เรื่อง: การประเมินโครงการโรงเรียนวิถีพุทธ โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ
ผู้ประเมิน: พัชรินทร์ เบญจมพรชัย รองผู้อำนวยการโรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ
คำสำคัญ; การประเมินโครงการ, โครงการโรงเรียนวิถีพุทธ
บทคัดย่อ
การประเมินโครงการโรงเรียนวิถีพุทธ โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ ผู้ประเมินใช้แนวคิดที่นำมาใช้ในการประเมินโครงการวิถีพุทธครั้งนี้ ใช้แนวคิดเชิงตรรกะ (Logic Model) เป็นการประเมินเชิงระบบ ซึ่งเป็นการตรวจสอบความสอดคล้องสัมพันธ์ระหว่าง ปัจจัยนำเข้า/ทรัพยากร กิจกรรมในโครงการ และผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานโครงการฯ แบ่งการดำเนินการเป็น ๓ ระยะดังนี้
ระยะที่ ๑ การประเมินความพร้อมของปัจจัยนำเข้า / ทรัพยากร ในการจัดทำโครงการโรงเรียนวิถีพุทธ โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ ประเมินความพร้อมด้านการปฏิบัติตนของผู้บริหารและคณะครู ระบบการบริหาร สภาพแวดล้อม และงบประมาณ เครื่องมือที่ใช่ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบประเมินแบบมาตราส่วนประมาณค่า ๕ ระดับ มีข้อคำถามทั้งหมด ๑๕ ข้อ ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน ๕ ท่าน ตรวจสอบความความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (Content Validity) มีค่า IOC มากกว่า 0.6 ทุกประเด็นข้อคำถาม มีค่าความเชื่อมั่น (Reliability) 0.๘๗ เก็บรวบรวมข้อมูล จากผู้บริหารและคณะครู จำนวน ๕๕ คน วิเคราะห์ข้อมูล โดยการหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และมีเกณฑ์การประเมิน ตั้งแต่ระดับมากขึ้นไป
ระยะที่ ๒ การประเมินความสอดคล้อง และการดำเนินงานโครงการวิถีพุทธ โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ ประกอบด้วย การประเมินความสอดคล้องระหว่างกิจกรรมต่าง ๆ ในโครงการ กับตัวชี้วัดของโครงการโรงเรียนวิถีพุทธ และการประเมินความสอดคล้องระหว่างการดำเนินกิจกรรมกับแผนการดำเนินงานที่กำหนดไว้ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสัมภาษณ์ หัวหน้าโครงการ และผู้รับผิดชอบโครงการ จำนวน ๓ ท่าน ตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (Content Validity) มีค่า IOC มากกว่า 0.6 ทุกประเด็นข้อคำถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ร้อยละ และการวิเคราะห์เนื้อหา ส่วนการประเมินการดำเนินโครงการ เป็นการประเมินตามหลักการบริหารตามวงจรคุณภาพ (PDCA) ได้แก่ การประเมินการวางแผนการดำเนินการ การดำเนินงานการบูรณาการตามหลักไตรสิกขา การนิเทศ กำกับ ติดตาม ผลการดำเนินงาน การปรับปรุงและพัฒนาโครงการ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบประเมินแบบมาตราส่วนประมาณค่า ๕ ระดับ จำนวน ๔ ด้าน มีข้อคำถามทั้งหมด ๓๐ ข้อ ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน ๕ ท่าน ตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (Content Validity) มีค่า IOC มากกว่า 0.6 ทุกประเด็นข้อคำถาม มีค่าความเชื่อมั่น (Reliability) 0.๗๙ เก็บรวบรวมข้อมูล จากผู้บริหารและคณะครู จำนวน ๕๕ คน วิเคราะห์ โดยการหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และมีเกณฑ์การประเมิน ตั้งแต่ระดับมากขึ้นไป
ระยะที่ ๓ การประเมินผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานโครงการโรงเรียนวิถีพุทธ โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ แบ่งเป็นการประเมินด้านผลผลิต (Outputs) และผลผลัพธ์ (Outcomes) ดังนี้
๓.๑ การประเมินด้านผลผลิต (Outputs) เป็นการประเมินความสำเร็จของโครงการโรงเรียนวิถีพุทธ โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ ด้านการพัฒนาการ ศีล จิตใจ / อารมณ์ และปัญญา เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบประเมินแบบมาตราส่วนประมาณค่า ๕ ระดับ จำนวน ๔ ด้าน มีข้อคำถามทั้งหมด ๑๔ ข้อ ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน ๕ ท่าน ตรวจสอบความความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (Content Validity) มีค่า IOC มากกว่า 0.6 ทุกประเด็นข้อคำถาม มีค่าความเชื่อมั่น (Reliability) 0.๘๒ เก็บรวบรวมข้อมูลจากคณะครู ๕๒ คน วิเคราะห์ข้อมูล โดยการหาค่าความถี่และร้อยละ ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และมีเกณฑ์การประเมิน ตั้งแต่ระดับมากขึ้นไป
๓.๒ การประเมินด้านผลผลัพธ์ (Outcomes) เป็นการประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อโครงการโรงเรียนวิถีพุทธ โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ ด้านการจัดกิจกรรม ผลการจัดกิจกรรม ประโยชน์และคุณค่าของการจัดกิจกรรม เครื่องมือที่ใช่ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบประเมินแบบมาตราส่วนประมาณค่า ๕ ระดับ จำนวน ๓ ด้าน มีข้อคำถามทั้งหมด ๔๔ ข้อ ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน ๕ ท่าน ตรวจสอบความความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (Content Validity) มีค่า IOC มากกว่า 0.6 ทุกประเด็นข้อคำถาม มีค่าความเชื่อมั่น (Reliability) 0.๗๖ เก็บรวบรวมข้อมูล จากนักเรียนชั้น ป.๑-ม.๓ จำนวน ๑๘๙ คน วิเคราะห์ข้อมูล โดยการหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และมีเกณฑ์การประเมิน ตั้งแต่ระดับมากขึ้นไป การประเมินความพึงพอใจของผู้ปกครองมีต่อโครงการโรงเรียนวิถีพุทธ โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบด้านการจัดกิจกรรม ผลการจัดกิจกรรม ประโยชน์และคุณค่าของการจัดกิจกรรม เครื่องมือที่ใช่ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบประเมินแบบมาตราส่วนประมาณค่า ๕ ระดับ จำนวน ๓ ด้าน มีข้อคำถามทั้งหมด ๑๘ ข้อ ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน ๕ ท่าน ตรวจสอบความความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (Content Validity) มีค่า IOC มากกว่า 0.6 ทุกประเด็นข้อคำถาม มีค่าความเชื่อมั่น (Reliability) 0.๗๖ เก็บรวบรวมข้อมูล จากผู้ปกครอง อ.๑ - ม.๓ จำนวน ๒๔๑ คน วิเคราะห์ข้อมูล โดยการหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และมีเกณฑ์การประเมิน ตั้งแต่ระดับมากขึ้นไป ส่วนการประเมิน ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ - มัธยมศึกษาปีที่ ๓ ปีการศึกษา ๒๕๖๓ ๒๕๖๔ มีเกณฑ์การประเมินผลร้อยละ ๘๐ ของนักเรียนทั้งหมดที่ได้คะแนนเฉลี่ยตั้งแต่ร้อยละ ๗๐ ขึ้นไป การประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ - มัธยมศึกษาปีที่ ๓ ปีการศึกษา ๒๕๖๓ - ๒๕๖๔ มีเกณฑ์การประเมินผลร้อยละ ๘๐ ของนักเรียนทั้งหมดที่ได้ผลการประเมินในระดับดีขึ้นไป และรางวัลจากการดำเนินโครงการโรงเรียนวิถีพุทธพระราชทาน โดยการวิเคราะห์เนื้อหา จากรายงานสถานศึกษา ปีการศึกษา ๒๕๖๔
ผลการประเมินมีรายละเอียดดังนี้
๑. ด้านปัจจัยนำเข้า (Inputs) ผู้บริหารและคณะครู มีความคิดเห็นต่อความพร้อมของปัจจัยนำเข้า / ทรัพยากร ของโรงเรียน พระตำหนักสวนกุหลาบ ปีการศึกษา ๒๕๖๔ ในการจัดทำโครงการโรงเรียนวิถีพุทธ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า อยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน โดยเรียงลำดับ ดังนี้ ความพร้อมในการปฏิบัติตนของผู้บริหารและคณะครู ระบบการบริหาร สภาพแวดล้อม และงบประมาณ และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ อยู่ในระดับมาก - มากที่สุด ทุกข้อ ผ่านเกณฑ์การประเมินโครงการโรงเรียนวิถีพุทธที่ผู้ประเมินกำหนดไว้ ทุกประเด็น
๒. ด้านกระบวนการ (Process) การจัดกิจกรรมในโครงการโรงเรียนวิถีพุทธ มีจำนวนทั้งหมด ๒๔ กิจกรรมมีความสอดคล้องกับตัวชี้วัดโครงการโรงเรียนวิถีพุทธด้านกระบวนการ (Process) จัดการเรียนการสอนที่บูรณาการไตรสิกขาทั้งหมด จำนวน ๑๘ ตัวชี้วัด การดำเนินกิจกรรมต่างๆ ตามรายละเอียดที่กำหนดไว้แผนปฏิบัติการประจำปีการศึกษา ๒๕๖๔ สามารถดำเนินงานตามที่กำหนดไว้ได้สำเร็จทุกกิจกรรม ผู้บริหารและคณะครู มีความคิดเห็นต่อการดำเนินงานโครงการโรงเรียนวิถีพุทธ ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน โดยเรียงลำดับ ดังนี้ การดำเนินงาน (D = Do) การบูรณาการตาม หลักไตรสิกขา การวางแผนการดำเนินการ (P = PLAN) การนิเทศ กำกับ ติดตามผลการดำเนินงาน (C =Check) และการปรับปรุงและพัฒนาโครงการ (A = Act) และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ อยู่ในระดับมาก - มากที่สุด ทุกข้อ ผ่านเกณฑ์การประเมินโครงการโรงเรียนวิถีพุทธที่ผู้ประเมินกำหนดไว้ ทุกประเด็น
๓. การประเมินผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานโครงการโรงเรียนวิถีพุทธ โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ แบ่งเป็นการประเมินด้านผลผลิต (Outputs) และผลผลัพธ์ (Outcomes)
๓.๑ ด้านผลผลิต (Outputs) คณะครู มีความคิดเห็นต่อความสำเร็จ ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยเรียงลำดับ ดังนี้ ความสำเร็จในการพัฒนาด้านกาย การพัฒนาด้านจิตใจ การพัฒนาด้านปัญญา และการพัฒนาด้านศีล และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ อยู่ในระดับมาก - มากที่สุด ทุกข้อ ผ่านเกณฑ์การประเมินโครงการโรงเรียนวิถีพุทธที่ผู้ประเมินกำหนดไว้ ทุกประเด็น
๓.๒ ด้านผลผลัพธ์ (Outcomes) ๑) นักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรมมีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมโครงการวิถีพุทธ ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน โดยเรียงลำดับ ดังนี้ ประโยชน์และคุณค่าของการจัดกิจกรรม ผลการจัดกิจกรรม และการจัดกิจกรรม และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ อยู่ในระดับมาก - มากที่สุดทุกข้อ ๒) ผู้ปกครองที่เข้าร่วมกิจกรรมมีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมโครงการวิถีพุทธ ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน โดยเรียงลำดับ ดังนี้ ประโยชน์และคุณค่าของการจัดกิจกรรม ผลการจัดกิจกรรม และการจัดกิจกรรม และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ อยู่ในระดับมาก - มากที่สุด ทุกข้อ ๓) ผลสัมฤทธิ์ทางด้านวิชาการของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ ปีการศึกษา ๒๕๖๓ ๒๕๖๔ พบว่า ปีการศึกษา ๒๕๖๔ มีค่าคะแนนเฉลี่ยสูงขึ้นเมื่อเทียบกับปีการศึกษา ๒๕๖๓ และมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าค่าที่เป้าหมายที่สถานศึกษากำหนดไว้ ๔) ผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์นักเรียนทุกคนในปีการศึกษา ๒๕๖๓ - ๒๕๖๔ มีผลการประเมินในระดับดีขึ้นไปเป็นไปตามเป้าหมายที่สถานศึกษากำหนด ๕)โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ ดำเนินโครงการโรงเรียนวิถีพุทธ จนได้รับรางวัลโรงเรียนวิถีพุทธพระราชทาน ในสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี รุ่นที่ ๔ ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๔ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ผ่านเกณฑ์การประเมินโครงการโรงเรียนวิถีพุทธที่ผู้ประเมินกำหนดไว้ ทุกประเด็น