รายงานผลการประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนมหรรณพาราม
มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อประเมินบริบทของโครงการด้านตัวชี้วัดด้านระดับความต้องการจำเป็น และด้านระดับความเป็นไปได้ 2) เพื่อประเมินปัจจัยนำเข้าด้านความเหมาะสมของงบประมาณ และความเหมาะสมของบุคลากรที่ปฏิบัติงาน 3) เพื่อประเมินกระบวนการด้านร้อยละของกิจกรรมที่ดำเนินการ และด้านร้อยละของการติดตามโครงการ และ 4) เพื่อประเมินผลผลิต ด้านร้อยละของนักเรียนที่ได้รับกิจกรรมครบถ้วน ร้อยละของนักเรียนที่ได้รับการแก้ปัญหา ด้านร้อยละของนักเรียนมี่มีปัญหาซึ่งแก้ไขได้สำเร็จ ด้านร้อยละของนักเรียนที่ต้องส่งต่อภายในและภายนอกลดลง ด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านวินัยเพิ่มขึ้น ด้านระดับความพึงพอใจของนักเรียน ด้านระดับความพึงพอใจของผู้ปกครอง ด้านระดับความพึงพอใจของครู และด้านระดับความพึงพอใจของคณะกรรมการสถานศึกษาขันพื้นฐาน โดยใช้รูปแบบจำลองซิปป์ (CIPP Model ) ของสตัฟเฟิลบีม ( Stufflebeam ) ซึ่งเป็นรูปแบบที่มีการประเมินองค์ประกอบ ด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิตของโครงการ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้ จำนวนจำนวนทั้งสิ้น 634 คน ประกอบด้วย นักเรียนโรงเรียนมหรรณพาราม ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 ในปีการศึกษา 2564 จำนวน 297 คน ผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนมหรรณพาราม จำนวน 297 คน คณะกรรมการสถานศึกษา จำนวน 13 คน และครูผู้สอนโรงเรียนมหรรณพาราม จำนวน 40 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้มีทั้งสิ้น 15 ฉบับ ประกอบด้วย แบบสอบถาม จำนวน 10 ฉบับ แบบวัดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านวินัย จำนวน 1 ฉบับ และแบบสัมภาษณ์ จำนวน 4 ฉบับ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่า ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการประเมินสรุปได้ดังนี้
1. ผลการประเมินโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนมหรรณพาราม
ด้านบริบท โดยภาพรวม มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้งภาพรวม และทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน
2. ผลการประเมินโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนมหรรณพาราม
ด้านปัจจัยเบื้องต้น โดยภาพรวม มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้งภาพรวม และทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน
3. ผลการประเมินโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือโรงเรียนมหรรณพาราม ด้านกระบวนการ
โดยภาพรวม มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้งภาพรวม และทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน
4. ผลการประเมินโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนมหรรณพารามด้านผลผลิต ประกอบด้วย
4.1.1 ร้อยละของนักเรียนที่ได้รับกิจกรรมครบถ้วน พบว่า หลังจากดำเนินงาน ตาม
โครงการแล้วนักเรียนได้รับกิจกรรมครบถ้วน ผ่านเกณฑ์ประเมิน ในระดับมากที่สุด
4.1.2 ร้อยละของนักเรียนที่ได้รับการแก้ปัญหาพบว่า หลังจากดำเนินงาน ตามโครงการแล้ว
นักเรียนได้รับการแก้ปัญหา ผ่านเกณฑ์ประเมิน ในระดับมาก
4.1.3 ร้อยละของนักเรียนมี่มีปัญหาซึ่งแก้ไขได้สำเร็จพบว่า หลังจากดำเนินงาน ตาม
โครงการแล้วนักเรียนมี่มีปัญหาซึ่งแก้ไขได้สำเร็จ ผ่านเกณฑ์ประเมิน ในระดับมากที่สุด
4.1.4 ร้อยละของนักเรียนที่ต้องส่งต่อภายใน และภายนอกลดลงพบว่า หลังจากดำเนินงาน
ตามโครงการแล้วนักเรียนที่ต้องส่งต่อภายใน และภายนอกลดลงผ่านเกณฑ์ประเมิน ในระดับมาก
4.1.5 คุณลักษณะที่พึงประสงค์ด้านวินัยของนักเรียนเพิ่มขึ้นพบว่า หลังจากดำเนินงาน ตาม
โครงการแล้วนักเรียนมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ด้านวินัยของนักเรียนเพิ่มขึ้น ผ่านเกณฑ์ประเมิน ในระดับมาก
4.1.6 ระดับความพึงพอใจของนักเรียนพบว่า ผ่านเกณฑ์ประเมิน ในระดับมากที่สุด
4.1.7 ระดับความพึงพอใจของผู้ปกครองพบว่า ผ่านเกณฑ์ประเมิน ในระดับมากที่สุด
4.1.8 ระดับความพึงพอใจของกรรมการพบว่า ผ่านเกณฑ์ประเมิน ในระดับมาก
4.1.9 ระดับความพึงพอใจของครูพบว่า ผ่านเกณฑ์ประเมิน ในระดับมาก
ผลการประเมินโครงการในภาพรวม พบว่า ผลการดำเนินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้ง 4 ประเด็นอยู่ในระดับมากที่สุด เพื่อพิจารณารายประเด็นพบว่า ด้านบริบท ผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด ด้านปัจจัยนำเข้า อยู่ในระดับมาก ด้านกระบวนการ อยู่ในระดับมาก และด้านผลผลิต อยู่ในระดับมาก
ข้อเสนอแนะในการประเมินและวิจัยครั้งต่อไป
2.1 ควรศึกษารูปแบบการประเมินอื่น ๆ ที่นอกเหนือจากรูปแบบการประเมินซิปป์โมเดล (CIPP Model) เพื่อเปรียบเทียบผลการประเมิน
2.2 ควรมีการศึกษาวิจัยประเมินโครงการอื่น ๆ ของโรงเรียนทุกโครงการ เพื่อให้การดำเนินโครงการมีประสิทธิภาพ พัฒนานักเรียนให้มีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา