครงการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการบริหารจัดการของโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ๕๓ จังหวัดสกลนคร จังหวัดสกลนคร มีความเหมาะสมสอดคล้อง ด้านการถ่ายทอดส่งต่อ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
ข้อเสนอแนะในการนำผลการวิจัยไปใช้
1. ด้านบริบท ผู้บริหารโรงเรียนควรมีการส่งเสริมให้จัดโครงการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการบริหารจัดการของโรงเรียนอย่างสม่ำเสมอ
2. ด้านปัจจัยนำเข้า ผู้บริหารโรงเรียนควรสนับสนุนวัสดุอุปกรณ์ เครื่องมือเครื่องใช้ สื่อเทคโนโลยีที่ทันสมัยที่มีความเหมาะสมและเพียงพอ โดยประสานความร่วมมือกับหน่วยงานต้นสังกัด รวมทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชน เพื่อสร้างภาคีเครือข่ายอย่างต่อเนื่อง
3. ด้านกระบวนการ ผู้บริหารโรงเรียนควรมีการส่งเสริมให้คณะทำงานมีการวิเคราะห์และประเมินผลระหว่างการดำเนินงานและนำผลการประเมินมาพัฒนางานอย่างต่อเนื่อง โดยมีการประชุมวางแผนการดำเนินงาน ได้แก่ การวางแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาการศึกษา การทำแผนงานโครงการและรายงานผลการดำเนินงานโครงการทุกภาคเรียน
4. ด้านผลผลิต ผู้บริหารโรงเรียนและครูควรส่งเสริมให้นักเรียนเรียนรู้และเลือกใช้สื่อ เทคโนโลยีสมัยใหม่อย่างรู้คุณค่า รวมทั้งปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงบรรยากาศสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนการสอน
5. ด้านผลกระทบ ผู้บริหารโรงเรียนและครูควรส่งเสริมโรงเรียนให้สามารถพัฒนาระบบการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัยอย่างประสิทธิภาพ
6. ด้านประสิทธิภาพ ผู้บริหารโรงเรียนและครูควรส่งเสริมให้การทำงานมีประสิทธิผลโครงการเป็นไปในทิศทางที่ดีมากขึ้น ให้มีการริเริ่มสร้างสรรค์งานใหม่จากเทคโนโลยี
7. ด้านความยั่งยืน ผู้บริหารโรงเรียนและครูควรส่งเสริมนำความรู้ที่ได้มาพัฒนาการดำเนินงานในโรงเรียน เพื่อให้การดำเนินงานของสถานศึกษามีการพัฒนาในทุก ๆ ด้าน
8. ด้านการถ่ายโยงความรู้ ผู้บริหารโรงเรียนและครูควรส่งเสริมบุคลากรภายในโรงเรียนสามารถถ่ายทอดความรู้โรงเรียนส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ การปรับปรุงขยายผลพัฒนาสู่เครือข่ายอื่นๆ และเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารโดยให้รับรู้ข้อมูลโดยทั่วกันมากยิ่งขึ้น