ผู้ประเมิน นางสาวจิรนันท์ คุ้มบัว ตำแหน่ง รองผู้อำนวยการสถานศึกษา
วิทยฐานะ รองผู้อำนวยการชำนาญการ
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพิษณุโลก อุตรดิตถ์
ปีการศึกษา 2564
บทคัดย่อ
การประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพอนามัย โรงเรียนพุทธชินราชพิทยา ปีการศึกษา 2564 ประกอบด้วย 5 กิจกรรม ใช้รูปแบบการประเมินแบบซิป (CIPP Model) มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมิน 1) บริบท (Context) ของโครงการ เกี่ยวกับความสอดคล้องระหว่างวัตถุประสงค์ของโครงการกับนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ นโยบายสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และนโยบายโรงเรียน รูปแบบการจัดทำโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพอนามัยที่เหมาะสมกับสภาพของโรงเรียน 2) ปัจจัยนำเข้า (Input) ของโครงการเกี่ยวกับความเหมาะสม เพียงพอของงบประมาณ วัสดุ อุปกรณ์ ระยะเวลา อาคารสถานที่ที่ใช้ในการดำเนินโครงการและกิจกรรม 3) กระบวนการ (Process) การดำเนินงานตามโครงการเกี่ยวกับความร่วมมือของคณะทำงานและผู้เกี่ยวข้อง ปฏิทินปฏิบัติงาน บทบาท หน้าที่ ขั้นตอนการนิเทศ กำกับ ติดตาม ผลการปฏิบัติงานในการดำเนินโครงการและกิจกรรม ตามขั้นตอนที่วางไว้ในโครงการและกิจกรรม 4) ผลผลิต (Product) ของโครงการเกี่ยวกับการดำเนินงานของโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพอนามัย และความพึงพอใจของบุคลากรที่เกี่ยวข้องที่มีต่อโครงการและกิจกรรมในโครงการ โดยประชากรที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้ ประกอบด้วย ครู บุคลากรทางการศึกษา นักเรียน ผู้นำนักเรียนด้านส่งเสริมสุขภาพ และผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 4,367 คน กลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้ ประกอบด้วย ผู้มีส่วนร่วมในโครงการ ได้แก่ ครู จำนวน 86 คน บุคลากรทางการศึกษา จำนวน 35 คน นักเรียน จำนวน 333 คน ผู้นำนักเรียนด้านส่งเสริมสุขภาพ จำนวน 150 คน และผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 333 คน รวมจำนวน 937 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน คือ แบบสอบถาม จำนวน 6 ฉบับ คือ ฉบับที่ 1 แบบสอบถามความคิดเห็นที่มีต่อโครงการฯเป็นมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ฉบับที่ 2-6 แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อโครงการฯ และกิจกรรมในโครงการ เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติ ค่าเฉลี่ย ( ) และค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)
ผลการประเมินพบว่า
1. ด้านบริบท (Context) พบว่า ความสอดคล้องระหว่างวัตถุประสงค์ของโครงการกับนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ นโยบายสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และนโยบายโรงเรียน รูปแบบการจัดทำโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพอนามัยที่เหมาะสมกับสภาพของโรงเรียน ในภาพรวมมีค่าความเหมาะสมระดับมากที่สุด
2. ด้านปัจจัยนำเข้า (Input) พบว่า มีความเหมาะสม ความเพียงพอของงบประมาณ วัสดุ อุปกรณ์ ระยะเวลา อาคารสถานที่ที่ใช้ในการดำเนินโครงการ ในภาพรวมมีค่าความเหมาะสมระดับมาก
3. ด้านกระบวนการ (Process) พบว่า การดำเนินงานตามโครงการเกี่ยวกับความร่วมมือของคณะทำงานและผู้เกี่ยวข้อง ปฏิทินปฏิบัติงาน บทบาท หน้าที่ ขั้นตอนการนิเทศ ติดตาม ผลการปฏิบัติงานในการดำเนินโครงการและกิจกรรม ตามขั้นตอนที่วางไว้ในโครงการและกิจกรรม
ในภาพรวมมีค่าความเหมาะสมระดับมากที่สุด
4. ด้านผลผลิต (Product) พบว่า ผลการประเมินเกี่ยวกับการดำเนินงานของโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพอนามัย โรงเรียนพุทธชินราชพิทยา ปีการศึกษา 2564 ในภาพรวมมีค่าความเหมาะสมระดับมาก และความพึงพอใจของบุคลากรที่เกี่ยวข้องที่มีต่อโครงการและกิจกรรมในโครงการ ในภาพรวมมีค่าความพึงพอใจระดับมากที่สุด
คำสำคัญ การประเมินโครงการ, โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพอนามัย, การประเมินแบบซิป (CIPP Model), โรงเรียนพุทธชินราชพิทยา