ชื่อเรื่อง : รายงานการประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ
ราชบุรี ปีการศึกษา 2564
ชื่อผู้ประเมิน : นายธีระเดช บัวล้อม
ผู้อำนวยการโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ ราชบุรี
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาราชบุรี
ปีการศึกษา : 2564
บทคัดย่อ
การประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ ราชบุรีปีการศึกษา 2564 ใช้รูปแบบการประเมิน CIPP model มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อประเมินด้านบริบทของโครงการ 2) เพื่อประเมินด้านปัจจัยเบื้องต้นของโครงการ 3) เพื่อประเมินด้านกระบวนการของโครงการ และ 4) เพื่อประเมินด้านผลผลิตของโครงการ ใช้ประชากรทั้งหมดในการประเมิน ประกอบด้วย ครูผู้สอน 13 คน รองผู้อำนวยการโรงเรียน 1 คน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน (ไม่รวมตัวแทนครูและผู้อำนวยการโรงเรียน) 7 คน รวมทั้งหมด 21 คน เป็นผู้ให้ข้อมูลการประเมินด้านบริบท ด้านปัจจัยเบื้องต้น ด้านกระบวนการและด้านผลผลิตในประเด็นลักษณะที่พึงประสงค์ของนักเรียน ความสามารถในการเรียนรู้และทักษะชีวิตและการคุ้มครองตนเอง และนักเรียน 142 คนและผู้ปกครองนักเรียน 142 คน รวมทั้งหมด 284 คน เป็นผู้ให้ข้อมูล การประเมินด้านผลผลิตในประเด็นความพึงพอใจต่อโครงการ เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินโครงการเป็นแบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 5 ฉบับ ฉบับที่ 1 ประเมินด้านบริบทของโครงการตามความคิดเห็นของครูผู้สอน รองผู้อำนวยการโรงเรียนและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) 0.85 ฉบับที่ 2 ประเมินด้านปัจจัยเบื้องต้นของโครงการ ตามความคิดเห็นของครูผู้สอน รองผู้อำนวยการโรงเรียนและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) 0.82 ฉบับที่ 3 ประเมินด้านกระบวนการของโครงการ ตามความคิดเห็นของครูผู้สอน รองผู้อำนวยการโรงเรียนและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) 0.81 ฉบับที่ 4 ประเมินด้านผลผลิตของโครงการ ตามความคิดเห็นของครูผู้สอน รองผู้อำนวยการโรงเรียนและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) 0.89 และฉบับที่ 5 ประเมินความพึงพอใจต่อโครงการ ตามความคิดเห็นของนักเรียนและผู้ปกครองนักเรียน มีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) 0.91 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย (μ) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (σ)
ผลการประเมินโครงการพบว่า
1. ผลการประเมินด้านบริบทของโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ ราชบุรี ปีการศึกษา 2564 ตามความคิดเห็นของครูผู้สอน รองผู้อำนวยการโรงเรียนและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ภาพรวมอยู่ในระดับมาก (μ = 4.44, σ = 0.34 ) เมื่อพิจารณารายด้านย่อยพบว่า ความต้องการจำเป็นของโครงการ (μ = 4.51, σ = 0.36 ) มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาคือ วัตถุประสงค์ของโครงการ (μ = 4.45, σ = 0.40 ) และความเป็นไปได้ของโครงการ (μ = 4.37, σ = 0.28 ) มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด
2. ผลการประเมินด้านปัจจัยเบื้องต้นของโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ ราชบุรี ปีการศึกษา 2564 ตามความคิดเห็นของของครูผู้สอน รองผู้อำนวยการโรงเรียนและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ภาพรวมอยู่ในระดับมาก (μ = 4.38, σ = 0.37 ) เมื่อพิจารณารายด้านย่อยพบว่า ความพร้อมของบุคลากร (μ = 4.48, σ = 0.37 ) มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาคือ ความเพียงพอของงบประมาณ (μ = 4.40, σ = 0.31 ) การบริหารจัดการ (μ = 4.36, σ = 0.40 ) ตามลำดับ และความเพียงพอของวัสดุอุปกรณ์และสถานที่ (μ = 4.28, σ = 0.37 ) มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด
3. ผลการประเมินด้านกระบวนการของโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ ราชบุรี ปีการศึกษา 2564 ตามความคิดเห็นของครูผู้สอน รองผู้อำนวยการโรงเรียนและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ภาพรวมอยู่ในระดับมาก (μ = 4.10, σ = 0.38 ) เมื่อพิจารณารายด้านย่อยพบว่า กิจกรรมการส่งเสริมพัฒนา (μ = 4.23, σ = 0.37 ) มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาคือ กิจกรรมการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล (μ = 4.17, σ = 0.42 ) กิจกรรมการป้องกันและแก้ไข (μ = 4.15, σ = 0.39 ) กิจกรรมการคัดกรองนักเรียน (μ = 3.95, σ = 0.40 ) ตามลำดับ และกิจกรรมการส่งต่อ ( = 3.93, S.D. = 0.34 ) มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด
4. ผลการประเมินด้านผลผลิตของโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ ราชบุรี ปีการศึกษา 2564 ตามความคิดเห็นของของครูผู้สอน รองผู้อำนวยการโรงเรียนและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (μ = 4.55, σ = 0.34 ) เมื่อพิจารณารายด้านย่อยพบว่า ทักษะชีวิตและการคุ้มครองตนเอง (μ = 4.61, σ = 0.35 ) มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาคือ ความสามารถในการเรียนรู้ (μ = 4.55, σ = 0.31 ) และลักษณะที่พึงประสงค์ของนักเรียน (μ = 4.50, σ = 0.35 ) มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด และผลการประเมินความพึงพอใจต่อโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ ราชบุรี ปีการศึกษา 2564 ตามความคิดเห็นของนักเรียนและผู้ปกครองนักเรียน ภาพรวมอยู่ในระดับมาก (μ = 4.31, σ = 0.40 ) เมื่อพิจารณารายข้อพบว่า ครูที่ปรึกษาไปเยี่ยมบ้านนักเรียน สร้างความสัมพันธ์กับผู้ปกครอง ร่วมกันแก้ไขปัญหานักเรียน (μ = 4.89, σ = 0.35 ) มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาคือ นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนอยู่ในระดับที่สูงขึ้น (μ = 4.79, σ = 0.55 ) และการคัดกรองเพื่อให้ครูที่ปรึกษารู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคลอย่างละเอียด (μ = 3.97, σ = 0.45 ) มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด