บทคัดย่อ
รายงานการประเมินโครงการส่งเสริมการจัดการเรียนรวมโรงเรียนวัดท่าเสา(อาทรราษฎร์อุปถัมภ์) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร ปีการศึกษา 2564 ครั้งนี้ ประเมินใช้รูปแบบการประเมิน CIPP ของ ดีแอลสตัฟเฟิลบีม และคณะ (D.L.Stufflebeam and Others,1971:216-265) มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินโครงการใน 4 ด้าน คือ การประเมินด้านบริบท (Context evaluation) การประเมินด้านปัจจัยนำเข้า(Input evaluation) การประเมินด้านกระบวนการ (Process evaluation) และการประเมินด้านผลผลิต (Product evaluation) ของ โครงการส่งเสริมการจัดการเรียนรวมโรงเรียนวัดท่าเสา(อาทรราษฎร์อุปถัมภ์) ประชากรที่ใช้ในการประเมินโครงการประกอบด้วย คณะครู จำนวน 22 คน คณะกรรมการสถานศึกษาศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 14 คน (ยกเว้นตัวแทนครู) รวมประชากร ทั้งสิ้น 36 คน กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 - ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 191 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย (Sample Random Sampling) โดยใช้ตาราง Krejcie & Morgan (สิทธิ์ ธีรสรณ์, 2552 : 114) และผู้ปกครองนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 - ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 191 คน ซึ่งได้มา
โดยการเลือกแบบเจาะจง ซึ่งเป็นผู้ปกครองของนักเรียนที่ตอบแบบสอบถาม รวมกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น จำนวน 382 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินโครงการ คือแบบประเมิน จำนวน 7 ฉบับ และแบบบันทึกข้อมูล จำนวน 1 ฉบับ เก็บรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย
ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการประเมินพบว่า
1.ผลการประเมิน ด้านบริบท (Context evaluation) ตามความคิดเห็นของคณะครู
พบว่า ในภาพรวม ระดับความสอดคล้อง อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด ได้แก่ ด้านความสอดคล้องกับนโยบายทางการศึกษา อยู่ในระดับมากที่สุด และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด ได้แก่ สอดคล้องกับความต้องการของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง อยู่ในระดับมากที่สุด
ผลการประเมิน ด้านบริบท (Context evaluation) ตามความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า ในภาพรวม ระดับความสอดคล้อง อยู่ในระดับมากที่สุด
เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด ได้แก่ ด้านความสอดคล้องกับนโยบายทางการศึกษา อยู่ในระดับมาก และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด ได้แก่ สอดคล้องกับความต้องการของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง อยู่ในระดับมาก
2. ผลการประเมิน ด้านปัจจัยนำเข้า (Input evaluation) ตามความคิดเห็นของคณะครู พบว่า ในภาพรวม ระดับความเหมาะสม อยู่ในระดับมากเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด ได้แก่ ด้านรูปแบบการจัดกิจกรรม อยู่ในระดับมากที่สุด และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด ได้แก่ ความพอเพียงของงบประมาณ อยู่ในระดับมาก
3. ผลการประเมิน ด้านกระบวนการ (Process evaluation) ตามความคิดเห็นของคณะครู ในภาพรวมพบว่า ระดับปฏิบัติ อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด ได้แก่ ด้านการวางแผน(plan) อยู่ในระดับมากที่สุด และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด ได้แก่
การดำเนินกิจกรรม(Do) อยู่ในระดับมาก
4. ผลการประเมินด้านผลผลิต (Product evaluation) ของโครงการ ประกอบด้วย
4.1 ผลการดำเนินงานตามวัตถุประสงค์ของโครงการ ตามความคิดเห็นของคณะครู พบว่า ในภาพรวม ระดับความสำเร็จ อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด ได้แก่ นักเรียนที่มีความจำเป็นพิเศษมีความพร้อมในการเรียนรวมกับนักเรียนปกติ อยู่ในระดับมากที่สุด และ ข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด ได้แก่ นักเรียนที่มีความจำเป็นพิเศษได้รับการพัฒนาทักษะทางวิชาการตามกระบวนการที่กำหนดไว้ในแผน IEP และ IIP ของแต่ละบุคคล อยู่ในระดับมาก
ผลการประเมินผลการดำเนินงานตามวัตถุประสงค์ของโครงการตามความคิดเห็นของผู้ปกครองนักเรียน พบว่า ระดับความสำเร็จ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า
ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด ได้แก่ นักเรียนที่มีความจำเป็นพิเศษได้รับการพัฒนาทักษะทางวิชาการตามกระบวนการที่กำหนดไว้ในแผน IEP และ IIP ของแต่ละบุคคลอยู่ในระดับมากที่สุด และข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ นักเรียนที่มีความจำเป็นพิเศษได้รับการดูแลช่วยเหลือจากนักเรียนปกติ อยู่ในระดับมาก
ผลการประเมินพัฒนานักเรียนเรียนรวมที่ผ่านการประเมินตามกระบวนการที่กำหนดไว้ในแผน IEP พบว่า นักเรียนที่มีความต้องการพิเศษ มีจำนวนทั้งหมด 40 คน ผ่านการประเมินทักษะการดำรงชีวิต จำนวน 40 คน คิดเป็นร้อยละ 100 ผ่านการประเมินทักษะทางสังคม จำนวน 40 คน คิดเป็นร้อยละ 100 ผ่านการประเมินทักษะทางวิชาการ จำนวน 40 คน คิดเป็นร้อยละ 100 เข้าร่วมกิจกรรมในโรงเรียน จำนวน 40 คน คิดเป็นร้อยละ 100 และได้รับบริการสื่อสิ่งอำนวยความสะดวก จำนวน 40 คน คิดเป็นร้อยละ 100 ซึ่งบรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ(ร้อยละ 85)
4.2 ผลการประเมินความพึงพอใจตามความคิดเห็นของคณะครู พบว่า ความพึงพอใจ
อยู่ในระดับมากที่สุด ผลการประเมินความพึงพอใจตามความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า ความพึงพอใจ อยู่ในระดับมากที่สุด ผลการประเมิน ความพึงพอใจตามความคิดเห็นของนักเรียน พบว่า ความพึงพอใจ ภาพรวม อยู่ในระดับมาก และผลการประเมิน ความพึงพอใจตามความคิดเห็นของผู้ปกครองนักเรียน พบว่า ความพึงพอใจ ภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด