การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาปลอดภัย แบบมีส่วนร่วม โรงเรียนบ้านนานกเขียน
ตำบลหนองโน อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม
The Development Model Participation Administration Management School Safety Ban Nanok Khean School, Nongno Subdistrict, District Mahasarakham Province.
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. พัฒนารูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาปลอดภัยแบบมีส่วนร่วมในโรงเรียนบ้านนานกเขียน 4 ด้าน ได้แก่ ด้านสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ ด้านสภาพแวดล้อมทางสังคม ด้านบริการความปลอดภัย และด้านสวัสดิศึกษา 2. ทดลองใช้รูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาปลอดภัยตามความคิดเห็นของครูผู้ปกครองและนักเรียนและ 3. ศึกษาผลการทดลองใช้รูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาปลอดภัยแบบมีส่วนร่วม กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหาร จำนวน 1 คน
ครู จำนวน 5 คน บุคลากร จำนวน 2 คน คณะกรรมการสถานศึกษา จำนวน 7 คน บุคคลในชุมชน จำนวน 10 คน และนักเรียน จำนวน 45 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบประเมินค่าแบบมาตราส่วนประเมินค่า 5 ระดับมีค่าความเชื่อมั่นโดยรวมเท่ากับ 0.97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย พบว่า
1. การประเมินความรู้เกี่ยวกับการบริหารจัดการสถานศึกษาปลอดภัยแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหาร คณะครูบุคลากร คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และบุคคลในชุมชน มีความรู้อยู่ในระดับ มากคือ 4.38 , 0.41
2. เกณฑ์การประเมิน การเป็นแบบอย่างที่ดีในการปฏิบัติตามมาตรการที่กำหนดในการบริหารจัดการสถานศึกษาปลอดภัยแบบมีส่วนร่วม มีระดับการปฏิบัติโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด คือ 4.86 , 0.54
3. การประเมินทัศนคติ การยอมรับ และการปฏิบัติตามมาตรการที่กำหนดของผู้บริหาร คณะครูบุคลากร คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และบุคคลในชุมชน ในการบริหารจัดการสถานศึกษาปลอดภัยแบบมีส่วนร่วมด้านสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ ด้านสิ่งแวดล้อมทางสังคม ด้านบริการความปลอดภัย และด้านสวัสดิศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุดคือ 4.70 , 0.39 และ 4.86 , 0.41
4. การประเมินทัศนคติการยอมรับ และการปฏิบัติตามมาตรการที่กำหนดของนักเรียน ในการบริหารจัดการสถานศึกษาปลอดภัยด้านสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ ด้านแวดล้อมทางสังคม ด้านบริการความปลอดภัย และด้านสวัสดิศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุดคือ 4.6 , 0.24 และ 4.6 , 0.24
Abstract
The Development Model Participation Administration Management School Safety Ban Nanokkhean School Nongno Subdistrict, Mueng District Mahasarakham Province
The research purposes were (1) to develop model participation administration management school safety in 4 parts: 1. the physical environment 2. the social environment school safety 3. the safety service and 4. the security of education (2) to test the safety education views of teachers and parents. (3) to study the results of the participation administration management school safety model. The target population consists of 1 school administrator, 5 teachers, 2 education officers, 7 Education Committees, 10 people in the community, and 45 students. The instrument used for data collection was a 5-level evaluation scale with an overall confidence of 0.97. The statistics used in the data analysis were percentage, mean, standard deviation.
The results revealed as followed
1. The assessment of knowledge about safe school management with participation of the administrator, teachers, personnel of the board of basic education institutions and people in the community having knowledge at the level is 4.38 and 0.41.
2. Being a good role model and following the roles to ward School Safety of teachers, parents and population were at the tandab.
3. Teachers, parents and the population had good attitudes and followed the rules to ward School Safety were at the tandab.
4. Students had good attitudes and followed the rulers to ward Safety were at the tandab.