บทสรุป
รายงานการประเมินโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยใช้กิจกรรมสร้างสรรค์ 4 ลักษณะ โรงเรียนสตูลวิทยา ปีการศึกษา 2564 ในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินโครงการด้านสภาพแวดล้อม ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิตของโครงการ ประกอบด้วย การประเมินระดับคุณภาพ การประเมินการมีส่วนร่วมของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน การประเมินผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของนักเรียน และการประเมิน ความพึงพอใจของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยใช้การประเมินรูปแบบซิปป์ (CIPP Model) ของสตัฟเฟิลบีม (Stufflebeam) การเก็บรวบรวมข้อมูลในการประเมินมีทั้งเชิงปริมาณโดยใช้แบบสอบถาม แบบมาตรประมาณค่า (Rating Scale) และ เชิงคุณภาพ โดยใช้แบบสอบถามปลายเปิด (Open-Ended Questionnaire) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมิน ประกอบด้วย นักเรียนโรงเรียนสตูลวิทยา ปีการศึกษา 2564 จำนวน 320 คน ครูโรงเรียนสตูลวิทยา ปีการศึกษา 2564 จำนวน 73 คน ผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนสตูลวิทยา ปีการศึกษา 2564 จำนวน 320 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนสตูลวิทยา ปีการศึกษา 2564 จำนวน 13 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูลรวมทั้งสิ้น 7 ฉบับ ประกอบด้วยแบบสอบถามที่มีลักษณะเป็นมาตรส่วนประมาณค่า (Rating Scale) รวม 6 ฉบับ และแบบประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน จำนวน 1 ฉบับ เครื่องมือทุกฉบับได้ความเชื่อมั่น 0.867 0.986 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)
ผลการประเมินโครงการ สรุปได้ดังนี้
1. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านสภาพแวดล้อมของโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยใช้กิจกรรมสร้างสรรค์ 4 ลักษณะ โรงเรียนสตูลวิทยา ปีการศึกษา 2564 ตามความคิดเห็นของครูและ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า ทั้งสองกลุ่มที่ประเมินมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน ทั้งภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัด อยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า ครูมีความเห็นโดยรวมมีค่าเฉลี่ย ( = 4.27, S.D.= 0.59) อยู่ในระดับมาก ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน ส่วนคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีความคิดเห็นโดยรวมมีค่าเฉลี่ย ( x̄ = 4.25, S.D.= 0.79) ในระดับมากได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
2. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านปัจจัยนำเข้าโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยใช้กิจกรรมสร้างสรรค์ 4 ลักษณะ โรงเรียนสตูลวิทยา ปีการศึกษา 2564 ตามความคิดเห็นของครู พบว่า โดยรวมมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกประเด็นตัวชี้วัด มีค่าเฉลี่ย (x̄ = 4.22 , S.D.= 0.60) อยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายตัวชี้วัดแต่ละด้านพบว่า ด้านความพร้อมของบุคลากร มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( x̄ = 4.50 , S.D. = 0.66) อยู่ในระดับมากที่สุดได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน รองลงมา คือ ด้านความเพียงพอของวัสดุ อุปกรณ์ มีค่าเฉลี่ย ( x̄ = 4.35, S.D. = 0.66) อยู่ในระดับมาก ความพอเพียงของงบประมาณ มีค่าเฉลี่ย ( = 4.20 , S.D. = 0.68) อยู่ในระดับมาก ส่วนด้านความเหมาะสมของการบริหารจัดการ มีค่าเฉลี่ย ( x̄ = 4.16 , = 0.60) อยู่ในระดับมาก ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ผู้สนับสนุนโครงการ มีค่าเฉลี่ย ( x̄ = 3.91 , S.D. = 0.60) อยู่ในระดับมาก ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
3. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านกระบวนการดำเนินโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยใช้กิจกรรมสร้างสรรค์ 4 ลักษณะ โรงเรียนสตูลวิทยา ปีการศึกษา 2564 ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครูและผู้ปกครอง พบว่า ทั้งสามกลุ่มที่ประเมินมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 20 ผ่านเกณฑ์การประเมิน ทั้งภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัด อยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า นักเรียนมีความคิดเห็นโดยรวมมีค่าเฉลี่ย ( x̄ = 4.01 , S.D.= 0.63) อยู่ในระดับมาก ได้คะแนนเฉลี่ย 20 ผ่านเกณฑ์การประเมิน ส่วนครูมีความคิดเห็นโดยรวมมีค่าเฉลี่ย ( x̄= 4.13 , S.D.= 0.66) อยู่ในระดับมาก ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 20 ผ่านเกณฑ์การประเมินและผู้ปกครองมีความคิดเห็นโดยรวม มีค่าเฉลี่ย ( x̄ = 4.01 , S.D.= 0.64) อยู่ในระดับมาก ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 20 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4. ผลการประเมินด้านผลผลิตของโครงการ ได้แก่
4.1 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านผลผลิตเกี่ยวกับระดับคุณภาพระบบการดูแลช่วยเหลือ โดยใช้กิจกรรมสร้างสรรค์ 4 ลักษณะ โรงเรียนสตูลวิทยา ปีการศึกษา 2564 ตามความคิดเห็นของนักเรียนครูและผู้ปกครอง พบว่าทั้งสามกลุ่มที่ประเมินมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ได้คะแนนเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้งภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัด และเมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่มที่ประเมิน พบว่า นักเรียนมีความคิดเห็นโดยรวมมีค่าเฉลี่ย ( = 3.98 , S.D.= 0.58) อยู่ในระดับมาก ได้คะแนนเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน ส่วนครูมีความคิดเห็นโดยรวมมีค่าเฉลี่ย ( = 4.25 , S.D.= 0.65) อยู่ในระดับมาก ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน และผู้ปกครอง มีความคิดเห็นโดยรวมมีค่าเฉลี่ย ( = 3.99, S.D.= 0.64) อยู่ในระดับมาก ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.2 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านผลผลิตเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของนักเรียน ครู และผู้ปกครองในโครงการการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยใช้กิจกรรมสร้างสรรค์ 4 ลักษณะ โรงเรียนสตูลวิทยา ปีการศึกษา 2564 ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครูและผู้ปกครอง พบว่า ทั้งสามกลุ่มที่ประเมินมีค่าเฉลี่ย สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 20 ผ่านเกณฑ์การประเมิน ทั้งภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัด อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาจำแนกตามกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า นักเรียนมีความคิดเห็นโดยรวมมีค่าเฉลี่ย ( = 4.26 , S.D.= 0.35) อยู่ในระดับมาก ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน ส่วนครูมีความเห็นโดยรวมมีค่าเฉลี่ย ( = 4.16 , S.D.= 0.67) อยู่ในระดับมาก ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน และผู้ปกครองมีความเห็นโดยรวมมีค่าเฉลี่ย ( = 3.97, S.D.= 0.63) อยู่ในระดับมาก ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.3 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านผลผลิตโครงการเกี่ยวกับผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของนักเรียน ตามแบบบันทึกผลการประเมินตามสภาพจริง พบว่า ปีการศึกษา 2563โดยภาพรวมมีจำนวนนักเรียนที่มีพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ จำนวน 106 คน คิดเป็นร้อยละ 5.53 ปีการศึกษา 2564 โดยภาพรวมมีจำนวนนักเรียนที่มีพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ จำนวน 47 คน คิดเป็นร้อยละ 2.48 แสดงให้เห็นว่า จำนวนนักเรียนที่มีพฤติกรรมนักเรียนที่ไม่พึงประสงค์ลดลงจำนวน 59 คน คิดเป็นร้อยละ 3.12 สูงกว่าเกณฑ์ ที่กำหนด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 5 ผ่านเกณฑ์ การประเมิน
4.4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านผลผลิตเกี่ยวกับความพึงพอใจของนักเรียน ครู และผู้ปกครองต่อการดำเนินโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยใช้กิจกรรมสร้างสรรค์ 4 ลักษณะ โรงเรียนสตูลวิทยา ปีการศึกษา 2564 พบว่า ทั้งสามกลุ่มที่ประเมินมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ ที่กำหนดได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน ทั้งภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัด มีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจ อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาจำแนกตามกลุ่มที่ประเมิน พบว่า นักเรียนมีความคิดเห็นโดยรวมมีค่าเฉลี่ย ( = 4.02 , S.D.= 0.72) อยู่ในระดับมาก ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน ส่วนครูมีความเห็นโดยรวมมีค่าเฉลี่ย ( = 4.14 , S.D.= 0.72) อยู่ในระดับมาก ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน และผู้ปกครองมีความเห็นโดยรวม มีค่าเฉลี่ย ( = 4.02 , S.D.= 0.69) อยู่ในระดับมาก ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
ข้อเสนอแนะ
1. ข้อเสนอแนะในการนำผลการประเมินไปใช้
1.1. ควรประชาสัมพันธ์โครงการให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องได้รับทราบก่อนประเมินสภาพแวดล้อม พร้อมวิเคราะห์ผลการจัดกิจกรรมในรอบปีที่ผ่านมา
1.2. ควรประสานงานการจัดกิจกรรมกับกลุ่มบริหารวิชาการ เพื่อการวางแผนหรือกำหนดเวลาการจัดกิจกรรมให้เป็นไปตามปฏิทินและนิเทศการปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่อง
1.3. ผู้บริหารโรงเรียนควรสนับสนุนสร้างขวัญและกำลังใจแก่ครูที่ดูแลนักเรียน เช่น นักเรียนได้รับรางวัลคุณธรรมดีเด่นจากการแข่งขัน หรือได้รับการคัดเลือกจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในทุกระดับ และชื่นชมยกย่องนักเรียนที่มีความประพฤติดีมีคุณธรรม อย่างน้อยภาคเรียนละ 1 ครั้ง
1.4. ควรส่งเสริมการให้ความร่วมมือกับสหวิชาชีพและชุมชนเพิ่มขึ้น
1.5. ควรส่งเสริมกิจกรรมให้นักเรียนสามารถป้องกันและดูแลตนเองได้ทั้งใน เรื่องเพศ ยาเสพติดเพิ่มมากขึ้น
2. ข้อเสนอแนะในการประเมินโครงการ หรือการวิจัยครั้งต่อไป
2.1 ควรมีการประเมินโครงการต่าง ๆ ในระดับหน่วยงานหรือกลุ่มงานย่อยทุกโครงการ โดยประยุกต์ใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์ (CIPP Model) หรือรูปแบบอื่นที่เหมาะสม
2.2 ควรมีการศึกษาปัจจัยอื่นๆ ที่ส่งผลต่อการเพิ่มประสิทธิภาพการพัฒนาระบบ ดูแลช่วยเหลือนักเรียน