ชื่อเรื่อง รูปแบบการพัฒนาสถานศึกษาด้วยโมเดลการศึกษาแบบองค์รวม(Holistic Education) โรงเรียนตระกาศประชาสามัคคี สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ
ผู้วิจัย นายธนาชัย ไชยสัตย์
ปีที่ทำวิจัย 2564 - 2565
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาสและอุปสรรคในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาในโรงเรียนตระกาศประชาสามัคคี สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ 2.เพื่อสร้างการใช้รูปแบบการพัฒนาสถานศึกษาด้วยโมเดลการศึกษาแบบองค์รวม(Holistic Education) โรงเรียนตระกาศประชาสามัคคี สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ 3.เพื่อประเมินผลการทดลองใช้รูปแบบการพัฒนาสถานศึกษาด้วยโมเดลการศึกษาแบบองค์รวม(Holistic Education) โรงเรียนตระกาศประชาสามัคคี สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ
โดยใช้กระบวนการวิจัย ซึ่งแบ่งการดำเนินการวิจัยเป็น 3 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษา สภาพปัจจุบัน จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาสและอุปสรรคในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาในโรงเรียนตระกาศประชาสามัคคี กลุ่มผู้ให้ข้อมูลในขั้นตอนนี้ ได้แก่ ผู้วิจัย คณะครู โรงเรียนตระกาศประชาสามัคคี จำนวน 23 คน และศึกษานิเทศก์ จำนวน 1 คน รวมทั้งสิ้น 24 คน ขั้นตอนที่ 2 การสร้างรูปแบบการพัฒนาสถานศึกษาด้วยโมเดลการศึกษาแบบองค์รวม(Holistic Education) ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาในโรงเรียนตระกาศประชาสามัคคี กลุ่มผู้ให้ข้อมูลในขั้นตอนนี้ได้แก่ ผู้วิจัย ครู โรงเรียนตระกาศประชาสามัคคี จำนวน 23 คน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนตระกาศประชาสามัคคี จำนวน 15 คน ผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความเชี่ยวชาญในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา รวมทั้งสิ้น 38 ท่าน และขั้นตอนที่ 3 การประเมินผลการทดลองใช้รูปแบบการพัฒนาสถานศึกษาด้วยโมเดลการศึกษาแบบองค์รวม(Holistic Education) โรงเรียนตระกาศประชาสามัคคี กลุ่มผู้ให้ข้อมูลในขั้นตอนนี้ ประกอบด้วย คณะกรรมการติดตาม ตรวจสอบและประเมินคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาประจำภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 5 คน ครูโรงเรียนตระกาศประชาสามัคคี 23 คน คณะกรรมการสถานศึกษา ขั้นพื้นฐานโรงเรียนตระกาศประชาสามัคคี จำนวน 15 คน และผู้ปกครองนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 - 6 ที่เข้าร่วมประชุมผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 295 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบง่าย และมีความยินดี เต็มใจในการให้ข้อมูลในการวิจัย
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบวิเคราะห์เอกสาร แบบบันทึกการจัดการสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion) แบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบการพัฒนาสถานศึกษาด้วยโมเดลการศึกษาแบบองค์รวม(Holistic Education) ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาแบบประเมินคุณภาพการศึกษา มีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ แบบบันทึกผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 6 แบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
1. สภาพปัจจุบัน จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาสและอุปสรรคในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา
ในโรงเรียนตระกาศประชาสามัคคี สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ โรงเรียนตระกาศประชาสามัคคีเป็นโรงเรียนขนาดกลางจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 กระทรวงศึกษาธิการ มีนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1- 6 รวมทั้งสิ้น จำนวน 12 ห้องเรียน จำนวน 323 คน ตั้งอยู่ในเขตชุมชนตำบลตระกาจ อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ สภาพพื้นที่เป็นที่ราบบางตอน มีความลาดเอียงค่อนข้างสูงดินมีลักษณะเป็นดินร่วนภูเขา ดินเหนียวปนทราย และดินลูกรัง มีแหล่งน้ำธรรมชาติที่สำคัญคือ ผู้ปกครองนักเรียนส่วนใหญ่ร้อยละ 90 ประกอบอาชีพเกษตรกรรม มีรายได้ปานกลาง ผลผลิตต่อปีขึ้นอยู่กับสภาพ ของธรรมชาติดินฟ้า อากาศ จะอำนวย จึงส่งผลกระทบต่อการศึกษาของบุตรหลานในการศึกษาต่อในระดับ ที่สูงขึ้นมีอาชีพเสริมได้แก่ ตัดเย็บเสื้อผ้า ค้าขาย รับจ้างทั่วไปทั้งในพื้นที่และต่างจังหวัด มีแหล่งเรียนรู้ทางการศึกษาหลาย เช่น เขตอนุรักษ์ป่าชุมชนโรงเรียนตระกาศประชาสามัคคี ศูนย์ศิลปะและวัฒนธรรมพื้นบ้าน ศูนย์อินเตอร์เน็ตวิชาการโรงเรียนตระกาศประชาสามัคคี และศูนย์กีฬาชุมชน
2. ผลการสร้างรูปแบบการพัฒนาสถานศึกษาด้วยโมเดลการศึกษาแบบองค์รวม(Holistic Education) โรงเรียนตระกาศประชาสามัคคี สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ พบว่า ประกอบด้วยรูปแบบการพัฒนาฯหลัก 4 รูปแบบ ได้แก่ รูปแบบการพัฒนาฯที่ 1 (TRAKAD (TK1) ) สร้างความเสมอภาคและเพิ่มโอกาสให้ผู้เรียนได้รับการศึกษาภาคบังคับ ประกอบด้วยรูปแบบการพัฒนาฯย่อย 2 รูปแบบ คือ รูปแบบการพัฒนาฯย่อยที่ 1 (tk1) เพิ่มโอกาสและสร้างความเสมอภาคทางการศึกษาครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมายและพื้นที่ และรูปแบบการพัฒนาฯย่อยที่ 2 (tk2) ประสานส่งเสริมสนับสนุนให้ทุกภาคส่วนของสังคม มีส่วนในการจัดการศึกษา รูปแบบการพัฒนาที่ 2 (TRAKAD (TK2) ) การปฏิรูประบบการบริหาร หลักสูตรและกระบวนการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญและบุคลากรทางการศึกษา ประกอบด้วยรูปแบบการพัฒนาฯย่อย 12 รูปแบบ คือรูปแบบการพัฒนาฯย่อยที่ 1 (tk1) การปฏิรูประบบบริหารภายในสถานศึกษา และรูปแบบการพัฒนาฯย่อยที่ 2 (tk2) การปฏิรูปหลักสูตรและกระบวนการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ รูปแบบการพัฒนาฯย่อยที่ 3 (tk3) เพิ่มและพัฒนาศักยภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา รูปแบบการพัฒนาฯย่อยที่ 4 (tk4) ส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม รูปแบบการพัฒนาฯย่อยที่ 5 (tk5) อนุรักษ์ พิทักษ์สิ่งแวดล้อม รูปแบบการพัฒนาฯย่อยที่ 6 (tk6) พัฒนาทักษะกระบวนการทำงาน รูปแบบการพัฒนาฯย่อยที่ 7 (tk7) พัฒนาทักษะกระบวนการคิด รูปแบบการพัฒนาฯย่อยที่ 8 (tk8) พัฒนาผลสัมฤทธิ์ตามเกณฑ์มาตรฐาน รูปแบบการพัฒนาฯย่อยที่ 9 (tk9) ส่งเสริมการอ่านการเขียนเพื่อการเรียนรู้ รูปแบบการพัฒนาฯย่อยที่ 10 (tk10) ส่งเสริมสุขภาพกาย สุขภาพจิตที่ดี มีสุนทรี รูปแบบการพัฒนาฯย่อยที่ 11 (tk11) เพิ่มศักยภาพการเรียนรู้สู่ความเป็นเลิศ และ รูปแบบการพัฒนาฯย่อยที่ 12 (tk12) พัฒนาระบบช่วยเหลือดูแลนักเรียน รูปแบบการพัฒนาฯที่ 3 (TRAKAD (TK3) ) สร้างสภาพแวดล้อมแหล่งเรียนรู้ วิจัย และนวัตกรรมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ประกอบด้วยรูปแบบการพัฒนาฯย่อย 3 รูปแบบ คือ รูปแบบการพัฒนาฯย่อยที่ 1 (tk1) พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานอาคารและสิ่งแวดล้อมการใช้แหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น รูปแบบการพัฒนาฯย่อยที่ 2 (tk2) ส่งเสริมการวิจัยการใช้สื่อและเทคโนโลยี รูปแบบการพัฒนาฯย่อยที่ 3 (tk3) หนึ่งโรงเรียนหนึ่งนวัตกรรม รูปแบบการพัฒนาฯที่ 4 (TRAKAD (TK4) ) จัดเปิดบ้านวิชาการ(Open House) เสริมสร้างเด็กให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต ประกอบด้วยรูปแบบการพัฒนาฯย่อย 2 รูปแบบ คือ รูปแบบการพัฒนาฯย่อยที่ 1 (tk1) เสริมสร้างเด็กไทยให้เกิดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง และรูปแบบการพัฒนาฯย่อยที่ 2 (tk1) ส่งเสริมการเผยแพร่และการนำความรู้ไปใช้ในการดำรงชีวิต ซึ่งรูปแบบการพัฒนาฯหลักและรูปแบบการพัฒนาฯย่อยมีความเหมาะสมและความเป็นไปได้โดยรวมอยู่ในระดับมาก
3.ผลประเมินผลการทดลองใช้รูปแบบการพัฒนาสถานศึกษาด้วยโมเดลการศึกษาแบบ องค์รวม(Holistic Education) โรงเรียนตระกาศประชาสามัคคี สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด ศรีสะเกษ พบว่า ผลการวิเคราะห์การประเมินคุณภาพการศึกษาโรงเรียนตระกาศประชาสามัคคี ปีการศึกษา 2564 มีค่าเฉลี่ย 89.05 อยู่ในระดับดี ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1- 6 โรงเรียนตระกาศประชาสามัคคี ปีการศึกษา 2563 มีค่าเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 71.24 ปีการศึกษา 2564 มีค่าเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 74.28 ซึ่งมีพัฒนาการสูงขึ้นคิดเป็นร้อยละ 3.03 เมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้พบว่า มีพัฒนาการการเรียนรู้ เรียงลำดับจากมากไปหาน้อยคือ สุขศึกษาและพลศึกษา การงานอาชีพและเทคโนโลยี วิทยาศาสตร์ ศิลปะ สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ภาษาไทย คณิตศาสตร์ และ ภาษาอังกฤษ และผลการวิเคราะห์ความพึงพอใจที่มีต่อของกลุ่มผู้ให้ข้อมูลที่มีต่อรูปแบบการพัฒนาสถานศึกษาด้วยโมเดลการศึกษาแบบองค์รวม(Holistic Education) ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาในโรงเรียนตระกาศประชาสามัคคี สรุปได้ว่า กลุ่มผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วย ครู คณะกรรมการสถานศึกษา ขั้นพื้นฐานและผู้ปกครองนักเรียนมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการพัฒนาสถานศึกษาด้วยโมเดลการศึกษาแบบองค์รวม(Holistic Education) ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาในโรงเรียนตระกาศประชาสามัคคี มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก