ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการนิเทศ แบบ PDC เพื่อพัฒนาทักษะการคิดเด็กปฐมวัยตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 สำนักงานเขตพื้นที่การ
ศึกษา ประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 3
ชื่อผู้ศึกษา นางวรจันทร์ แตงทิพย์
ปีที่วิจัย 2564
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันครูผู้สอนระดับปฐมวัย
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 3 2) เพื่อสร้างและหาคุณภาพรูปแบบการนิเทศแบบ PDC เพื่อพัฒนาทักษะการคิดเด็กปฐมวัยตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 3 3) เพื่อศึกษาผลการทดลอง ใช้รูปแบบการนิเทศแบบ PDC เพื่อพัฒนาทักษะการคิดเด็กปฐมวัยตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 3 เครื่องมือที่ใช้ 1) แบบสอบถามสภาพปัจจุบันครูผู้สอนระดับปฐมวัย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 3 2) แบบสอบถามการพัฒนารูปแบบการนิเทศ แบบ PDC เพื่อพัฒนาทักษะการคิดเด็กปฐมวัยตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 3 3) แบบประเมินสมรรถนะครู แบบสอบถามความคิดเห็นครู แบบประเมินทักษะการคิดเด็กปฐมวัย การพัฒนารูปแบบการนิเทศแบบ PDC เพื่อพัฒนาทักษะการคิดเด็กปฐมวัยตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 3
ผลการวิจัยพบว่า
1. ครูผู้สอนระดับปฐมวัยจัดประสบการณ์ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 ในภาพรวมอยู่ในระดับ ดีมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายขั้นตอน พบว่า ขั้นตอนที่มีการปฏิบัติอยู่ในระดับ ดีมากได้แก่ ขั้นจัด ประสบการณ์การเรียนรู้ขั้นเตรียมการจัดประสบการณ์ขั้นนำเข้าสู่การจัดประสบการณ์ขั้นสรุปและประเมินผล ส่วนขั้นต่อยอดสู่การจัดกิจกรรรมการเรียนรู้แบบบูรณาการ มีการปฏิบัติอยู่ในระดับ ดีสภาพการนิเทศครูผู้สอนระดับปฐมวัยเพื่อจัดประสบการณ์ตามหลักสูตรการศึกษา ปฐมวัย พุทธศักราช 2560 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ชัยภูมิ เขต 3 โดยภาพรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยระดับการปฏิบัติสูงสุด คือ ด้านการปฏิบัติการนิเทศ รองลงมา คือ ด้านการวิเคราะห์พฤติกรรมการจัดประสบการณ์ และด้านการวางแผนการนิเทศ ตามลำดับ ส่วนค่าเฉลี่ย ระดับการปฏิบัติต่ำที่สุด คือ ด้านการประเมินผล การนิเทศ
2. รูปแบบการนิเทศ แบบ PDC เพื่อพัฒนาทักษะการคิดเด็กปฐมวัยตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 3 ประกอบด้วย องค์ประกอบ 3 องค์ประกอบ คือ 1) การวางแผนการนิเทศ 2) การปฏิบัติการนิเทศ 3) การประเมินผลการนิเทศ
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบ พบว่า
3.1 ครูผู้สอนระดับปฐมวัยเพื่อจัดประสบการณ์ตามหลักสูตรการศึกษา ปฐมวัย พุทธศักราช 2560 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ชัยภูมิ เขต 3 โดยภาพรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยระดับการปฏิบัติสูงสุด คือ ด้านการปฏิบัติการนิเทศ รองลงมา คือ ด้านการวิเคราะห์พฤติกรรมการจัดประสบการณ์ และด้านการวางแผนการนิเทศ ตามลำดับ ส่วนค่าเฉลี่ย ระดับการปฏิบัติต่ำที่สุด คือ ด้านการประเมินผล การนิเทศ
3.2 พฤติกรรมการจัดประสบการณ์ของครูผู้สอนระดับปฐมวัยในการจัดประสบการณ์ตามหลักสูตร การศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 พบว่า ครูปฐมวัยมีการปฏิบัติในภาพรวมคิดเป็นร้อยละ 91.85 เมื่อพิจารณา เป็นรายเรื่อง เรื่องที่มีการปฏิบัติสูงสุด คือ จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ ไว้พร้อมก่อนจัดกิจกรรม แนะนำสื่อวัสดุอุปกรณ์ ให้เด็กรู้จัก และวิธีใช้งานก่อนดำเนินกิจกรรม จัดกิจกรรมให้เด็กได้สังเกต สำรวจ ลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง จัดกิจกรรมให้เด็กทุกคนได้ลงมือปฏิบัติ และมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม ใช้วิธีการที่หลากหลาย
3.3 เด็กปฐมวัย มีความรู้ด้านทักษะการคิดในภาพรวม จากการใช้แบบประเมินทักษะการคิดเด็กปฐมวัย รูปแบบการนิเทศ แบบ PDC เพื่อพัฒนาทักษะการคิดเด็กปฐมวัยตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ชัยภูมิ เขต 3 อยู่ในระดับดี เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ทุกด้านมีระดับคะแนนดีมากได้แก่และดีรองลงมาตามลำดับ