ชื่อเรื่อง รายงานโครงการห้องเรียนคุณภาพสู่โรงเรียนคุณภาพชุมชน
โรงเรียนอนุบาลเทพสถิต สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 3
ปีการศึกษา 2564
ผู้ประเมิน นางจันธิลา กางสันเทียะ
ตำแหน่ง รองผู้อำนวยการโรงเรียนอนุบาลเทพสถิต
สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 3
ปีที่พิมพ์ 2565
บทคัดย่อ
รายงานโครงการห้องเรียนคุณภาพสู่โรงเรียนคุณภาพชุมชน มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาผลการดำเนินโครงการห้องเรียนคุณภาพสู่โรงเรียนคุณภาพชุมชน โรงเรียนอนุบาลเทพสถิต สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 3 ปีการศึกษา 2564 ดำเนินการประเมินใน 4 ด้าน ประกอบด้วยด้านบริบท (Context) ด้านปัจจัยนำเข้า (Input) ด้านกระบวนการ (Process) และด้านผลผลิต (Product) 2) เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการดำเนินโครงการห้องเรียนคุณภาพสู่โรงเรียนคุณภาพชุมชนโรงเรียนอนุบาลเทพสถิต สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 3 ปีการศึกษา 2564 ดำเนินการศึกษาใน 3 ด้าน ประกอบด้วย ด้านผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของผู้เรียน ด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน และด้านกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้บริหาร คณะครู ผู้ปกครองนักเรียน และนักเรียนโรงเรียนอนุบาลเทพสถิต สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 3 ปีการศึกษา 2564 จำนวนทั้งสิ้น 297 คน เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย แบบประเมินโครงการ และแบบบันทึกประสิทธิผล การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติพื้นฐานคือ การหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการคำนวณค่าเฉลี่ยผลต่างของคะแนน ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพใช้พรรณนาเชิงวิเคราะห์ การดำเนินโครงการห้องเรียนคุณภาพสู่โรงเรียนคุณภาพชุมชนโรงเรียนอนุบาลเทพสถิต สรุปผลได้ดังนี้
1. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลการดำเนินโครงการห้องเรียนคุณภาพสู่โรงเรียนคุณภาพชุมชน โรงเรียน อนุบาลเทพสถิต สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 3 ปีการศึกษา 2564 โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก ( = 4.37, S.D. = 0.48) และมีความคิดเห็นสอดคล้องกัน เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านผลผลิต ( = 4.48, S.D. = 0.50) รองลงมา คือ ด้านบริบท ( = 4.36, S.D. = 0.48) และด้านกระบวนการ ( = 4.31, S.D. = 0.46) ตามลำดับ ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด คือ ด้านปัจจัยนำเข้า ( = 4.29, S.D. = 0.46) เมื่อพิจารณารายด้านของการประเมิน ดังนี้
1.1 ด้านบริบท (Context) พบว่า ระดับความคิดเห็นของระดับความคิดเห็นของคณะครูและบุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครองนักเรียน และนักเรียนที่มีต่อการดำเนินงานโครงการห้องเรียนคุณภาพสู่โรงเรียนคุณภาพชุมชน โรงเรียนอนุบาลเทพสถิต สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 3 ปีการศึกษา 2564 ด้านบริบท (Context) โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก ( = 4.36, S.D. = 0.48) และมีความคิดเห็นสอดคล้องกัน เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ วัตถุประสงค์และเป้าหมายของโครงการมีความเหมาะสม มีประโยชน์และเป็นไปได้ ( = 4.51, S.D. = 0.50) รองลงมา คือ หลักการและเหตุผลของโครงการมีความสอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงในปัจจุบัน ( = 4.42, S.D. = 0.49) และโครงการมีความเหมาะสมและสอดคล้องกับสภาพของผู้เรียน ( = 4.41, S.D. = 0.49) ตามลำดับ
1.2 ด้านปัจจัยนำเข้า (Input) พบว่า ระดับความคิดเห็นของระดับความคิดเห็นของคณะครูและบุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครองนักเรียน และนักเรียนที่มีต่อการดำเนินงานโครงการห้องเรียนคุณภาพสู่โรงเรียนคุณภาพชุมชน โรงเรียนอนุบาลเทพสถิต สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 3 ปีการศึกษา 2564 ด้านปัจจัยนำเข้า (Input) โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก ( = 4.29, S.D. = 0.47) และมีความคิดเห็นสอดคล้องกัน เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ผู้บริหาร ครู และบุคลากรทางการศึกษามีความรู้ความสามารถ เทคนิค วิธีการในการจัดกิจกรรมโครงการห้องเรียนคุณภาพสู่โรงเรียนคุณภาพชุมชน ( = 4.45, S.D. = 0.50) รองลงมา คือ ผู้บริหาร ครู มีแผนการดำเนินงานร่วมกันอย่างเป็นระบบ ( = 4.39, S.D. = 0.49) และนักเรียน ครูและบุคลากรให้ความร่วมมือในการดำเนินโครงการ ( = 4.35, S.D. = 0.48) ตามลำดับ
1.3 ด้านกระบวนการ (Process) พบว่า ระดับความคิดเห็นของระดับความคิดเห็นของคณะครูและบุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครองนักเรียน และนักเรียนที่มีต่อการดำเนินงานโครงการห้องเรียนคุณภาพสู่โรงเรียนคุณภาพชุมชน โรงเรียนอนุบาลเทพสถิต สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 3 ปีการศึกษา 2564 ด้านกระบวนการ (Process) โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก ( = 4.31, S.D. = 0.46) และมีความคิดเห็นสอดคล้องกัน เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ โรงเรียนมีการดำเนินงานตามวัตถุประสงค์ เป้าหมายแนวทางการพัฒนาโครงการให้สอดคล้องกับบริบทของโรงเรียนแบบมีส่วนร่วม ตามแนวทางการขับเคลื่อนการพัฒนาโรงเรียนคุณภาพของชุมชน ( = 4.44, S.D. = 0.50) รองลงมา คือ โรงเรียนมีการประเมิน สรุป รายงานผล นำผลการประเมินไปใช้ สรุปองค์ความรู้ และเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ ( = 4.40, S.D. = 0.49) และโรงเรียนมีการแต่งตั้งคณะกรรมการกำกับ ติดตาม และรายงานผลโครงการ ( = 4.34, S.D. = 0.48) ตามลำดับ
1.4 ด้านผลผลิต (Product) พบว่า ระดับความคิดเห็นของระดับความคิดเห็นของคณะครูและบุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครองนักเรียน และนักเรียนที่มีต่อการดำเนินงานโครงการห้องเรียนคุณภาพสู่โรงเรียนคุณภาพชุมชน โรงเรียนอนุบาลเทพสถิต สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 3 ปีการศึกษา 2564 ด้านผลผลิต (Product) โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก ( = 4.48, S.D. = 0.50) และมีความคิดเห็นสอดคล้องกันเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ นักเรียนได้รับสิทธิและโอกาสทางการศึกษาอย่างทั่วถึงและมีคุณภาพตามมาตรฐานที่กำหนด ( = 4.59, S.D. = 0.49) รองลงมา คือ ห้องเรียนคุณภาพส่งผลต่อคุณภาพของผู้เรียน ( = 4.57, S.D. = 0.50) และโรงเรียน มีผลงานเป็นที่ยอมรับได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติ ( = 4.55, S.D. = 0.50) ตามลำดับ
2. ผลการศึกษาประสิทธิผลของการดำเนินโครงการห้องเรียนคุณภาพสู่โรงเรียนคุณภาพชุมชนโรงเรียนอนุบาลเทพสถิต สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 3 ปีการศึกษา 2564 ดำเนินการศึกษาใน 3 ด้าน ดังนี้
2.1 ผลการศึกษาประสิทธิผลของการดำเนินโครงการห้องเรียนคุณภาพสู่โรงเรียน คุณภาพชุมชนโรงเรียนอนุบาลเทพสถิต สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 3 ปีการศึกษา 2564 ด้านผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของผู้เรียน
2.1.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของ 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 6 ปีการศึกษา 2563 -2564 พบว่า จำนวนนักเรียนที่ได้ระดับ 3 ขึ้นไป ในปีการศึกษา 2564 สูงขึ้นกว่า ปีการศึกษา 2563 ทุกรายวิชา และในภาพรวมเพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ 10.03
2.1.2 การทดสอบความสามารถด้านการอ่านของผู้เรียน RT ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา 2563 2564 พบว่า ผลการทดสอบปีการศึกษา 2564 รวมเฉลี่ย 2 ด้าน มีค่าเฉลี่ยที่ลดลงกว่าปีการศึกษา 2563 ที่ 3.98 คะแนน แต่เมื่อเปรียบเทียบกับระดับต่าง ๆ พบว่า ค่าเฉลี่ยของโรงเรียนสูงกว่าระดับประเทศ และในทุกระดับ
2.1.3 การทดสอบการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน NT ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2563 2564 พบว่า ผลการทดสอบปีการศึกษา 2564 รวมเฉลี่ย 2 ด้าน มีค่าเฉลี่ยที่สูงขึ้นกว่าปีการศึกษา 2563 ที่ 8.82 คะแนน อีกทั้งมีค่าเฉลี่ยของโรงเรียนสูงกว่าระดับประเทศ และในทุกระดับ เมื่อเปรียบเทียบเป็นรายด้าน พบว่า มีค่าเฉลี่ยที่สูงขึ้นกว่าปีการศึกษา 2563 ทั้ง 2 ด้าน
2.1.4 การทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน O-NET ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2563 2564 พบว่า ผลการทดสอบปีการศึกษา 2564 รวมเฉลี่ย 4 รายวิชา มีค่าเฉลี่ยที่ลดลงกว่าปีการศึกษา 2563 ที่ 2.88 เมื่อเปรียบเทียบรายวิชา พบว่า รายวิชาคณิตศาสตร์ มีค่าเฉลี่ยของโรงเรียนสูงกว่าระดับประเทศ และในทุกระดับ อีกทั้งมีค่าเฉลี่ยที่สูงขึ้นกว่าปีการศึกษา 2563 ที่ 8.38 คะแนน
2.2 ผลการศึกษาประสิทธิผลด้านคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน เมื่อเปรียบเทียบผลการประเมินคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 6 ปีการศึกษา 2563 - 2564 พบว่า จำนวนนักเรียนที่ได้ระดับ ดีเยี่ยม ขึ้นไปในปีการศึกษา 2564 สูงขึ้นกว่า ปีการศึกษา 2563 ในภาพรวมเพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ 1.27
2.3 ผลการศึกษาประสิทธิผลด้านกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญจากการนิเทศการจัดการเรียนการสอนของครูและบุคลากรทางการศึกษา โรงเรียนอนุบาลเทพสถิต ปีการศึกษา 2563 2564 พบว่า ผลการนิเทศการจัดการเรียนการสอนของครูและบุคลากรทางการศึกษาปีการศึกษา 2564 สูงขึ้นกว่า ปีการศึกษา 2563 ในภาพรวมเพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ 3.49
นางจันธิลา กางสันเทียะ
รองผู้อำนวยการโรงเรียนอนุบาลเทพสถิต