ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการนิเทศภายในโดยใช้ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพโรงเรียนบ้านก่อนาดี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอำนาจเจริญ
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ผู้วิจัย ศรีสุดา พุทธรักษา
ปีการศึกษา 2563
บทคัดย่อ
การพัฒนารูปแบบการนิเทศภายในโดยประยุกต์ใช้ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพโรงเรียนบ้านก่อนาดี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอำนาจเจริญ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบและตัวบ่งชี้ของรูปแบบการนิเทศภายในโดยประยุกต์ใช้ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพโรงเรียนบ้านก่อนาดี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอำนาจเจริญ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์การนิเทศภายในโดยประยุกต์ใช้ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพโรงเรียนบ้านก่อนาดี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอำนาจเจริญ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 3) เพื่อพัฒนารูปแบบและจัดทำคู่มือการนิเทศภายในโดยประยุกต์ใช้ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพโรงเรียนบ้านก่อนาดี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอำนาจเจริญ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 4) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการนิเทศภายในโดยประยุกต์ใช้ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพโรงเรียนบ้านก่อนาดี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอำนาจเจริญ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน แบ่งการวิจัยออกเป็น 4 ระยะ โดยระยะที่ 1 องค์ประกอบและตัวบ่งชี้ของรูปแบบนิเทศภายในโดยประยุกต์ใช้ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ จากผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 21 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบประเมินความถูกต้อง ความเหมาะสม ความเป็นไปได้และมีประโยชน์ขององค์ประกอบและตัวบ่งชี้ ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับมีค่า 0.978 วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ระยะที่ 2 ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของรูปแบบการนิเทศภายในโดยประยุกต์ใช้ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพจากคณะครูและบุคลากรทางการศึกษาโรงเรียนบ้านก่อนาดี จำนวน 8 คน เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถามสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์การนิเทศภายใน ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับมีค่า 0.946 วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ระยะที่ 3 การพัฒนารูปแบบและจัดทำคู่มือการใช้รูปแบบการนิเทศภายในโดยประยุกต์ใช้ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบประเมินความถูกต้อง ความเหมาะสม ความเป็นไปได้และมีประโยชน์ขององค์ประกอบและตัวบ่งชี้ ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับมีค่า 0.978 วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และระยะที่ 4 ศึกษาผลการใช้รูปแบบการนิเทศภายในโดยประยุกต์ใช้ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ จากผู้มีส่วนได้เสีย จำนวน 35 คน เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถามความพึงพอใจมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับมีค่า 0.934 วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย พบว่า
1. ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบและตัวชี้วัดรูปแบบการนิเทศภายในโดยประยุกต์ใช้ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพโรงเรียนบ้านก่อนาดี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอำนาจเจริญ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า ในภาพรวมด้านความถูกต้องอยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 4.61) ด้านความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 4.77) ด้านความความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 4.79) และด้านความมีประโยชน์อยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย =4.80)
2. ผลการวิเคราะห์สภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์รูปแบบการนิเทศภายในโดยประยุกต์ใช้ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพโรงเรียนบ้านก่อนาดี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอำนาจเจริญ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า ในภาพรวมด้านสภาพปัจจุบันอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 4.48) และด้านสภาพที่พึงประสงค์อยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 4.50)
3. ผลการพัฒนารูปแบบการนิเทศภายในโดยประยุกต์ใช้ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพโรงเรียนบ้านก่อนาดี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอำนาจเจริญ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยการวิเคราะห์ความต้องการจำเป็นรูปแบบการนิเทศภายในโดยประยุกต์ใช้ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพโรงเรียนบ้านก่อนาดี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอำนาจเจริญ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ได้แก่ 1) ด้านการเนินการนิเทศ (PNI = .02) 2) ด้านการประเมินผลการนิเทศ (PNI = .009) และ3) ด้านการศึกษาสภาพปัจจุบันปัญหาและความต้องการตามลำดับ (PNI = .-01)
4. ผลการใช้รูปแบบการนิเทศภายในโดยประยุกต์ใช้ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ โรงเรียนบ้านก่อนาดี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอำนาจเจริญ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า ก่อนการพัฒนามีการปฏิบัติโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย 3.59) และหลังการพัฒนา พบว่า โดยรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 3.60)
5. ผลการประเมินคุณภาพรายงานการวิจัยการพัฒนารูปแบบการนิเทศภายในโดยประยุกต์ใช้ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพโรงเรียนบ้านก่อนาดี พบว่า ทุกบทโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย4.71)
6. ผลการศึกษาความพึงพอใจรูปแบบการนิเทศภายในโดยประยุกต์ใช้ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพโรงเรียนบ้านก่อนาดี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอำนาจเจริญ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 4.73)