ชื่อเรื่อง ผลการพัฒนาครูผู้สอนคณิตศาสตร์ในการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning
ด้วยการนิเทศแบบชี้แนะ (Coaching)
ผู้ศึกษา นางหทัย ศรีชมภู
หน่วยงาน สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดยะลา
ปีการศึกษา 2564
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อเปรียบเทียบความรู้ ความเข้าใจของครูผู้สอนคณิตศาสตร์ในการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning ก่อนและหลังการพัฒนา 2) เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมของครูผู้สอนคณิตศาสตร์ในการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning ก่อนและหลังการนิเทศ แบบชี้แนะ (Coaching) 3) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียน ก่อนและหลังการนิเทศแบบชี้แนะ (Coaching) 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของครูผู้สอนคณิตศาสตร์ที่ได้รับการพัฒนาต่อการนิเทศแบบชี้แนะ (Coaching) กลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ ครูผู้สอนคณิตศาสตร์ระดับประถมศึกษาของโรงเรียนในโครงการนวัตกรรมการศึกษาเพื่อพัฒนาการศึกษา (IFTE) ในจังหวัดยะลา จำนวน 7 โรงเรียน จำนวนครู 30 คน ได้มาจากการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive sampling)
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา 1) คู่มือพัฒนาครูผู้สอนคณิตศาสตร์ในการจัดการเรียนการสอน แบบ Active Learning 2) คู่มือนิเทศแบบชี้แนะ (Coaching) เพื่อพัฒนาครูผู้สอนคณิตศาสตร์ในการจัด การเรียนการสอนแบบ Active Learning 3) แบบทดสอบวัดความรู้ ความเข้าใจ ครูผู้สอนคณิตศาสตร์ ในการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning ก่อนและหลังการพัฒนา 4) แบบประเมินพฤติกรรมครูผู้สอนคณิตศาสตร์ ในการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning ที่ได้รับการนิเทศแบบชี้แนะ (Coaching) 5) แบบสอบถามความพึงพอใจครูผู้สอนคณิตศาสตร์ที่ได้รับการพัฒนาต่อการนิเทศแบบชี้แนะ (Coaching)
ผลการศึกษาพบว่า
1.ครูผู้สอนคณิตศาสตร์ที่ได้รับการนิเทศแบบชี้แนะ (Coaching) มีความรู้ความเข้าใจในการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning หลังการพัฒนาสูงกว่าก่อนการพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01 (ก่อนการนิเทศ x̄= 21.10 , S.D. = 2.09 และหลังการนิเทศ x̄ = 26.53 , S.D = 1.85)
2. พฤติกรรมของครูผู้สอนคณิตศาสตร์ในการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning ของครูผู้สอนคณิตศาสตร์หลังการนิเทศสูงกว่าก่อนการนิเทศแบบชี้แนะ (Coaching) อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.1 โดยมีพฤติกรรมการสอนของครูผู้สอนคณิตศาสตร์ในการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning ก่อน การนิเทศแบบชี้แนะ (Coaching) x̄ = 3.00 S.D. = 0.50 อยู่ในระดับปานกลาง และหลังการนิเทศแบบชี้แนะ (Coaching) x̄ = 4.23 S.D. = 0.40 อยู่ในระดับมาก
2.1 ระดับพฤติกรรมการสอนของครูผู้สอนคณิตศาสตร์ในการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning ในด้านการเตรียมการสอน ก่อนได้รับการนิเทศแบบชี้แนะ (Coaching) x̄ = 3.11 S.D. = 0.51 อยู่ในระดับปานกลาง ระดับพฤติกรรมหลังได้รับการนิเทศ x̄ = 4.26 S.D. = 0.43 อยู่ในระดับมาก ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ครูผู้สอนที่ได้รับการนิเทศแบบชี้แนะ (Coaching) มีระดับพฤติกรรมในด้านการเตรียมการสอนดีขึ้น
2.2 ระดับพฤติกรรมการสอนของครูผู้สอนคณิตศาสตร์ในการจัดการเรียนการสอน แบบ Active Learning ในด้านการเขียนแผนการจัดการเรียนการสอน ก่อนได้รับการนิเทศแบบชี้แนะ (Coaching) x̄ = 3.02 S.D. = 0.50 อยู่ในระดับปานกลาง ระดับพฤติกรรมหลังได้รับการนิเทศ x̄ = 4.14 S.D. = 0.42 อยู่ในระดับมาก ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ครูผู้สอนที่ได้รับการนิเทศแบบชี้แนะ (Coaching) มีระดับพฤติกรรมในด้านการเขียนแผนการจัดการเรียนการสอนดีขึ้น
2.3 ระดับพฤติกรรมการสอนของครูผู้สอนคณิตศาสตร์ในการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning ในด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ก่อนได้รับการนิเทศแบบชี้แนะ (Coaching) x̄ = 2.67 S.D. = 0.45 อยู่ในระดับปานกลาง ระดับพฤติกรรมหลังได้รับการนิเทศ x̄ = 4.38 S.D. = 0.38 อยู่ในระดับมาก ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ครูผู้สอนที่ได้รับการนิเทศแบบชี้แนะ (Coaching) มีระดับพฤติกรรมใน ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนดีขึ้น
2.4 ระดับพฤติกรรมการสอนของครูผู้สอนคณิตศาสตร์ในการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning ในด้านสื่อและการจัดสภาพแวดล้อม ก่อนได้รับการนิเทศแบบชี้แนะ (Coaching) x̄ = 3.14 S.D. = 0.50 อยู่ในระดับปานกลาง ระดับพฤติกรรมหลังได้รับการนิเทศ x̄ = 4.18 S.D. = 0.36 อยู่ในระดับมาก ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ครูผู้สอนที่ได้รับการนิเทศแบบชี้แนะ (Coaching) มีระดับพฤติกรรมใน ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนดีขึ้น
2.5 ระดับพฤติกรรมการสอนของครูผู้สอนคณิตศาสตร์ในการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning ในด้านการวัดและประเมินผล ก่อนได้รับการนิเทศแบบชี้แนะ (Coaching) x̄ = 2.95 S.D. = 0.54 อยู่ในระดับปานกลาง ระดับพฤติกรรมหลังได้รับการนิเทศ x̄ = 4.16 S.D. = 0.43 อยู่ในระดับมาก ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ครูผู้สอนที่ได้รับการนิเทศแบบชี้แนะ (Coaching) มีระดับพฤติกรรมในด้านการวัดและประเมินผลดีขึ้น
3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนของโรงเรียนทั้ง 7 โรงเรียนก่อนการนิเทศ แบบชี้แนะ (Coaching) มีค่าเฉลี่ย 66.64 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนของโรงเรียนทั้ง 7 โรงเรียนหลังการนิเทศแบบชี้แนะ (Coaching) มีค่าเฉลี่ย 72.86 มีผลการพัฒนาร้อยละ 6.22 ซึ่งผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนของโรงเรียนทั้ง 7 โรงเรียนหลังการนิเทศแบบชี้แนะ (Coaching) สูงกว่าก่อนนิเทศ
4. ครูผู้สอนคณิตศาสตร์แบบ Active Learning มีความพึงพอใจต่อการนิเทศแบบชี้แนะ (Coaching) อยู่ในระดับมากที่สุด x̄ = 4.58 , S.D = 0.20